แนวคิดเรื่อง parody ตอนที่ 2


     แนวคิดในเรื่อง Parody มี 2 แนวคิด แนวคิดแรกเป็นของ Fredric Jameson แนวคิดที่ 2 เป็นของ Linda Hutheon

     เรามาลองดูที่แนวคิดของ Fredric Jameson ก่อน Jameson เป็นมาร์กซิสต์ ดังนั้นเขาจึงมีความสนใจในความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลที่มีต่อโลกของวัตถุ ไม่ว่าวัตถุนั้นจะเป็นซุปกระป๋อง หรือบริษัทข้ามชาติ (multinational corporations) ก็ตาม เหมือนกับมาร์กซิสต์คนอื่นๆ  (โปรดดูแนวคิดของมาร์กซิสต์ได้ในบันทึก http://www.gotoknow.org/posts/534613) ทฤษฎีของเขาจะมาเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์เสมอ ยกตัวอย่างเช่น เฮมมิ่งเวย์ งานเขียนของเขาเหมือนจะเป็นประโยคที่เปลือยเปล่าและลดทอนทุกอย่าง (คนที่ไม่เคยอ่านงานของเขาอาจอ่านในเรื่อง “เฒ่าผจญทะเล” ดูจะเห็นได้ว่าเขาลดทอนประโยคที่เขาใช้ลง) และสิ่งนี้เองจะใช้บรรยายการเคลื่อนไหวโดยใช้ธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็จะบรรยายถึงความเครียดและความขุ่นเอาไว้ โดยใช้ตัวละครที่แข็งแรง กล้าหาญ สมเป็นชายชาตรี ทักษะในการใช้ตัวละครแบบนักสู้วัวหรือนายพรานปลาเทราท์ย่อมแสดงให้เห็นถึงความพึงพอใจในทักษะเชิงเทคนิค (technical skill) ของคนอเมริกัน แต่ไม่ยอมรับถึงแนวคิดว่าสังคมอุตสาหรรม (industrial society) ทำให้ประชาชนเกิดความแปลกแยก (alienated) (โปรดดูแนวคิดเรื่องความแปลกแยกในบันทึก http://www.gotoknow.org/posts/535362) ดังนั้นทักษะเชิงเทคนิคย่อมแสดงออกในกิจกรรมการใช้เวลาว่างต่างๆ เช่น การสู้วัว หรือนายพราน เป็นต้น

แนวคิดหลักของโพสต์โมเดิร์นของ Fredric Jameson

       Lyotard นำเสนอแนวคิดว่าธรรมชาติของโพสต์โมเดิร์นนั้นจะต้องมีความหลากหลาย แตกต่างกัน เป็นส่วนเสี้ยว ไม่ลงรอยกัน ขัดแย้วกัน และคลุมเครือ ในขณะที่ Jameson ไม่เชื่อในเรื่องเหล่านี้ ในบทความที่มีชื่อเสียงเขา ชื่อ Postmodernism: or the Cultural Logic of Late Capitalism”Jameson ไม่เชื่อว่ายุคโพสต์โมเดิร์นจะเป็นยุคหลังอุตสาหกรรม (postindustrail) คล้ายๆกับว่ายุคทุนนิยมจะอ่อนกำลังลงไปสู่ยุคที่ไม่เป็นทุนนิยม ในความเป็นจริงแล้วเขาได้มองยุคนี้ว่าความเข้มข้นอย่างยิ่งในยุคทุนนิยม Jameson ได้รับอิทธิพลอย่างยิ่งในเรื่องยุคทุนนิยมที่มาใหม่ (Late Capitalism)โดย Ernest Mandel โดยได้แยกยุคศตวรรษที่ 19 และ 20 ออกเป็นยุคๆ ตามสมัยประวัติศาสตร์

     อันดับแรก คือ ตั้งแต่ปี 1700 – 1850 เป็นช่วงยุคทุนนิยมแบบตลาด ในยุคนี้ทุนนิยมอุตสาหกรรมเริ่มเข้ามาปรากฏให้เห็นเด่นชัดขึ้นในตลาดนาๆชาติ (national market)

    ยุคที่ 2 คือยุคทุนนิยมผูกขาด (monopoly capitalism) อยู่ระหว่างยุคจักรวรรดินิยม (ลัทธิจักรวรรดินิยมคือนโยบายขยายอำนาจในการเข้าควบคุมหรือมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือดินแดนต่างชาติ อันเป็นวิถีทางเพื่อการได้มาและ/หรือการรักษาัจักรวรรดิให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ ทั้งจากการขยายอำนาจเข้ายึดครองดินแดนโดยตรง และจากการเข้าคุมอำนาจทางอ้อมในด้านการเมือง และ/หรือทางเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ บางคนใช้คำศัพท์นี้เพื่ออธิบายถึงนโยบายของประเทศใดประเทศหนึ่งในการคงไว้ซึ่งอาณานิคมและอิทธิพลเหนือดินแดนอันไกลโพ้น โดยไม่คำนึงว่าประเทศนั้น ๆ จะเรียกตนเองว่าเป็นจักรวรรดิหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม มีการนำเอาคำว่า 'จักรวรรดินิยม' ไปใช้ในบริบทที่แสดงถึงความมีสติปัญญา/ความเจริญที่สูงกว่าด้วย ซึ่งในบริบทนี้คำว่า "จักรวรรดินิยม" มีนัยแสดงถึงความเชื่อที่ว่า การเข้าถือสิทธิยึดครองดินแดนต่างชาติและการคงอยู่ของจักรวรรดิเป็นสิ่งดีงาม เนื่องจากมีการประสมผสานรวมเอาหลักสมมุติฐานที่ว่า โดยธรรมชาติแล้วชาติมหาอำนาจจักรวรรดินิยมนั้นจะมีวัฒนธรรมและความเจริญด้านอื่น ๆ เหนือกว่าชาติที่ถูกรุกรานเข้าไว้ด้วย) ตลาดนาๆชาติได้ขยายตัวไปสู่ตลาดโลก (world market) ผู้ที่คุมตลาดโลกก็คือเจ้าจักรวรรดินิยมที่เข้ามาเพื่อหวังวัตถุดิบ (raw material) และ แรงงานราคาถูก (cheap labor) ซึ่งอาจเป็นอเมริกา ประเทศในแถบยุโรป ญี่ปุ่น และจีน เป็นต้น

    อับดับสาม ก็คือยุคโพสต์โมเดิร์น ยุคนี้ปรากฏขึ้นในโลก เพราะมีการเจริญเติบโตของบริษัทข้ามชาติอย่างไม่หยุดยั้ง สิ่งนี้คือรูปแบบของทุนนิยมอย่างบริสุทธิ์ รูปแบบทุนนิยมอย่างบบริสุทธิ์นี้ทุบทำลายรูปแบบการผลิตแบบก่อนทุนนิยม เช่น เกษตรกรรมไปจนหมดสิ้น และทำลายจิตไร้สำนึก(unconscious mind) ด้วยการโฆษณา 

     ดังนั้นทฤษฎีของ Mandel ทำให้ Jameson นิยมยุคทั้งสามด้วยตรรกะทางวัฒนธรรมที่มีลักษณะเฉพาะสามอย่าง


หมายเลขบันทึก: 543522เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2013 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กรกฎาคม 2013 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท