วิวัฒนาการของนโยบายวิชาการของมหาวิทยาลัยหลายวิทยาเขต


          สภาวิชาการของ มอ.   นำเรื่องนโยบายวิชาการของเขตการศึกษาตรัง, เขตการศึกษาสุราษฎร์ธานี  และเขตการศึกษาภูเก็ต  เข้าพิจารณาในวันที่  13 ต.ค. 49   แต่ผมไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้   แต่เมื่ออ่านแฟ้มประชุมก็ทำให้ผมระลึกชาติ   ว่ากระบวนทัศน์ของการจัดการศึกษาในมหาวิทยาลัยหลายวิทยาเขตในเวลานี้  ต่างจากเมื่อ 20-30 ปีที่แล้วอย่างสิ้นเชิง
 
          เมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว  ตอนที่ผมเป็นผู้บริหารอยู่ที่  มอ.   เรามีแค่  2  วิทยาเขต  คือ  หาดใหญ่กับปัตตานี   วิธีคิดเรื่องการจัดหลักสูตรการศึกษา เน้นตัวมหาวิทยาลัย (หรือวิทยาเขต) เป็นหลัก   คือ  กำหนดกันว่าสาขาวิชาที่เปิดสอนใน 2 วิทยาเขตต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน

          นักศึกษาอยากเรียนอะไร  ก็ต้องไปเรียน  ณ  วิทยาเขตที่เปิดสอนเอาเอง   นักศึกษาต้องวิ่งไปหามหาวิทยาลัย

          แต่เวลานี้กลับหลังหัน  180  องศา   มหาวิทยาลัยต้องวิ่งไปหานักศึกษา

          มหาวิทยาลัย (เขตการศึกษา)  ต้องศึกษา demand-supply ของหลักสูตรที่มีอยู่แล้วในจังหวัด   แล้วหาทางไปสนอง demand ของจังหวัด   โดยไม่กังวลเรื่องความซ้ำซ้อนของหลักสูตรกับวิทยาเขตอื่นของ มอ.

          สิ่งที่สภามหาวิทยาลัยห้ามไม่ให้ซ้ำซ้อน  ก็คือไม่ให้ซ้ำซ้อนกับสถาบันอื่นในพื้นที่
      
          เป็นวิวัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้น  น่าชื่นชม

 

วิจารณ์   พานิช
12  ต.ค.  49

หมายเลขบันทึก: 54407เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2006 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท