ประสบการณ์การพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพของข้าพเจ้า


สิ่งที่เรียน(what) : ทักษะการวิ่งกรีฑาประเภทลู่เพื่อการแข่งขัน


วิธีเรียน(how) :  ในการเริ่มทักษะการวิ่งกรีฑาประเภทลู่เพื่อการแข่งขันของข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าได้เริ่มจากการศึกษารูปแบบและกฎกติกาของดังนี้

ประเภทลู่
1. ประเภทวิ่ง 100ม.,200ม.,400ม.,800ม.,1500ม.,3000ม.,5000ม.,10000ม 
2. ประเภทวิ่งผลัด 4x100ม.,วิ่งผลัด 4x400ม.

โดยส่วนตัวของข้าพเจ้าจะถนัดในการวิ่งระยะ 400ม. 800ม. วิ่งผลัด 4x100ม. วิ่งผลัด 4x400ม. โดยกฏกติกาของกรีฑาประเภทวิ่งเดี่ยวจะไม่มีอะไรมาก คือออกตัวเมื่อได้ยินเสียงปืนให้เร็วที่สุด ใครเข้าสู่เส้นชัยก่อนจะเป็นผู้ชนะ แต่กรีฑาประเภทวิ่งผลัดจะมีกฏกติกาเพิ่มเข้ามาดังนี้

การแข่งขันวิ่งผลัด
1. เขตรับส่งไม้คทามีระยะทาง 20ม. โดยถือไม้คทาเป็นเกณฑ์ไม่เกี่ยวกับขา แขน ลำตัวของนักกีฬา
2. การแข่งขันวิ่งผลัด 4x200ม. นักกีฬาคนที่ 1และ2  จะต้องวิ่งช่องวิ่งของตนเองเท่านั้น คนที่ 3
จะวิ่งในช่องวิ่งของตนเองจนกระทั่งถึงเส้นตัด (เส้นโค้งแรกประมาณ 120 ม.)
3. การแข่งขันวิ่งผลัด 4x400 ม. คนที่ 1 วิ่งในช่องวิ่งของตนเองเท่านั้น คนที่ 2 วิ่งในช่องวิ่งของตน
เองจนระทั่งถึงเส้นตัด ซึ่งอยู่ในแนวเส้นชัย คนที่ 3 และ 4 จะยืนคอยรับในเขตรับระยะรวมเท่านั้น
เมื่อนักกีฬาทีมใดวิ่งมาถึงจุด 200 ม.ก่อน ทีมนั้นจะสามารถยืนคอยรับคทาจากด้านในของลู่วิ่ง
เรียงตามลำดับออกมา
4. ถือไม้คทาด้วยมือตลอดการแข่งขัน หลังส่งไม้คทาแล้วควรอยู่ในช่องวิ่งของตนเองหรือภายใน
เขตรับส่งจนกว่าทางวิ่งจะไม่มีนักกีฬา
5. สามารถเปลี่ยนนักกีฬาได้ 2 คนจะต้องมีรายชื่อในการแข่งขันครั้งนั้น
6. กรณีการแข่งขันวิ่งผลัด 4x100 ม.,4x400 ถ้ามีทีมแข่งขันไม่เกิน 5 ทีมให้ไม้แรกวิ่งโค้งเดียว
แล้วตัดเข้าช่องในได้

โดยกฏกติกาของกรีฑาประเภทลู่จะเป็นกติกาง่ายๆ แต่ที่สำคัญคือ เทคนิคการซ้อมของนักกีฬาแต่ละคน โดยส่วนตัวของข้าพเจ้าจะเน้นวิ่งในระยะปานกลาง คือ 400ม. ซึ่งเป็นระยะที่ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป การวิ่งจะต้องอาศัยแรงสปีดตลอดทั้งระยะทาง โดยไม่สปริ๊นจนหมดแรง หรือออมแรงจนคู่แข่งนำไปไกลจนเกินไป การซ้อมจึงต้องมั่นวิ่งเป็นระยะเวลานานๆเพื่อให้ร่างกายมีความอดทน โดยการวิ่งซ้อมนั้นควรเร่งสปีดในระดับนึง ไม่ใช่จ๊อกกิ้งไปเรื่อยๆ โดยสลับความเร็วสปีดและสปริ๊นเป็นระยะๆ เพื่อให้เราสามารถสปริ๊นได้แม้ร่างกายจะเหนื่อยแล้วก็ตาม

ผลการเรียน(outcome) : การฝึกฝนและเรียนรู้เป็นประจำตามวิธีข้างต้นนั้น ทำให้ข้าพเจ้านำไปใช้ในการแข่งขันและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ในที่สุดข้าพเจ้าสามารถเป็นตัวแทนลงแข่งในระดับเทศบาล รวมทั้งในระดับงานกีฬาภายในโรงเรียน และสามารถต่อยอดไปถึงในการแข่งขันระดับมหาวิทยาลัยได้

ข้อคิดที่ได้จากประสบการณ์(reflection) : - การฝึกฝนทำให้เราพัฒนาทักษะการเรียนรู้ได้
                                                            - ทำให้รู้จักพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง
                                                            - การออกกำลังกายทำให้สุขภาพดี

เอกสารอ้างอิง : http://blog.eduzones.com/jipatar/85918
                       http://www.topcelebritylink.com/portfolio/usain-bolt/

ภาคผนวก :

 

ส่วนหนึงของผลงาน : ภาพจากกีฬาภายใน โรงเรียนพิยานุกูล ปี2555


บันทึกเมื่อ 22 กรกฎาคม 2556

โดย นศพ.ธนภัทร สุทธิวิเศษพงศ์

รหัสนักศีกษา 563070032-7

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น



คำสำคัญ (Tags): #กรีฑา
หมายเลขบันทึก: 543277เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2013 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กรกฎาคม 2013 15:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ถ้าทำตามแล้วเราจะวิ่งเก่งขึ้นบ้างรึเปล่าเนี้ย 

ถ้าจะใช้หน้าตาวิ่งอย่างเดียวไม่ได้นะครับ ต้องใช้การฝึกฝนด้วยผมเตือนด้วยความหวังดี

ผมเข้าใจนะครับว่าการฝึกวิ่งระยะไกลจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อช่วงล่างให้แข็งแรงและอึดถึกขึ้น

แต่คุณอาจจะเข้าใจผิดนิดหน่อย เพราะช่วงล่างที่ดีวิ่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องเน้นส่วนสะโพก เอว และช่วงท้องด้วย

ไปฝึกมาดีๆ นะครับถึงแม้หน้าตาผ่าน แต่ช่วงล่างไม่ดีก็อาจพลาดได้ :))

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท