ปุจฉา –วิสัชนา เกี่ยวกับการงอกของผิวพระเนื้อผงปูนเปลือกหอย


มีเพื่อนในเวบ มาฝากคำถามไว้ว่า

 

“วันนี้ขอเปิดประเด็นเรื่องการงอกซึ่งเกิดจากการทำปฏิกิริยาของปูนดิบ(แคลเซียมคาร์บอเนต)
+ความชื้นในองค์พระ
เรามาดูความน่าจะเป็นว่าเกิดจากน้ำในกระบวนการผลิตอย่างเดียวจริงหรือ
วันนี้ขอตั้งสมมติฐานว่าน่าจะเกิดจากความชื้นในอากาศ+คาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ
ทำให้เกิดกรดคาร์บอนนิคอย่างอ่อนๆ คลุมที่องค์พระ เมื่อสัมผัสกับแคลเซียมคาร์บอเนตในองค์พระก็จะเห็นการงอกที่ชัดเจนกว่า
ซึ่งถ้าสังเกตจากพระแตกหักใหม่ๆ
จะเห็นว่าการงอกภายในตามช่องโพรงไม่น่าจะมีมากกว่าด้านนอก
ทั้งๆที่ถ้าเป็นความชื้นภายในองค์พระก็น่าจะมีมากกว่าพื้นผิวภายนอก


วันนี้ขอฝากคำถามให้ท่านอาจารย์ช่วยแจ้งแถลงไขให้นักเรียนเจ้าปัญหาอย่างผมกระจ่างแจ้ง
เพื่อจะได้มาตั้งปัญหาให้ท่านอาจารย์ปวดหมองอีก”


นานๆจะมีคนมาตั้งคำถามแบบนี้ก็เลยตอบยาวๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ว่า..........


คำว่า
"น้ำ" ในการเคลื่อนที่ ก็น่าจะมาจากความชื้นในอากาศ (และเมื่อพระโดนน้ำ
ในบางครั้ง) เป็นหลัก


ที่จะแห้งบ้าง ชื้นบ้าง สลับกันไป แต่ละวัน
แต่ละฤดู และแต่ละสภาพการใช้ (โดนน้ำ โดนเหงื่อ โดนความชื้น ความอุ่นจากตัวคน ฯลฯ)


น้ำนี้จะทำละลายเนื้อปูนที่ละลายง่าย
(แคลเซียมไฮดรอกไซด์ หรือ ปูนสุก หรือ น้ำปูนใส) มากกว่าเนื้อปูนที่ละลายยาก
(แคลเซียมคาร์บอเนต หรือ ปูนดิบ หรือปูนเปลือกหอยบด หรือปูนที่เผายังไม่สุก
ก็แล้วแต่)


ถ้าจะอ้างถึงคาร์บอนไดออกไซด์นั้น
จะถูกดูดซับโดยการทำปฏิกิริยากับน้ำปูนใส เป็น แคลเซียมไบคาร์บอนเนต ที่ก็ยังเป็น
"ปูนสุก" (หรือวงการชอบเรียกว่า "แป้งโรยพิมพ์")


แต่ก็เป็นไปได้ที่จะมีการละลายตัวของคาร์บอนไดออกไซด์
ปนมากับน้ำ เกิดเป็นกรด คาร์บอนนิค แต่จะไม่มากนัก
เพราะขีดความสามารถในการละลายตัวดังกล่าวนั้น ว่าตามสมการเคมีแล้วมีไม่มาก


ดังนั้น


ความน่าจะเป็นของเนื้อที่งอก
น่าจะมาจากในเนื้อพระ มาตามช่องว่างในองค์พระ ออกมาตามรูเปิดที่ผิว
แล้วน้ำก็ระเหยไป ทิ้งคราบปูนไว้ที่ผิว


ถ้าเป็นพระใหม่ๆ รูเปิดจะรอบองค์ ออกทางไหนก็ได้


พอนานๆ รูเปิดต่างๆก็จะค่อยๆถูกปิดลง จนอุดตัน
เหลือไม่กี่รู ที่จะทำให้เกิดการสะสมของคราบปูน หรือการงอกที่ไม่สม่ำเสมอ ก็คือ
"ความเหี่ยว" นั่นเอง (ภาษาที่ใช้วงการเรียก รูน้ำตา และคราบน้ำตา)


เมื่อผิวปิดนานๆ
ก็อาจจะเกิดแรงดันภายในของน้ำ และไอน้ำ จนปริแตก และมีคราบงอกตามรอยปริขึ้นมาอีก


จึงทำให้รอยปริไม่มีความคม
แต่มีความมนจากการพอกของคราบน้ำปูน


ความซับซ้อน หลากหลาย
และครบถ้วนของกระบวนการนี้แสดงถึงอายุและความเก่า


ที่เกิดช้า เร่งได้นิดหน่อย
แต่ก็ต้องว่าเป็นสิบปีขึ้นไปจึงจะซับซ้อนเหมือนพระเก่าได้อายุ


ผมเคยไปถามช่างทำพระเก๊
เขาว่าเขาต้องทำมาหากินวันต่อวัน จะไม่มีเวลามาคอยทำเร่งปฏิกิริยา แต่เน้นทำผิวเก๊ลัดขั้นตอนไปเลยมากกว่า


ความแตกต่างนี้ คือ ภาษาที่วงการว่า
"เป็นธรรมชาติ" ขององค์พระ


แต่ผมชอบคำว่า "เป็นระบบ
และสอดคล้องกัน" มากกว่า


ที่สามารถตรวจสอบตามหลักการ
และอ่านกระบวนการได้ง่ายกว่า


อิอิอิอิอิอิอิ




หมายเลขบันทึก: 544302เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2013 10:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2013 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
นายฤทธกร ชอบทำทาน

เรียนส่องพระนี่ดีจริงๆใด้ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ด้วยถ้ารู้เร็วกว่านี้ตอนที่เรียนอยู่มัธยมวิทย์ท๊อปแน่ๆ ขอบคุณอาจารย์มากครับ

สาธุ......ลูกศิษย์ของท่านอาจารย์ทั้งหลาย ไม่มีคำถามอื่นบ้างเลยหรือ กระจ่างแจ้งแน่หรือ? โบราณว่าไว้"อายครูบ่รู้วิชา อายภรรยาบ่มีลูก" การเรียนการสอนทุกอย่าง ผมอยู่ในฐานะผู้เรียนและผู้สอน(รวบรวมความรู้ที่ได้บทสรุปหรือได้รับการยอมรับจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว) สิ่งหนึ่งที่ต้องการคือคำถามของผู้เรียน หลายครั้งที่ปากว่าเข้าใจแต่ทดสอบแล้วสอบตก วันนี้ยังไม่มีคำถามเพราะถ้าคำถามหรือประเด็นลึกเกินไปเป็นวิชาการมากเกินไป ก็อาจทำให้ท่านที่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์น้อยจะเบื่อเสียก่อน อย่างเรื่องความเหี่ยวย่นของเนื้อพระ ก็ได้แต่อ่านกันไป เหี่ยวแบบไหนก็ไม่รู้ มีคนถามบ่อยว่าเหี่ยวเพราะอะไร ถ้าเก็บดีจะเหี่ยวไหม ก็ต้องตอบแบบชาวบ้านว่าเด็กสาวกับคนแก่อายุ 80 ปี ผิวพรรณจะเต่งตึงเหมือนกันไหม เอาเด็กมาเลี้ยง ให้อยู่แต่ในห้องแอร์ เวลาผ่านไป 80 ปี ถามว่าคนที่ในห้องแอร์ผิวพรรณจะแตกต่างกับเด็กสาววัย 15 หรือไม่ ซึ่งคำตอบที่ให้ก็คือการยกตัวอย่างและตั้งคำถามกลับไป อย่าอ่านอย่างเดียวนะครับ.......ด้วยความปรารถนาดีครับ.....สวัสดีมีชัยทุกๆท่าน 

 เรียนอาจารย์ด้วยความเคารพ

ผมขอสนับสนุนอาจารย์ครับ 

(ปล.เป็นคนใต้แต่หัวใจอีสานครับ)

ผมติดตาม อ่านและดู อาจารย์มาเกือบ2ปี ศรัทธาในข้อมูลและตัวอาจารย์มากแม้นจะยังไม่เคยเจอตัวจริงแต่สัญญากับตัวเองว่าถ้ามีโอกาสต้องไปหาและทำความเคารพซักครั้งให้ได้ 

                      ด้วยความจริงใจครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท