ประสบการณ์การพัฒนาทักษะกาเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพของข้าพเจ้า


ประสบการณ์การพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพของข้าพเจ้า

What (สิ่งที่เรียน)

  •         การเขียนเรื่องสั้นประเภทนิยาย (Novel, Fiction)


How (วิธีเรียน)

  •                   ผมได้เขียนเรื่องสั้นครั้งแรกเมื่อตอนปี 2009 หรือตอนที่ข้าพเจ้าอยู่มัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยความที่ช่วงนั้นผมชอบอ่านนิยายและเรื่องสั้นที่นักเขียนมือสมัครเล่นได้เขียนลงเว็บบอรด์มาก ซึ่งในตอนนั้นเพื่อนผมได้นำนิยายเรื่องเรื่อง “เมื่อผมเป็นแวมไพร์” มาให้อ่าน ผมกับเพื่อนอ่านไปหัวเราะไป กับเนื้อเรื่องของนิยายเรื่องนี้ เพราะมันเต็มไปด้วยอารมณ์หลายๆอย่าง ทั้งความสนุกสนาน ความเศร้า ถึงแม้จะเป็นนิยายของมือสมัครเล่น แต่มันก็ถือเป็นแรงกระตุ้นให้ผมอยากแต่งนิยาย จนกระทั่งผมได้อ่านนิยายที่คุณแม่ของผมซื้อมาเรื่อง “รักครั้งสุดท้ายที่ปลายรุ้ง” นิยายเรื่องนี้เป็นนิยายรักที่อยู่ก้ำกึ่งระหว่างวัยผู้ใหญ่และวัยรุ่น เพราะมีฉากที่โรแมนติคน่ารักๆแบบวัยรุ่น แต่มีความสมจริงสมจัง ไม่เพ้อฝันดั่งนิยายเด็กๆ นับเป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ที่ทำให้ผมเริ่มสนใจในงานเขียนและเป็นแรงผลักดันให้ผมเขียนนิยายเรื่องแรกขึ้นมา (แม้จะเขียนไม่จบก็ตาม)

  • ขั้นตอนในการเขียนเรื่องสั้น

1.  ค้นหาแรงบันดาลใจ :

  • จุดนี้ค่อนข้างสำคัญครับ เพราะเราต้องมีแรงผลักดันในการคิดพล็อตเรื่อง และยิ่งเรารู้สึกสนุกกับมัน เราจะยิ่งเขียนมันได้ลื่นไหล

2.  วางพล็อตเรื่องคร่าวๆ :

  • ร่างไว้ว่า เนื้อเรื่องของเราจะมี Theme แบบไหน จะเปิดเรื่องแบบใด มีตัวละครลักษณะนิสัยแบบไหนโผล่มา ดำเนินเรื่องอย่างไร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่ กับใคร จะเกิดผลอย่างไร เกิดอะไรขึ้น และจะปิดเรื่องอย่างไร จะปิดแบบมีเงื่อนงำทิ้งท้ายไว้ หรือจะปิดแบบจบสมบูรณ์แบบไปเลย จุดนี้เป็นจุดที่สำคัญครับ เพราะเนื้อเรื่องจะสนุก ซาบซึ้ง น่าประทับใจอย่างไร ขึ้นอยู่กับส่วนนี้เลย ฉะนั้น เมื่อเราได้ Theme มา เราต้องระมัดระวังรอบคอบในการเขียนเนื้อเรื่องเป็นอย่างยิ่ง


3.  สร้างความสมจริงในเนื้อเรื่อง :

  • การสร้างความสมจริงในเนื้อเรื่อง ไม่ใช่ การเขียนเนื้อเรื่องแบบเป็นความจริงเป๊ะๆนะครับ ไม่งั้นก็คงไม่มีนิยายแนวเหนือธรรมชาติและแฟนตาซี แต่ความสมจริงนี้หมายถึง การสร้างอารมณ์ร่วม สร้างรูปลักษณ์ของตัวละครและเนื้อเรื่องให้เกิดขึ้นในความรู้สึกของผู้เขียนและผู้อ่าน ว่าพวกเขาเหล่านั้น และเนื้อเรื่องเหล่านั้นมีอยู่จริง ไม่ใช่แค่เรื่องสมมติ ที่สำคัญเราควรใส่เหตุและผลลงในเนื้อเรื่อง เพื่อที่จะทำให้ผู้อ่านคล้อยตามได้ง่าย เช่น นางเอกตอนเด็กๆเคยถูกทารุณและนำไปทอดทิ้งไว้หน้าโบสถ์เล็กๆในเมืองแห่งหนึ่ง เมื่อโตขึ้นมาแม้เธอจะเป็นซิสเตอร์ที่มีรอยยิ้มและโอบอ้อมอารีแค่ไหน แต่ในใจลึกๆของเธอก็ถูกฉาบเคลือบไว้ด้วยความเศร้าหมองและความหวาดกลัวอยู่ เป็นต้น หรือผู้เขียนจะใช้วิธีเปิดเรื่องด้วยการกระทำอะไรบางอย่างก่อน พอมาถึงกลางเรื่องค่อยเฉลยว่าทำไมตัวละครจึงทำเช่นนั้นก็ได้ ซึ่งกลวิธีนี้จะทำให้ผู้อ่านติดตามได้ดี

4.  รวบรวมความกล้า :

  • การเขียนนิยาย การทำงานทุกอย่างนอกจากจะมีคนคอยแนะนำแล้ว ยังจำเป็นที่จะต้องมีคนคอยติชม คอยชี้จุดบกพร่องครับ การที่เรากล้าที่จะนำเนื้อเรื่องของเราไปให้ผู้อ่านหลายๆคนได้รับชมนิยายของเรา ได้สนุกเพลิดเพลินไปกับเรื่องที่เราเขียนขึ้นมากับมือ เป็นความสุขอย่างมากของผู้แต่งครับ แต่คนเราอยู่ด้วยแค่คำชมเชยอย่างเดียวไม่ได้ เราจำเป็นต้องอาศัยคำติเตียนต่างๆเพื่อมองดูข้อบกพร่องแต่ละจุดของเรา ไปใช้ในการพัฒนาตัวเองให้ดียิ่งๆขึ้นไปครับ ผู้แต่งที่พึ่งเริ่มเขียนเรื่องแรกอาจจะรู้สึกเขินอายในการนำเรื่องของตนไปให้ผู้อื่นอ่าน ผมก็เป็นนะ แต่ว่าถ้าเรามัวแต่อาย เราก็คงไปต่อไม่ได้ จริงมั้ย? :)


Outcome (ผลการเรียน)

  •   หลายเรื่องหลายตอนที่ผมได้ลองจับปากกาเขียนเรื่องสั้นจิปาถะ ไปเรื่อย จนออกมาเป็นเรื่องสั้นตอนเดียวจบเกือบสิบเรื่อง ทำให้ผมสามารถเขียนเรื่องสั้นประเภทนิยายและสามารถนำไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้รับชมกับจินตนาการของผมได้


Reflection (ข้อคิดที่ได้จากประสบการณ์)

  •   การที่เราจะเขียนนิยายได้นั้น เราต้องเริ่มจากการสร้างตนเองก่อน สร้างตนเป็นคนที่มีจินตนาการกว้างไกล ต้องมีความคิด มีไอเดียที่จะสร้างเนื้อเรื่องให้สนุกสนาน และเข้าถึงอารมณ์ของตัวละคร พร้อมที่จะพาผู้อ่านเข้าสู่วังวนแห่งฝันของเรา

  •  การเราจะพัฒนาได้นั้น ต้องมีความกล้า ความกล้าลำดับที่ 1 คือ กล้าแสดงออก กล้าที่จะเอานิยายที่ตนเขียนนั้นไปให้ผู้อื่นได้รับชม ความกล้าลำดับที่ 2 คือ กล้าฟังคำแนะนำ กล้าที่จะเอาคำชี้แนะจากผู้อื่นมาปรับปรุงการเขียนของตนให้ดียิ่งๆขึ้นไป และความกล้าลำดับสุดท้าย คือ กล้าปรับปรุง เมื่อรับฟังคำชี้แนะมาแล้ว เราต้องกล้าที่จะปรับปรุงการเขียนของตน กล้าที่จะเขียนต่อ กล้าที่จะเขียนในแนวที่จะผลักดันตนให้ก้าวไปข้างหน้าได้ และที่สำคัญต้องกล้าที่จะไม่ท้อ



References (เอกสารอ้างอิง) :


ภาคผนวก : ตัวอย่างนิยายสั้นที่ผมเคยเขียน

- เรื่อง Look at me



- เรื่อง Lost Weight

- imagine คุณชายพุฒิภัทร แบบหักมุม

บันทึกเมื่อวันที่ 21 / 7 / 2556

จัดทำโดย 

นศ.พ. ปรมินทร์ บรรณกิจ

รหัสนึกศึกษา 563070041-6

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


หมายเลขบันทึก: 543185เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2013 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 21:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)

สุดยอดๆ น่าสนใจมาก เป็นประโยชน์จริงๆครุป

ชอบตัวอย่างที่เขียนมากเลยค่ะ สำนวนภาษาดี อ่านเข้าใจดีง่ายค่ะ ><

 

เป็นการใช้เวลาว่างได้อย่างสร้างสรรค์และมีประโยชน์จริงๆค่ะ :) ชื่นชม

เก่งมากเลย เนื้อเรื่องที่แต่งก็น่าสนใจครับ

ดีมากเลย ฝึกจินตนาการสุดๆ ยอดเยี่ยมมากค่ะ :)

จินตนาการสูงมาก ดีมากเลยครับ :D

ช่วยพัฒนาทักษะในการเขียนดีมากเลยครับ ขอบคุณครับ

เจ๋งมากครับ ใช้ประโยชน์ได้จริง

อยากเขียนนิยายเปนบ้างจังอะ ^^

เฮ้ยย นี่มัน1Dนี่ อยากอ่านต่อๆ 

โห ชายภัทร หักมุม ซะ สามร้อยหกสิบองศา

ได้ข้อคิดดีๆเยอะเลยค่ะ น่าสนใจมากๆ><

ชอบชายภัทรค่ะ  ผู้ชายซาดิสม์

5555

บทความดีมากเลยค่ะ

น่าอ่านมาก  

อยากเขียนนิยายเก่งๆบ้าง ช่วยฝึกความคิดและจินตนาการดีค่ะ

ต้องลองแต่งออกมาบ้างแล้วนะเนี้ย

สนุกง่ะ  อ่านแล้วมีความสุข  5555

เก่งมากเลยครับ ได้ฝึกคิดจินตนาการเรื่องราวออกมา

เป็นบทความที่มีแง่คิดดี น่าสนใจมากๆ ^^

สุดยอดมากกกก อยากอ่านนิยายของเจบี ><

เขียนเข้าใจง่ายดีมากค่ะ

เพิ่งรู้ว่าเจมส์บอนชอบเขียนเรื่องสั้นด้วยย ย

><

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท