ศึกหนัก...รัฐบาลยิ่งลักษณ์ 5 / 2556


ศึกหนัก...รัฐบาลยิ่งลักษณ์ 5 / 2556

  สถานการณ์บ้านเมืองในปลายปี พ.ศ. 2556 นี้ เป็นที่น่าจับตาและเป็นที่สนใจของประชาชนโดยทั่วไปเป็นอย่างมาก เพราะมีปัจจัยเกื้อหนุนหลายๆ ด้านที่อาจทำให้สถานการณ์บ้านเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ทางการเมืองพลิกผันเปลี่ยนแปลงหรืออุณหภูมิทางการเมืองร้อนระอุขึ้น เป็นต้นว่า การเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับ ของ ส.ส.วรชัยเหมะ พรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นประเด็นสำคัญและร้อนมาก มีการชุมนุมต่อต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของกลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ ที่บริเวณพระบนรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่6 สวนลุมพินี พร้อมกันนี้ได้เปิดตัวแกนนำได้แก่ พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ พร้อมกับการลั่นระฆัง เป็นการเริ่มต้นเปิดเวที โค่นระบบทักษิณ โดยมีประชาชนเข้าร่วมการชุมนุมจำนวนนับพันคน เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา

   หลักการและเหตุผลของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับของ ส.ส. วรชัย เหมะ มีสาระสำคัญดังนี้  ให้มีกฎหมายว่าด้วยนิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทาง การเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ระหว่างวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2554

 เนื่องจากสังคมไทยที่ผ่านมาอยู่ในสภาวะที่สร้างความแตกแยกทางความคิดมีการ แบ่งฝักแบ่งฝ่ายให้แก่ชาติบ้านเมืองจนปัจจุบัน ด้วยสืบเนื่องจากสถานการณ์บ้านเมืองตกอยู่ในความคิดที่ไม่เคารพในระบอบ ประชาธิปไตย มีการชุมนุมประท้วงรัฐบาลจนนำไปสู้การยึดอำนาจการปกครอง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เหตุการณ์นี้สร้างความขัดแย้งทางการเมืองและทางสังคมที่รุนแรงอย่างที่ไม่ เคยปรากฏมาก่อนทำให้เกิดการใช้บังคับกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมสร้างความรู้สึก สับสนและไม่เท่าเทียม การเลือกปฏิบัติเกิดขึ้นในทางความคิดทางการเมืองของประชาชนเป็นวงกว้างจึงมี การชุมนุมประท้วงทางการเมืองของประชาชนจนเกิดการกระทำผิดต่อกฎหมายบ้านเมือง อันนำไปสู่การกล่าวหาและมีการดำเนินคดีกับผู้ที่เข้าร่วมการชุมนุมจำนวนมาก ทำให้ถูกจำกัดเสรีภาพและอิสรภาพในระหว่างการถูกกล่าวหาทางอาญา อันเป็นผลมาจากภาครัฐได้ประกาศและบังคับใช้กฎหมายที่เคร่งครัดและขาดความ ยืดหยุ่นจนเกินความจำเป็น ซึ่งสภาพปัญหาดังกล่าวได้เกิดเป็นปัญหาร้าวลึกลงไปสู้สังคมไทยในทุกระดับและ นำมาซึ่งความหวั่นไหวขาดความเชื่อมั่นในการดำเนินชีวิตให้เป็นปกติสุขของ ประชาชนทั่วไป ปรากฏการณ์ดังกล่าวสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประเทศชาติทั้งทางด้าน ความมั่นคง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทยจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

  มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการ เมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ..."

  มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

  มาตรา 3 ให้บรรดาการกระทำใด ๆ ของ บุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการเมือง หรือบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง แต่กระทำการนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการ เมือง โดยการกล่าวด้วยวาจาหรือโฆษณาด้วยวิธีการใด เพื่อเรียกร้องหรือให้มีการต่อต้านรัฐ การป้องกันตน การต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือการชุมนุม การประท้วงหรือการแสดงออกด้วยวิธีการใด ๆ อันอาจเป็นการกระทบต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นเหตุการณ์สืบเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ไม่เป็นความผิดต่อไปและให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
  การกระทำในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการกระทำใด ๆ ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจหรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในห้วงระยะเวลาดังกล่าว
  มาตรา 4 เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว  ถ้า ผู้กระทำการตามมาตรา 3 วรรคหนึ่งยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาลหรืออยู่ในระหว่างการสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนผู้ซึ่งมีอำนาจสอบสวน หรือพนักงานอัยการระงับการสอบสวนหรือการฟ้องร้อง หากถูกฟ้องต่อศาลแล้วให้พนักงานอัยการ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้องหรือให้ถอนฟ้อง ถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีไม่ว่าจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นเอง ให้ศาลพิพากษายกฟ้องหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดี ในกรณีที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษบุคคลใดก่อนวันที่พระราชบัญญัติ นี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด ถ้าผู้นั้นอยู่ระหว่างการรับโทษให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงและปล่อยตัวผู้นั้น
  มาตรา 5 การนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับนิรโทษกรรมในอันที่จะเรียกร้องสิทธิ หรือประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น

  มาตรา 6 การดำเนินการใดๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิของบุคคลซึ่งไม่ใช่องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐในการเรียก ร้องค่าเสียหายในทางแพ่ง จากการกระทำของบุคคลใดซึ่งพ้นจากความรับผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และทำให้ตนต้องได้รับความเสียหาย

  มาตรา 7 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

  วิเคราะห์ภาพรวมของร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับนี้ เนื้อหาสาระบุคคลที่จะได้รับการนิรโทษกรรมเฉพาะกลุ่มประชาชนที่กระทำความผิดเท่านั้น ไม่รวมถึงตัวแกนนำ ผู้สั่งการ ประเด็นที่มีการต่อต้านของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ในขณะนี้ ผู้เขียนวิเคราะห์ว่าน่าจะเป็นประเด็นทางการเมืองเพื่อช่วงชิงการได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมืองระหว่างประชาชนฝ่ายสนับพรรคการเมือง

  อย่างไรก็ตาม บ้านเมืองจะอยู่อย่างสงบสุข เกิดความสามัคคีปรองดองกันได้ ก็ต้องอาศัยประชาชนคนไทยทุกคน ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคมไทยให้ได้โดยยึดหลักของกฎหมายของบ้านเมืองเป็นหลัก เคารพสิทธิของคนอื่น ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ผู้มีอำนาจหรือผู้บริหารบ้านเมือง ก็จะต้องยึดหลักความถูกต้อง ให้ความเป็นธรรมในการใช้กฎหมายบังคับอย่างเสมอภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อำนาจทั้งสามตามรัฐธรรมนูญ คือ อำนาจบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ เป็นอำนาจสูงสุดที่จะชี้ชตากรรมของประเทศว่าจะพัฒนาไปในทิศทางไหน ให้เจริญก้าวหน้าเทียบเท่ากับอารยประเทศ ฉะนั้นผู้บริหาร นักการเมืองและข้าราชการ  จะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมในการบริหารราชการบ้านเมือง ให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ด้วยความซื่อสัตย์ และสุจริต[1] คือ ความประพฤติดีประพฤติชอบ และประพฤติถูกต้องตามคลองธรรม มีอยู่ ๓ คือ

๑.กายสุจริต คือ ประพฤติชอบด้วยกาย คือการทำความดีทางกาย เช่น เป็นผู้เสียสละทรัพย์ส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขแก่ส่วนรวม และเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขของผู้อื่น

๒.วจีสุจริต  คือ  ประพฤติชอบด้วยวาจาคือ การทำความดีทางวาจา พูดจาไพเราะ พูดแต่ความจริง พูดยกย่องเพื่อน พูดให้กำลังใจผู้อื่น และไม่ควรพูดสิ่งที่จะเป็นการสร้างประเด็นความขัดแย้ง ที่เป็นบ่อเกิดให้สังคมเกิดความแตกแยกมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

๓. มโนสุจริต  คือ  ประพฤติชอบด้วยใจคือการทำความดีทางใจ เช่น ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข คิดแต่สิ่งที่ดีงามถูกต้อง  เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป ผู้บริหารประเทศ นักการเมือง และข้าราชการ จะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้สังคมสามารถตรวจสอบในการทำงานเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินได้ในฐานะเป็นบุคคลสาธารณะ ได้รับค่าตอบแทนซึ่งเป็นภาษีอากรของประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้บริหารประเทศ นักการเมืองทุกระดับ และข้าราชการ จะต้องเป็นผู้บริหาร ที่อยู่ในฐานะที่เป็น ครู เป็นเพื่อน เป็นพี่เลี้ยง และเป็นแบบอย่างที่ดี



[1] พระธรรมปิฎก, พจนานุกรมพุทธศาสน์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, หน้า ๓๔๕.


หมายเลขบันทึก: 544690เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2013 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 สิงหาคม 2013 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรื่องราวของ พ.ร.บ นิรโทษกรรม มีเรื่องราวให้ปวดหัวมากมายเลยนะครับอาจารย์

ไม่ว่าจะรูปแบบไหน เมื่วันที่ 20 สส ปชป มีการชกต่อย ตำรวจสภาอีก เหตุการยืดเยื้อไปเรื่อยๆ เลยนะครับอาจารย์

เป็นเวรเป็นกรรมของของประเทศไทยที่ได้ตัวแทนของประชาชนไปทำหน้าที่นิติบัญญัติ...แต่ไม่ทำหน้าที่ของตนเองตามระบอบประชาธิปไตย...ตามครรลองรัฐสภาครับท่าน...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท