เครื่องบินกับรถไฟความเร็วสูง__ใคร(จะ)ถล่มใคร


.
รถไฟความเร็วสูงจะถล่มเครื่องบิน โดยเฉพาะสายการบินราคาต่ำได้หรือไม่ อย่างไร, วันนี้มีประสบการณ์จากมหาอำนาจด้านรถไฟ คือ จีน (กับไต้หวัน) มาฝากครับ
.
.
ภาพที่ 1:. สมัยก่อนจีนสร้างคลองใหญ่เชื่อมมหานครชายฝั่งทะเลทางเหนือ-ตอนกลาง ทำให้ประเทศชาติก้าวไปไกล, สมัยนี้ไฮเทค ทำรถไฟความเร็วสูงแทน
.
ทางรถไฟความเร็วสูง 300 กม./ชั่วโมง เชื่อมเส้นทาง 1,313 กม. ได้ภายใน 4 ชั่วโมง 48 นาที = เกือบ 5 ชั่วโมง
.
เร็วๆ นี้สำนักข่าว CNN ส่งผู้สื่อข่าวไปถ่ายทำแบบจำลองสถานการณ์ จับเวลาเครื่องบินกับรถไฟความเร็วสูงพบว่า รถไฟเร็วกว่าเล็กน้อย เนื่องจากการเช็คอิน หรือการตรวจสอบผู้โดยสาร-กระเป๋าเดินทางของสนามบินล่าช้ากว่ารถไฟ
.
.
ภาพที่ 2: รถโดยสารนักเรียนสีเหลืองในสหรัฐฯ
.
สหรัฐฯ เริ่มพัฒนาระบบรางตามจีน โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญ คือ เทคโนโลยีการระเบิดชั้นหินน้ำมัน หรือเชวแกส (shell gas; โปรดสังเกตว่า ตัว 'L' ภาษาอังกฤษ ออกเสียงคล้ายสะกดด้วยตัว "ว") ทำให้เกิดความต้องการในการขนส่งแก๊สอัดเหลวไปทั่วประเทศ
.
และที่สำคัญ คือ ต่อไปสหรัฐฯ อาจส่งออกแก๊สไปยุโรป เพื่อลดการพึ่งพิงแก๊สรัสเซียในยุโรปให้น้อยลง
.
ทุกวันนี้ประเทศใดลดต้นทุนการขนส่ง คมนามคม สื่อสารได้มากกว่า ดีกว่า เร็วกว่า... ประเทศนั้นจะได้เปรียบในการแข่งขันกับนานาชาติ
สำนักข่าวเดอะ ไฟแนนเชียวลิสท์ (The Financial List) ตีพิมพ์บทความเรื่อง "รถไฟความเร็วสูง กับ (vs)  เครื่องบิน___ ใครกิน(ถล่ม)ใคร"
.
ตอนนี้พี่จีนมีทางรถไฟความเร็วสูงยาวที่สุดในโลก
.
แถมยังตั้งเป้าจะทำ "เพิ่ม" อีกกว่า 3,100 ไมล์ = 4,989 กม. = เกือบ 5,000 กม. ภายในปี 2015/2558
.
ผลรวม คือ จีนจะมีทางรถไฟความเร็วสูง = 9,000 ไมล์ = 14,484 กม. ในปี 2558
.
.
และสร้างสนามบินใหม่เกือบ 100 แห่งในปี 2020/2563
.
ปีนี้ (2556) เกิดเหตุไฟไหม้สนามบินไนโรบี เคนยา ซึ่งเป็นสนามบินใหญ่แห่งเดียวที่นั่น [ wsj ]
.
ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า ประเทศที่มีสนามบินใหญ่แห่งเดียว เช่น ไทย ฯลฯ จะเสี่ยงเศรษฐกิจะชะงักงันทันทีที่สนามบินขัดข้อง
.
ทางที่ดี คือ เตรียมสนามบินนานาชาติขนาดใหญ่สำรองไว้หลายๆ แห่ง + เตรียมเส้นทางคมนาคมขนส่งไว้หลายๆ ช่องทาง
.
.
สมาคมขนส่งทางอากาศนานาชาติรายงานว่า หลังพี่จีนสร้างรถไฟความเร็วสูงแล้วเสร็จ, ยอดรวมการเดินทางในประเทศเพิ่มขึ้น 13.4% ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีมาก (พค.56)
.
ปี 2555 ยอดผู้โดยสารรถไฟจีน มากกว่า 1,700 ล้านครั้ง/ปี = เพิ่มขึ้นเกือบ 5% (เทียบกับปี 2554)
.
สำนักวิเคราะห์เครดิต ซุยส์ คาดการณ์ว่า ผู้โดยสารสายการบินในประเทศน่าจะลดลง 6% ในช่วงปี 2556-2558
.
เส้นทางการบินที่ผู้โดยสารน่าจะลดลง คือ เส้นทางที่สั้นกว่า 310 ไมล์ = 498.9 กม. = เกือบ 500 กม.
.
.
ภาพที่ 3: ทางรถไฟสายปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้
.
ค่าก่อสร้างก็ไม่มากไม่มายอะไร เพียง 33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ = 1,030,260 ล้านบาท = ประมาณ 1.03 ล้านล้านบาท
.
.
กลไกที่เป็นไปได้ (ที่ทำให้การเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูงจริงๆ เร็วกว่าเครื่องบิน) คือ การเช็คอิน-ตรวจกระเป๋าก่อนขึ้นรถไฟ มีแนวโน้มจะเร็วกว่าเครื่องบิน
.
แถมรถไฟยังมีราคาถูกกว่า ที่นั่งสบายกว่า เดินไปมาได้ง่ายกว่า และชมวิวได้ตลอดการเดินทาง
.
วิวข้างทาง มีส่วนทำให้รถไฟบนดินน่านั่งมากกว่ารถไฟใต้ดินเช่นกัน ซึ่งถ้ารถไฟใต้ดินใช้ TV จอแบนใหญ่ ฉายภาพวิวคล้ายการเดินทางบนบกช่วย
.
เช่น ฉายภาพเลียนแบบเส้นทางยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี ฯลฯ น่าจะทำให้ (รถไฟใต้ดิน) น่าใช้บริการมากขึ้นแยะเลย
.
.
ภาพที่ 4: ทางรถไฟความเร็วสูงสายปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ = 300 กม./ชั่วโมง, ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง
.
จีนเปิดบริการรถไฟความเร็วสูงเส้นตะวันออกเฉียงเหนือ (ฮาร์บิน-ต้าเหลียน) 572 ไมล์ = 920.5 กม. ในเดือนธันวาคม 2555 ทำให้สายการบินเกือบทั้งหมดยกเลิกเส้นทางทับซ้อน เปลี่ยนไปบริการเส้นทางอื่นแทน
.
ทว่า... สายการบินในเส้นทางที่ไม่ทับซ้อน เช่น อุรุมชี-ฉงชิ่ง ฯลฯ และเส้นทางนานาชาติที่ไปสหรัฐฯ ยุโรป ออสเตรเลียมีแนวโน้มจะขยายตัว 9%/ปี ต่อเนื่องไปอีก 3 ปี
.
ผู้บริโภคชาวจีนมีแนวโน้มจะเลือกสินค้า-บริการราคาประหยัด (price-sensitive)
.
ประสบการณ์ตอนเปิดรถไฟความเร็วสูงในไต้หวัน (ไทเป-เกาเซียง) พบว่า ค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงถูกกว่าเครื่องบิน 15-32%
.
.
สายการบินทยอยลดราคาลงไปเฉลี่ย 36% (ถูกกว่ารถไฟฯ)
.
รถไฟความเร็วสูงก็ลดราคาลงไปอีก 20% จนต่ำกว่าเครื่องบิน
.
ผลของสงครามราคา คือ สายการบินปิดบริการเส้นทางทับซ้อนทุกสาย
.
พี่จีนแผ่นดินไหววางแผนไว้ดีมาก คือ ตั้งค่ารถไฟรางกว้างความเร็วต่ำ (slow trains) ไว้ต่ำ เพื่อเป็นขวัญใจคนจน-ชนชั้นกลาง
.
.
รถไฟความเร็วต่ำ "สโลว เทรน (slow trains) = แม้ความเร็วต่ำก็ยังเกิน 100 กม./ชั่วโมง ได้เพราะรางกว้าง ไม่ตกรางง่ายแบบรางโบราณ 1 เมตร
.
พี่จีนออกแบบค่ารถไฟแบบรถเร็ว (fast train) 24 เที่ยว = เงินเดือน  1 เดือน
.
ประเทศทั่วโลกส่วนใหญ่จะออกแบบราคารถเร็ว 23 เที่ยว = เงินเดือน 1 เดือน
.
สรุป คือ ค่ารถไฟจีนมีแนวโน้มจะถูกกว่าค่าเฉลี่ยทั่วดลก (global average)
.
.
แถมพี่จีนยังออกแบบค่ารถไฟความเร็วสูงให้ "ถูกที่สุดในโลก" = ถูกกว่าเครื่องบิน 36%
.
การลงทุนแบบนี้ทำให้คนจีนหันไปเดินทางด้วยรถไฟมากขึ้น ทั้งรถไฟความเร็วสูง และรถไฟทั่วไป
.
ผลพลอยได้ คือ ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน (น้ำมัน แก๊ส ฯลฯ), ลดมลภาวะทางอากาศ, เพิ่มการเดินทาง-ขนส่ง-ท่องเที่ยว และเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนให้ก้าวไกลไปพร้อมๆ กัน
.
.
สรุป คือ ประสบการณ์จากพี่จีนและไต้หวัน พบว่า
.
(1). ผลกระทบทางตรง
.
รถไฟความเร็วสูง มีแนวโน้มจะถล่มสายการบินในเส้นทางทับซ้อน
.
ทางเลือกทางรอดของสายการบิน คือ หลีกเลี่ยงดีกว่าต้านทาน... ให้หันไปบินเส้นทางอื่นแทนดีกว่าทำสงครามราคา (ลดราคาแข่ง) หรือไม่ก็แข่งด้วยจุดเด่นอื่น
.
เช่น ทำบริการต่อเครื่องไปต่างประเทศ ฯลฯ ให้เหนือกว่ารถไฟ
.
(2). ผลกระทบทางอ้อม
.
รถไฟความเร็วสูง จะทำให้ต้นทุนการข่นส่ง-คมนาคมในประเทศลดลง มลภาวะลดลง ประหยัดเชื้อเพลิง ส่งเสริมการท่องเที่ยว ทำให้ประเทศผลิตสินค้า-บริการได้ถูกลงก่อน
.
หลังจากนั้นเศรษฐกิจที่ดีขึ้น จะส่งผลดีต่อสายการบินในระยะยาวอีกต่อหนึ่ง

.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

 > [ Twitter ]

  • ขอขอบพระคุณ / Thank The Financialist > http://www.thefinancialist.com/why-chinas-new-bullet-trains-wont-eat-up-airline-profits/
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. 10 สิงหาคม 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
 


หมายเลขบันทึก: 545136เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2013 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 สิงหาคม 2013 10:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดิฉันมีความเห็นว่าน่าเป็นห่วงนะคะหากไทยมีรถไฟความเร็วสูงจริง เพราะไทยเรายังมีศักยภาพด้านนี้น้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกข้าว การค้าข้าวของไทย ซึ่งถือว่ามีประสบการณ์ยาวนาน นักการเมืองยังบริหารจนย่อยยับ .. คุณหมอจะรับเย็บไหวเหรอคะถ้ารถไฟความเร็วสูงตกรางในเมืองไทย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท