การประเมินผลการเรียนรู้


การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ควรยึดหลักการประเมินเพื่อค้นหาและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนและเป็นการประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งลักษณะการประเมินเป็นการประเมินตามสภาพจริง สอดคล้องกับชีวิตจริง เน้นการปฏิบัติ ควบคู่ไปกับทุกสภาพแวดล้อม 

แนวทางของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

1. การประเมินตามสภาพจริง คือ การวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับความสามารถหรือคุณลักษณะที่แท้จริงของผู้เรียน การประเมินตามสภาพจริงมีองค์ประกอบที่สำคัญทั้งโครงสร้างของการวัด งานที่กำหนด มาตรฐานของการให้คะแนน ความยุติธรรมและความเสมอภาคในกระบวนการนี้

2. การประเมินการปฏิบัติ คือ ผู้เรียนมีความสามารถในการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ การประเมินการปฏิบัติจึงมีการวัดทั้งภาคทฤษฎีและการวัดภาคปฏิบัติ ซึ่งการประเมินแบบนี้มีผลดีต่อผู้เรียน โดยผู้เรียนสามารถแสดงศักยภาพทั้งด้านความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะได้เต็มที่ สามารถประเมินด้านจิตพิสัยได้ เช่น พฤติกรรมในการให้ความเอาใจใส่ในการทำงาน การควบคุมตรเอง เป็นต้น

3. การประเมินด้วยแฟ้มผลงาน ทำให้ผู้เรียนได้ทบทวนผลงาน ใช้เป็นเครื่องเสริมแรงในการจูงใจและกระตุ้นพัฒนาการ เป็นสิ่งที่ใช้นำมาประเมินความรู้ความคิดและกระบวนการเรียนรู้ ผู้เรียนควรมีส่วนร่วมในการเลือกผลงานและวิเคราะห์งานด้วยตนเอง

4. การประเมินด้วยการทำโครงการ ทำให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถอย่างลึกซึ้งถึงการบูรณาการความรู้และทักษะต่างๆ ผู้เรียนต้องแสดงสมรรถภาพต่างๆอย่างกว้างขวาง กระตุ้นให้แสดงความคิดริเริ่ม 

เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน

เครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการประเมินนั้นมีหลากหลายขึ้นกับความเหมาะสมกับสถานการณ์และสามารถประเมินความรู้ ความสามารถของผู้เรียนได้ตามความสามารถจริงโดยมีตัวอย่างดังนี้

- การสังเกต (Observation) เป็นกระบวนการที่ผู้สังเกตทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกพฤติกรรมหรือกลุ่มหรือการกฎการณ์ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษาโดยอาศัยประสาทสัมผัสของผู้สังเกตเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้หรือข้อมูลเพื่อใช้ในการศึกษา 

- แบบสอบถาม (Questionair) เป็นชุดของข้อคำถามหรือข้อความที่สร้างและจัดเรียงลำดับไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อใช้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ความเชื่อ และความสนใจต่างๆ

- แบบทดสอบวัดความสามารถจริง (Authentic Test) เป็นลักษณะคำถามปลายเปิดเน้นให้ผู้เรียนตอบข้อคำถามในลักษณะการนำความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์เดิมจากสถานการณ์จำลองหรือคล้ายคลึงกัน โดยมีระดับของสภาพจริงในชีวิต บูรณาการความรู้ความสามารถหลายด้าน มีคำตอบถูกหลายคำตอบ

- บันทึกของผู้เรียน (Learning log) ผู้เรียนพูดหรือเขียนบรรยายสะท้อนความรู้ ความเข้าใจ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ วิธีการทำงาน และคุณลักษณะของผลงาน - การตรวจผลงาน เป็นวิธีการที่สามารถนำผลประเมินไปใช้ทันที

บรรณานุกรม

การประเมินผลการเรียนรู้.(ม.ป.ป.)เข้าถึงได้จาก :

http://www.bpcd.net/new_subject/library/research/document/sopida/research/ku/develop/08.pdf     

[12 สิงหาคม 2556].

การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน.(2555). เข้าถึงได้จาก :

http://www.c4ed.kmutt.ac.th/?q=node/144 [12 สิงหาคม 2556].

หมายเลขบันทึก: 545312เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2013 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 สิงหาคม 2013 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท