ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๖๖. ช่วยกันปกป้องทรัพยากรธรรมชาติด้านการท่องเที่ยว จากนักท่องเที่ยว และผู้หากินกับนักท่องเที่ยวที่ไร้ความรับผิดชอบ



          ดังเล่าในบันทึกที่แล้ว ว่าเกือบเที่ยงวันเสาร์ที่ ๒๙มิ.ย. ๕๖ ผมไปพบสภาพที่ทั้งทางการไทย คนไทยผู้หากินกับนักท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวฝรั่ง  ต่างก็ร่วมกันทำลายหินย้อยก้อนหนึ่งที่ชายหาดถ้ำพระนาง ที่เป็นส่วนหนึ่งของหาดไร่เลย์ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์  หรือโดยไม่รับผิดชอบ

          ผมสงสัยว่า คนไทยเราหิวเงินจากการท่องเที่ยวมากเกินไปหรือเปล่า  จนเราไม่เอาใจใส่ปกปักรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า ที่หากค่อยๆ ถูกทำลายไป ก็จะไม่มีวันกลับคืน 

          คำถามคือ ประเทศไทย/สังคมไทย ควรหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ อย่างกรณีหินย้อยก้อนนี้ ที่ผมเอารูปมาให้ดูแล้ว หรือไม่  เราควรห้ามคนแตะต้องหรือไม่  เพราะที่ผมไปเห็นในต่างประเทศเขาจะมีป้ายห้ามแตะต้อง  และไก๊ด์ต้องบอกนักท่องเที่ยวของตนทุกครั้ง ว่าห้ามแตะต้อง

          ประมาณ ๑๑ น. เศษผมไปเห็นนักท่องเที่ยวฝรั่งคนหนึ่งกำลังไต่หน้าผา ที่ชายหาดถ้ำพระนาง  ข้างๆ เป็นหินย้อยก้อนใหญ่ ที่คนนิยมไปถ่ายรูป  โดยเขามีเก้าอี้ให้ขึ้นไปยืนเอามือแตะปลายหินย้อย  ฝรั่งลองปีนหน้าผา ๒ ครั้ง ไม่สำเร็จ ก็หันมาปีนหินย้อยแทน ให้เพื่อนถ่ายรูป  คุณหญิงชฎากับผมจึงไปห้ามปราม เขาทำเป็นไม่ได้ยิน  เรามองหาป้ายห้ามก็ไม่พบ

          ผมเดินไปบอกคนไทยที่กำลังทำหน้าที่ดูแลให้ความปลอดภัยนักปีนหน้าผาอีกคนหนึ่ง ที่ปีนหน้าผาอีกส่วนหนึ่ง  และปีนขึ้นไปถึงหลืบหินสูงประมาณ ๒๐ เมตร  ว่าในฐานะคนที่หากินกับธรรมชาติเหล่านี้ เขาควรห้ามปรามไม่ให้นักท่องเที่ยวแตะต้องหินย้อย  เขาตอบว่าห้ามทำไม ใครๆ ก็ปีนกันทั้งนั้น  ผมบอกว่า หากไม่ห้าม ต่อไปมันก็ถูกทำลาย แล้วคุณก็หมดอาชีพ  ควรเก็บไว้หากินนานๆ  เขาบอกผมว่า ให้ผมไปบอกเจ้าหน้าที่  พร้อมทั้งชี้มือไปทางเจ้าหน้าที่

          ผมจึงไปพูดกับเจ้าหน้าที่ ที่เขาบอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่อำเภอ  มาทำหน้าที่อำนวยความสะดวก  เขาบอกว่าเขาเคยห้ามแต่นักท่องเที่ยวก็ไม่ฟัง  และเคยมีป้ายห้ามปีน แต่คนยังปีน จึงเอาป้ายออก 

          ผมจึงได้ไปเห็นความหละหลวมในการจัดการการท่องเที่ยว และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ของประเทศ  ดูคล้ายๆ เราสนใจแต่การเอาใจนักท่องเที่ยว  โดยไม่สนใจกำกับดูแล หรือควบคุมนักท่องเที่ยวที่นิสัยชุ่ย เอาแต่ความสนุกของตน ไม่สนใจรักษาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศหรือสถานที่ที่ตนไปเที่ยว  ซึ่งอาจเป็นคนต่างชาติหรือคนไทยก็ได้

          ในความเห็นของผม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ  กระทรวงมหาดไทย  กระทรวงการท่องเที่ยว  และ อปท. ต้องช่วยกันทำหน้าที่นี้อย่างร่วมมือกัน ต้องมีป้ายที่ชัดเจนว่าห้ามอะไรบ้าง  ในบางถ้ำที่ผมไปเที่ยวในต่างประเทศ เขาให้ถ่ายรูปแต่ห้ามใช้แฟลช เพื่อป้องกันแสงทำลายถ้ำ  เขามีเหตุผลในคำอธิบาย  โดยมีบอกทั้งในป้ายประกาศ  ในแผ่นพับอธิบายหรือแนะนำสถานที่  และไกด์จะบอกเตือนล่วงหน้า  และเมื่อนักท่องเที่ยวทำผิดกติกา เขาก็จะเตือนอย่างสุภาพ 

          แต่ในบ้านเรา ผมไปพบแต่คนที่ไม่รับผิดชอบ  สะท้อนความไม่รับผิดชอบของระบบที่เกี่ยวข้อง  ผมไปพบว่า ที่กระบี่ มีปัญหาการจัดการ sustainable tourism

          ผมคิดมากไปหรือเปล่าครับ?  

 

 ๓๐ มิ.ย. ๕๖ 




ชายหาดถ้ำพระนาง



หน้าผาสำหรับปีนและหินย้อยก้อนโต



ฝรั่งไต่หน้าผามือเปล่าให้เพื่อนถ่ายรูป ลองหลายครั้ง



แล้วหันมาปีนหินย้อย คุณหญิงชฎาเข้าไปห้ามและถ่ายรูป



เขาไม่ฟัง กลับปีนเฉย



คนสวมเสื้อเขียวให้บริการนักปีนเขา



เมื่อผมไปบอกว่าเขาควรห้ามนักท่องเที่ยวปีหินย้อย เขาบอกว่าห้ามทำไม ใครๆ ก็ปีน  
และบอกให้ผมไปบอกให้เจ้าหน้าที่ห้าม



เจ้าหน้าที่ของอำเภอ บอกว่าห้ามไม่ได้ ไม่มีใครฟัง จึงเอาป้ายห้ามออก



ถ่ายให้เห็นหน้าเจ้าหน้าที่ชัดๆ




หมายเลขบันทึก: 544768เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2013 08:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 สิงหาคม 2013 08:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบุณมากค่ะที่มีส่ิงดี ๆ มาเล่าสู่กันฟัง  ....

เจ้าหน้าทีของรัฐคงจะเห็นคูค่าก็ต่อเมื่อ

เราไม่มีอะไรเหลือเอาไว้ให้ชื่นชม

ทูกซ้ำ  กรรมของเมืองไทย แท้ เราคนรัก 

ทรัพยากรธรรมชาติเจ็บปวดเต็มนกับคนที่ไม่มีวินัย...ยิ่งพูดก็ยิ่งเศร้า

ครูหยินจึงลุยทุกรูปแบบเพื่อมุ่งสร้างความรู้ให้กับเยาวชน

ขอขอบคุณที่คิดเหมือนกัน

อยากให้ดอกไม้สัก 1000  ดอก กับความชื่นชมในความคิด

ดีใจนะคะ หากเรามีแนวร่วมเยอะๆ ธรรมชาติสวยๆ จะอยู่ให้เราดูไปอีกนานแสนนานค่ะ

On my last excursion I went to see a number of old stone buildings (ปราสาท) from the west border of Thailand to the east border. I noted a few things:

1) There were no attempts to preserve old gardens or landscapes surrounding the buildings. (Surely, such grandeur must have been constructed with proper landscaping and gardens. I ask a question here 'Do we see stones more important than plants?')

2) There were works on the grounds surrounding the stone building. New trees were plants -- some are even imported plants. Some stone blocks were used for pavement and road curbs. (I ask question here 'Do we re-invent history as we go?')

3) There were restoration works with modern concrete, re-inforcing steel rods (poking out for all to see), recent stone blocks (freshly cut and transported from หินกอง) were added to the old structures without clear indication of their historic contribution. (I ask a question here 'Do we cover up facts for tourism?')

4) A number of stone oberisks and เสมา (rescued from farmers' fields) are now standing under open pavillion roofs at a rural wat -- virtually unprotected from weathers, vandals, thefts and floods. (I ask a question here 'Is this how we keep our national treasures?')

The purpose of my last excursion was to find evidence of "historic gardens or plants". I can only say that my search was in vain. I could not even identify one tree over 250 years old (ie. grown in Ayuddhaya period.) The Bodhi tree supposed to be brought over from SriLanka when Theravadi Buddhism was re-established in Thailand looks like a 20 year old tree. (I was told the original tree was worshipped to death!)

 

..เกาะเสม็ด..เป็น..ตัวอย่าง..เลวๆเห็นได้ชัดเจน..อีกหนึ่ง...(เกาะนี้ใด้ชื่อว่า..อนุรักษ์.ประจานผลงานได้เป็นตัวอย่าง.เลวอันดับหนึ่งก็ว่าได้....)...เห็นจะเป็นเพราะเรา.".คิดน้อยไป"..ไม่..ยอมมองสิ่งเลวๆที่เกิด..และจำนนต่อ..สภาพ..การณ์..กระมัง...(แอบคิดยายธี)

ที่ตรงนั้นเคยห้ามปีนจริงครับ อุทยานรับผิดชอบครับ ปชช  ร้านปีนผากับนักท่องเที่ยวเหนแก่ตัว  เหนื่อยครับ.กับการพายเรือในอ่าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท