เมื่อฉันแอบเรียนรู้(3) เทคนิคห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) จากงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ มอ. 16 พค. 56 โดย ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์


วันนี้เริ่มเตรียมสื่อต่างๆเช่นภาพนกแล้วค่ะ ขอพี่กูเกิ้ล บ้าง  ภาพถ่ายฝีมือตัวเองบ้าง จะได้นำไปให้ทีมงานช่วยเลือก

เสร็จแล้วมีเวลาอ่านทบทวนความรู้จากเจ้าของบันทึก เทคนิคห้องเรียนกลับทาก็ให้รู้สึกเหมือนตัวเองเป็นักเรียนอีกครั้งนะคะ และมี Gotoknow เป็นโรงเรียน มีสมาชิกใน Gotoknow เป็นคุณครูใจดี เอาการบ้านมาทำที่โรงเรียน ทำเสร็จแล้วคุณครูช่วยกันแนะนำให้กำลังใจ หอบความหวังกลับบ้านไปฝึกปฏิบัติเรียนรู้ภาคปฏิบัติที่โรงพยาบาล ..สนุกและมีความสุข อีกทั้งยังมีอนุทินเพื่อคู่คิดที่เพียงแค่คลิ๊ก(เขียนๆๆๆๆ) ก็มักตาสว่างได้ทุกที

สำหรับบันทึกนี้ ฉันก็นึกดีใจที่มีโอกาสทบทวนและต่อความคิดเรื่องการตั้งเป้าหมาย

แล้วก็เกิดความคิดถึงระดับความสามารถในการวิเคราะห์ของผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยว่าหลังจากได้เรียนรู้ร่วมกันแล้ว 

เพื่อนๆของฉันน่าจะมีพัฒนาการการคิดวิเคราะห์ที่ดีขึ้น มีความตระหนักรู้ในตนเองมากขึ้น รับผิดชอบผลที่เกิดจากการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้นตามลำดับ นี่ฉันแอบคาดหวังให้เพื่อนผู้ป่วยของฉันและตัวฉันเองเข้าข่ายบางอย่างที่ฝรั่งเรียกว่า self-esteem มากไปหรือไม่อย่างไร และดูเหมือนว่าฉันยังคาดหวัง ด้วยความเชื่อมั่นในตนเองอีกด้วย(self-efficacy) เชื่อมั่นว่าเพื่อนผู้ป่วยของฉันจะมีความเชื่อมั่นในศักยภาพความสามารถของเขาเองด้วยว่า" ต้องทำได้"

ประเด็นที่ 2 ของการเรียนรู้ และนำไปสู่การค้นค้วาเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบองค์ความรู้ของตัวเองว่าเป็นไปอย่างถูกต้องหรือไม่ มากน้อยเพียงไร และจะสามารถนำไปใช้จริงได้อย่างไร แบบไหนดี การกำหนดเป้าหมายในการทำการใดๆก็ตาม จะช่วยให้การทำการนั้นๆมีทิศทางไม่เสียเวลา เสียงบโดยใช่เหตุ และยังช่วยให้การทำการนั้นๆก้าวเดินไปอย่างมั่นคง ไม่ใช่แหมะอยู่กับที่

2.  กำหนดเป้าหมาย    ​​​​​    2.  สร้างแรงจูงใจ/ให้รางวัลพิเศษ/มีการชมเชย


ในการกำหนดเป้าหมายร่วมกันของจิตอาสาผู้ป่วยสำหรับวันนี้เราใช้โทรศัพท์ประสานงานกัน

พี่ปุ้ยบอกว่าครูต้อยต้องกำหนดเป็ฯระยะสั้นๆว่ากี่เดือน อย่างนี้มันจะง่าย 

ป้าแดงบอกว่าแล้วครูต้อยคิดอย่างไร

ครูต้อยก็หัวเราะซิ บอกอย่าถามครูต้อยเลย

ป้าแดงถามว่าทำไมถามไม่ได้

ก็ถ้าถาม...ป้าแดงจะต๊กใจ

ป้าแดงถามว่าทำไม...พี่ต้องตกใจจ๊ะ

ครูต้อยขำเลย... ป้าแดงไม่ยอมเป็นป้า.. อิอิ

ป้าแดงบอกว่า พี่แดงกลับจากเพชรบูรณ์แล้วจะรีบแวะไปหานะวางสายก่อนนะพี่ครูต้อย ..จ๊าบไปเลยนี่!

โทรไปหาพี่เยาว์รายนี้ไม่ยอกเช่นกันพูดมาตามสายว่า

จะให้หนูไปหาวันไหนบอกมาเลย

555ขำมาก..ไม่มีใครยอมเป็นสว.กับฉันเลย

สรุปว่าวันนี้ยังหาข้อสรุปเรื่องเป้าหมายของเราเหล่าจิตอาสาในประเด็นงานนี้ แต่เชื่อว่าเพื่อนๆทุกคนมีเป้าหมายในใจแล้ว เพียงแต่อยากมาคุยแลหเปลี่ยนกันแบบจ๊ะๆๆ เห็นหน้าเห็นตากัน เลยไม่ยอมบอก เอิ๊กๆๆ

ทีนี้ก็เลยมานั่งบันทึก ในประเด็นเรื่องทีม นึกไม่ออกก็ไปหาข้อมูล แหม...มันดีไปหมดเลย อยากจะย่อก็ย่อไม่เป็น เกรงเจ้าของลิขสิทธิ์เขาจะเล่นงานเอาด้วยถ้าไปย่อแล้วความหมายเขาเปลี่ยนไปก็เลยขอลอกมาทั้งดุ้นเลย แบบนี้เลยค่ะ 

when building a team, five dynamics are fundamental to team success:[4]

1.  The team member: Successful teams are made up of a collection of effective individuals. These are people who are experienced, have problem solving ability, are open to addressing the problem, and are action oriented.

2.  Team relationships: For a team to be successful the members of the team must be able to give and receive feedback.

3.  Team problem solving: An effective team depends on how focused and clear the goal of the team is. A relaxed, comfortable and accepting environment and finally, open and honest communication are required.

4.  Team leadership: Effective team leadership depends on leadership competencies. A competent leader is: focused on the goal, ensures a collaborative climate, builds confidence of team members, sets priorities, demonstrates sufficient “know-how” and manages performance through feedback.

5.  Organizational environment: The climate and culture of the organization must be conducive to team behavior. Competitiveness should be discouraged and uniformity should be encouraged - this will eliminate conflict and discord among team members.

ขอบคุณข้อมูลทั้งหมดจาก วิกิพีเดีย, สารานุกรมออนไลน์.  เข้าถึงข้อมูลได้จาก

 https://en.wikipedia.org/wiki/Team_building#cite_note-1

สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2556.

และฉันเชื่อมั่นในความสามารถของทีมจิตอาสาในเรื่องความสัมพันธ์ ความสามารถที่จะฟันฝ่าอุปสรคไปด้วยกัน ความเป็นผู้นำ และผู้ตามที่เราทุกคนมีและพร้อมเสมอ นอกจากนี้เราหวังว่าสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกันครั้งนี้จะสามารถนำพาให้ทุกคนพบหนทางดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างมีความสุข และสิ่งที่เราให้ความสำคัญนอกเหนือจากความรู้ประสบการณ์ที่พวกเรามี เรายังมีทีมแพทย์ ของนายแพทย์โมลี วนิชสุวรรณผู้อำนวยการสมุทรสาคร ทีมนักวิชาการ นพ.อภิชาติ ชัชอนันต์ น้องหมอแชมป์ น้องหนอ (ณหทัย  จุลกะรัตน์)  น้องอ้อ(ขนิษฐา ปานรักษา) พี่ดำ (อัมพร จิระไตรพร) ที่ปรึกษางานส่งเสริมศูนย์จิตอาสามิตรภาพบำบัด น้องแหม่ม(อรชร อ่อนโอภาส)แหม่มน้อย (ลัดดา ปุกอง) น้องพยาบาลโย่ง (วิภา อินทรณรงค์) น้องพยาบาลลัดดา มั่นคง น้องๆกลุ่มงานปฐมภูมิ(ขาลุย) และอีกหลายๆคนที่ให้การสนับสนุน และพร้อมให้ความช่วยเหลืองานจิตอาสาและเป็นขวัญกำลังใจให้กันและกันไปนานๆๆ

ขอบคุณค่ะ


หมายเลขบันทึก: 543311เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2013 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2013 11:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียนพี่ต้อย  ผมก็ ลุยงานผู้สูงอายุของพัทลุงอยู่ มีเรื่องให้เรียนรู้กับผู้สูงอายุมากมาย

ขอบคุณค่ะน้องบาว 

ดีจังเลย เรามาแลกเปลี่ยนทัศนะกันเช่นนี้

โรคฮิตของชาวเมืองมหาชัยคือโรคเรื้อรัง

ทุกวันไหนไม่เคยมีวันไหนที่ออกจากบ้านแล้วไม่เจอคนที่กำลังมีปัญหาเรื่องแผลที่เท้า

ตัวเองก็ระวังเต็มที่เช่นกันเรียกว่ามดไม่ให้ไต่ไม่ให้ตอม จึงต้องสวมรองเท้าปิดกลัวเกิดแผล

แต่ก็ต้องมาระวังเรื่องึความอบชื้นของรองเท้า เกรงจะเป็นเชื้อรา

มนุษย์เรานี่แท้จริงมันไม่มีอะไรหอมเลยนะน้องบาว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท