การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบรวมใจ ร่วมคิด และร่วมทำ ( 3H) สามารถ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ตามพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542


เรียนรู้แบบ รวมใจ ร่วมคิด และร่วมทำ

บทคัดย่อ

เป้าหมายหลักของการจัดการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  มุ่งเน้นความสำคัญที่ตัวผู้เรียนให้มีคุณสมบัติ เก่ง ดี และมีสุข ในงานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้จัดขึ้น เพื่อวิจัยศึกษาวิธีการสอนหรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 3H : Heart Head and Hand on Activity. หรือ ร่วมใจ ร่วมคิด และร่วมทำ เป็นกระบวนการที่สร้างพื้นฐานของความรัก ความเข้าใจ ความผูกพันธ์ต่อผู้สอน และเพื่อนร่วมเรียน ให้เกิดขึ้นก่อนเรียน โดยยึดทฤษฎีจากการทำกิจกรรมกับเยาวชน ว่า  รักเป็นแรงผลักดัน  คิดเป็นพลังสร้างสรรค์  และทำเพื่อยืนยันความสำเร็จ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ที่มีระดับสติปัญญาที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ระดับสติปัญญาต่ำถึงผู้เรียนที่มีระดับสติปัญญาดี ชั้น ม.4/1 ถึง ชั้น ม.4/3 ด้วยวิธีการสุ่มตามความสมัครใจ แต่จำกัดจำนวน และใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 3H ซึ่งมีเทคนิควิธีการสอน ที่หลากหลาย ทั้งบรรยาย เกม กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ตามหลัก CIPPA model นำผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาเปรียบเทียบกับการสอนโดยทั่วไปที่ใช้อยู่ในห้องเรียน พบว่า วิธีการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 3H ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.001 และวิธีการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 3H มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าวิธีการสอนที่ใช้อยู่ทั่วไป ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ส่วนพัฒนาการทางด้านความเฉลียวฉลาดทางด้านอารมณ์ (E.Q.) นักเรียนที่มีความสุขกับการเรียน  และการใช้สื่ออย่างหลากหลาย ความรู้สึกรักและผูกพันธ์ต่อผู้สอน และเพื่อนร่วมเรียน ในระดับมากที่สุด และทำให้ได้มีโอกาสแสดงออก ร่วมกันคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ พัฒนาการทางด้านคุณธรรมจริยธรรม ( M.Q. ) การทำงานเป็นกลุ่ม ได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเอง  ในระดับที่มาก แต่ความกล้าแสดงออกยังต้องเพิ่มโอกาสให้มากกว่านี้ จะเห็นได้ว่า วิธีการสอนโดยใช้กิจกรรม  3H  สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  มีการพัฒนาผู้เรียน ทางด้านสติปัญญา (I.Q.) ทางด้านอารมณ์ (E.Q.) และจริยธรรม (M.Q.) ให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2542 จึงมีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบัน


หมายเลขบันทึก: 543443เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2013 09:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กรกฎาคม 2013 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท