"โปรดฟังทางนี้" ... (มองโรคในแง่ดี : คุณากร วรวรรณธนะชัย)


เมื่อคืนอ่านบทความ ตอน "โปรดฟังทางนี้" ของ คุณหมอคุณากร วรวรรณธนะชัย
ในหนัังสือ "มองโรคในแ่ง่ีดี" แล้วคิดถึงใครสักคนขึ้นมาทันใด แบบนี้ต้องแชร์ด่วน ๆ




โปรดฟังทางนี้



ถาม : ทำไมแพทย์ผู้ชายส่วนใหญ่ใฝ่่ฝันที่จะเรียนต่อเฉพาะทางในสาขาโรคหัวใจ

ตอบ : เมื่อจบมา เขาจะได้แนะนำตัวกับคนไข้สาว ๆ ว่า "ผมเป็นแพทย์...ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจ" (วี้ดวิ้~ว...)


ผมไม่แน่ใจว่าสถิติโลกในกินเนสต์บุ๊กบันทึกเรื่องนี้ไว้อย่างไร
แต่ที่แน่ ๆ สถิติโรคในรายงานที่กระทรวงสาธารณสุขเผยแพร่ออกมานั้น
โรคหัวใจติด ๑ ใน ๕ อันดับสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของคนไทยแทบจะทุกปี

เมื่อผู้ป่วยตรวจด้วยอาการที่ชวนให้นึกถึงโรคหัวใจ สิ่งที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้่านหัวใจ
มักจะทำเป็นสิ่งแรก ๆ ก็คือ  นั่งฟัง

การฟัง เป็นวิธีพื้นฐานที่สุดในการรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยโรค
ในขณะที่ผู้ป่วยเล่าถึอาการเจ็บแ่น่นหน้าอก เหนื่อยง่าย หรืออาการอื่น ๆ ที่นำเขามาโรงพยาบาล
หัวใจก็จะเล่าปัญหาของมันให้แพทย์ฟังเช่นกัน


ถึงตรงนี้ ผู้อ่านช่างสงสัยอาจยกมือถาม: หัวใจเนี่ยนะ พูดได้?

ได้สิครับ อะไรที่มีลิ้นมันก็ควรจะพูดได้ทั้งนั้น จริงมั้ยครับ

ในยามปกติ ทุกครั้งที่หัวใจบีบตัว ลิ้นหัวใจจะขยับเปิด-ปิดตามจังหวะพร้อมกับเปล่งเสียง
ตุบตุบ ตุบตุบ ตุบตุบ ออกมาจากหน้าอกด้านซ้ายของเราเป็นจังหวะสม่ำเสมอ
ราวกับเข็มวินาีทีบนหน้าปัดนาฬิกา รูปประโยคจะเปลี่ยนไปหากหัวใจเริ่มรู้สึกไ่ม่ดี
วลีอย่างตุบตะหรุบ, ตุบปู่ตุบ, ตุบตุบฟู่ ฯลฯ เหล่านี้ล้วนบ่งบอกถึงความผิดปกติของหัวใจทั้งสิ้น
(ผู้สนใจศึกษาเพิ่มเติมได้จากตำรา ภาษาหัวใจ ๑๐๑)

ผู้เชี่ยวชาญจะฟังเสียงหัวใจโดยใช้หูฟัง-ผมหมายถึง อุปกรณ์ที่เรียกว่า หูฟัง
ซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้หูของเราฟังต่อจากหูของหูฟังอีกทีหนึ่ง
พวกเขาจะตั้งใจฟังสิ่งที่หัวใจบอกอย่างดีที่สุด เพื่อวินิจฉัยโรคที่มันเป็น
และพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้นาฬิกาแห่งชีวิตเรือนนี้ยังคงเดินต่อไป

เพราะหากนาฬิกาเรือนนี้หยุดเดินเมื่อไร เวลาในชีวิตของผู้ป่วยก็คงหมดลงเช่นกัน


ในขณะที่หัวใจพูดเสียงดังฟังชัด และตรงไปตรงมาเสมอถึงปัญหาที่มันกำลังประสบอยู่
มนุษย์-ซึ่งเป็นเจ้าของหัวใจนั้น-กลับปฏิบัติต่างออกไป

บ่อยครั้ง เรารู้สึกทุกข์จากการกระทำของใครบางคนที่เรารัก*
แต่เราก็กลับเลือกจะเก็บมันไว้โดยไม่บอกเล่าให้เขาฟัง
แม้จะมุ่งมั่นในการทำเช่นนั้น

แต่ขณะเดียวกันเราก็ยังแอบหวังให้ใครคนนั้นเข้าใจความทุกข์ของเราบ้าง
แน่นอนเหลือเกินว่าเขามักจะไม่เข้าใจ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจอะไร
เพราะเรานั่นเองที่ไม่ยอมเล่าให้เขาฟัง

เรื่องที่ไม่น่าแปลกใจจริง ๆ ก็คือ การที่เรายังคงไม่เข้าใจว่า
ทำไมเขาจึงไม่เข้าใจเรา นั่นทำให้เรารู้สึกทุกข์จากการกระทำ
ของใครบางคนที่เรารัก... (ซ้ำ * อีก ๗ รอบ
)

ซ้ำเองช้ำเอง เราเก็บเก่งจะโทษใคร


ไม่ใช่แต่การไม่สามารถสื่อสารความทุกข์ในใจออกมาเท่านั้น
การไม่สามารถสื่อสารความรู้สึกดี ๆ ในใจออกมาก้ก่อความช้ำไ้ด้ไม่ต่างกัน

มีตัวอย่างมากมายที่คนซึ่งรักและห่วงใยกันต้องมาหมางเมินกัน
เพียงเพราะความรู้สึกดี ๆ ในหัวใจของอีกฝ่ายหนึ่งไม่สามารถเิดินทางตลอดรอดฝั่ง
ไปจนถึงรูหูของอีกฝ่ายหนึ่งได้ ตัวอย่างเหล่านี้สามารถหาชมได้ไม่ยาก
จากตัวท่านเอง คนที่รักท่าน และคนที่ท่านรัก

ระยะทางจากหัวใจของคนคนหนึ่งไปสู่รูหูของใีครอีกคนนั้นช่างยาวไกล
และเต็มไปด้วยอุปสรรคมากมาย ความโกรธซุ่มอยู่ข้างทาง
รอโอกาสมาแทรกซึม ความน้อยใจดักอยู่ข้างหน้ารอจังหวะผสมโรง

ความกลัว ความระแวงและอคติ กระจายกำลังรอบทิศพร้อมโจมตีทุกเื่มื่อ
กว่าที่ความรักความห่วงใยซึ่งตั้งต้นออกเดินทางจากหัวใจจะกระเสือกกระสน
ไปจนถึงรูหูของอีกฝ่ายได้นั้น

มันก็สะบักสะบอมจนไม่เหลือเค้าเดิมที่เคยเป็น

แทนที่จะเป็นความห่วงใย รูหูผู้ไ่ม่รู้อีโหน่อีเหน่จึงได้สัมผัสเพียงถ้อยคำระคายหูประโยคหนึ่งเท่านั้น



นี่คือสิ่งที่ผู้พูดควรตระหนก และผู้ฟังยิ่งต้องตระหนก

เพราะแม้หูเราจะไ่ม่ได้ยิน แต่ในประโยคชวนระคายที่ล่องลอยมานั้น
ร่องรอยของเจตนาดี ๆ ยังคงมีอยู่เสมอ การใช้หูฟังเพียงอย่างเดียวนั้นจึงไม่เพียงพออีกต่อไป
เพราะอันที่จริงหูเราก็เป็นแค่หูฟัง เป็นอุปกรณ์ซึ่งเราต้องใช้หัวใจฟัง-ต่อจากหูของเราอีกทีหนึ่ง
ซึ่งนั่นคือ หน้าที่ของหัวใจ

มีเพียงหัวใจเท่านั้นที่สามารถฟังอย่างลึกซึ้งไปถึงต้นธารคำพูดในหัวใจของอีกฝ่ายได้
หัวใจถูกสร้างมาให้อ่อนโยนพอที่จะรับรู้สุข/ทุกข์ของผู้อื่น และแข็งแกร่งพอที่จะเข้าใจ
และรับฟังโดยปราศจากอคติ


ถึงตรงนี้ ผู้อ่านช่างสงสัยท่านเดิมอาจยกมือถาม : ฟังด้วยหัวใจเนี่ยนะ?

ครับ ลองมองที่หัวใจสิครับ เห็นมั้ย ตรงกลางของ heart นั้น มี ear ซ่อนอยู่


ในขณะที่เทคโนโลยีการสื่อสารก้าวหน้าไปไกล
มนุษย์ผู้ใช้มันกลับยังย่ำเท้าอยู่ที่จุดเดิม-หรืออาจจะถอยหลัง?
พวกเรายังคงใช้การสื่อสารเพียงเพื่อประโยชน์ในการสื่อ โดยไม่เคยคิดที่จะสาน

ผลก็คือเกิดคู่ขัดแย้งขึ้นมากมายในสังคม เบาหน่อยก็พากันไปออกสื่อ
หนักหน่อยก็พากันไปขึ้นศาล

เราเคยชินกับการตัดสินผู้อื่นล่วงหน้า บางครั้งเราตัดสินเขาก่อนที่เขาจะมีโอกาสได้พูดเสียอีก
อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ กลายเป็นคติประจำใจในยุคสมัยของเรา
เราตัดสินถูกผิดดีชั่วกันจากลิ้นไก่เล็ก ๆ ที่เห็น
เราสะใจที่เขาไม่มีโอกาสได้พูด แทนที่จะเสียใจที่เราไม่มีโอกาสได้ฟัง


ก่อนนาฬิกาแห่งความสัมพันธ์จะหยุดลง เรามาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจกันเถอะครับ
วิธีิการไม่มีอะไรยุ่งยาก เริ่มจากบอกตัวเองว่า ทุกครั้งที่ฟัง เราจะฟังเพื่อเข้าใจผู้อื่น

การเข้าใจใครสักคนก็คือ การเข้าไปในหัวใจของคนคนนั้น
เมื่่ออยู่ในนั้นเราจะสามารถสัมผัสความทุกข์ความสุขในใจของเขาได้
ที่สำคัญจากตำแหน่งนั้น เราจะสามารถมองเห็นโลกและปัญหาจากมุมของเขา
ซึ่งนั่้นมักเป็นมุมที่เราไม่เคยมอง


การเอาใจเขามาใส่ใจเรา แท้จริงแล้วคือ การเอาใจเราไปใส่ใจเขา


ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่้ยนหัวใจ เราสามารถเอาใจเราไปใส่ใจเขาได้ เีพียงแค่เรียนรู้ศิลปะง่าย ๆ ของการฟัง


Hear is art, when heart is ear.


ครั้งหน้า ถ้ามีโอกาสฟังคนที่คุณรัก โปรดฟังทางนี้



.......................................................................................................................................................................


คุณหมอคุณาธรเขียนบทความนี้ได้ "คม" มาก
รวมทั้งการเปรียบเทียบให้เห็นภาพของการสื่อสารที่เป็นแบบนั้นจริง ๆ

ความไม่เข้าใจ เกิดขึ้นได้อย่างงง่ายดาย
เพียงเพราะเราไม่เคยคิดจะนั่งฟังเขาอย่างจริงจัง

ไม่เหนือบ่าฝ่าแรงที่จะอ่านบทความนี้ด้วยความเข้าใจนะครับ

อยากให้เขาเข้าใจเรา เราก็ควรจะต้องเข้าใจเขาก่อน
จะได้ไม่ต้องย้อนไปย้อนมา เสียดายเวลาของชีิวิต

โปรดฟังทางนี้ โปรดอ่านบทความนี้ (แล้วนำไปใช้ทันที)

บุญรักษา ทุกท่านครับ ;)...



......................................................................................................................................................................

ขอบคุณหนังสือดี ๆ ...


คุณากร วรวรรณธนะชัย.  มองโรคในแ่ง่ดี.  พิมพ์ครั้งที่ ๒.  กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, ๒๕๕๖.


หมายเลขบันทึก: 543109เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2013 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กรกฎาคม 2013 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ตระหนักถึงการเป็นผู้ฟังมากขึ้นเลยนะครับ

ขอบคุณมากครับ

ชอบบันทึกนี้และจะเป็นผู้ฟังที่ดีและมีสติ ขอบคุณมากครับผม

ยินดีและขอบคุณครับ อาจารย์ Dr. Pop ;)...

ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆ นี้ครับ ทำให้รู้ว่า อวัยวะที่มีลิ้น ย่อมพูดได้ นั่นคือ หัวใจพูดได้ และในหัวใจ ก็มีหู อยู่ด้วย ทำให้ หัวใจก็รับฟังสิ่งต่าง ๆ ที่ใคร ๆ บอกกันได้ เพราะฉะนั้น เราต้องดูแลใจให้ดี จะพูดอะไรก็ต้องพูดด้วยใจ และจะฟังอะไรก็ต้องฟังด้วยใจ ดีใจจัง

คุณ nobita ;)...

กร่อนความรู้ได้ีดีมาก ๆ เลยครับ

ขอบคุณครับ ;)...

ยอดเยี่ยมมากค่ะ   ใช้ประจำ   เพียงเตือนตนเสมอ ..... อย่าเคยชิน  

เพราะบางเรื่องอาจคล้ายกัน   แต่ก็ต่างคน  ต่างเวลา  หรือต่างสถานการณ์กัน

ขอบคุณคุณครูเงามากค่ะที่นำมาเล่าต่อ

ยินดีครับ คุณหมอธิ ทพญ.ธิรัมภา ;)...

แบ่งปันบทความดี ๆ ครับ

เรารู้สึกทุกข์จากการกระทำของใครบางคนที่เรารัก* 
แต่เราก็กลับเลือกจะเก็บมันไว้โดยไม่บอกเล่าให้เขาฟัง 
แม้จะมุ่งมั่นในการทำเช่นนั้น

เป็นบ่อยมากค่ะ เดี๋ยวจะไปตามหามาอ่าน ขอบคุณนะคะอาจารย์

หนังสือเล่มเป็น Best of the Best เล่มหนึ่งสำหรับผมเลยครับ kunrapee ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท