ขับเคลื่อน PLC ที่ สพป.3 มหาสารคาม_10 : โรงเรียนบ้านหนองบุญชู สู่ หนองบุญชูโมเดล



วันที่ 13 มิถุนายน 2556 เราไปเยี่ยมโรงเรียนบ้านหนองบุญชู ดูเว็บของโรงเรียนได้ที่นี่ครับ  โรงเรียนขนาดเล็กมาก แต่ "ใจ" ใครที่อยู่ในโรงเรียนนี้ไม่เล็กเลยแม้แต่น้อย....  จึงอยากนำมาบันทึกไว้ว่าทำไมเรียกว่า "ใจไม่เล็กเลย"



แม้จะมาเยี่ยมพูดคุยไม่นาน (เพียง 2 ชั่วโมงครึ่ง) ผมก็เชื่อเร็วมากว่า โรงเรียนบ้านหนองบุญชูมีดีที่ ความถนัดด้านไอซีที และการคิดอย่างมีระบบและทันสมัยของ ผอ.มานพ สมภูมิ ผู้อำนวยการโรงเรียน ที่เพิ่งย้ายมาใหม่ๆ  (ความจริงสิ่งนี้ทำให้ผมไม่แปลกใจที่ท่านมีพลังใจเยอะเป็นพิเศษ) และคุณครูที่มีใจเพื่อศิษย์อยู่แล้ว โดยเฉพาะครูพิสมัย นอกจากนี้ยังมี ครูธุรการสาวสวยที่ "เห็น" และเข้าใจปัญหา  และที่สำคัญคือ มีน้องเทคนิคเชี่ยน ที่มี Skills ด้านไอซีทีสอดคล้องเหมาะเจาะกับ นโยบาย "สอนน้อย เรียนมาก" ของ ผอ.มานพ

ต้องบอกว่าการไปเยี่ยมเป็นจุดเริ่มต้น แต่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของผม ที่ได้รู้และเรียนรู้จาก ผอ.มานพ และครูของหนองบุญชูต่างหาก ความจริงท่านทำของท่าน เริ่มของท่านมาแล้ว  โชคดีที่ไอซีทีสมัยนี้ทำให้มีเฟสบุ๊คทำให้ทุกๆ กิจกรรมที่ท่านอยากแลกเปลี่ยน ทำให้ผมได้เรียนรู้ระยะไกลไปด้วย....  

สิ่งสำคัญไม่ใช่ โรงเรียนมีคอมพิวเตอร์สเป็คดีจำนวนมาก แต่ที่สำคัญคือ คอมฯนั้นใช้อินเตอร์เน็ต เอื้ออำนวยให้นักเรียนเรียนรู้ได้ นี่คือสิ่งสำคัญที่สุดในการศึกษายุคนี้ (ขอย้ำตรงนี้ว่า ทุกโรงเรียนต้องจัดการให้นักเรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศผ่านทางอินเตอร์ให้ได้) ที่หนองบุญชู (NBC) มีคอมฯอยู่ไม่กี่เครื่อง แต่สามารถใช้งานได้ ใช้อินเตอร์เน็ตได้ ไม่ต้อง "รอเป็นวัน" เหมือนกับที่พูดๆ กันเกือบทุกโรงเรียน..... ผมชอบภาพด้านบนนี้มาก พวกเขาโชคดีกว่าผมตอนผมอายุเท่านั้น

ประเด็น "ระวัง" เดียว ที่ผมเน้นกับท่าน ผอ.มานพคือ "อย่าตกร่องเทคโนโลยี"  คนส่วนใหญ่มักไม่เห็นกระแส และตกอยู่ในกระแส หนึ่งในนั้นคือกระแสเทคโนโลยี อะไรๆ ก็ต้องใช้เทคโนโลยี  ต้องใช้กระดานวิเศษ (magic board) ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว "ไม่คุ้มค่า"  เพราะกระดานวิเศษนั้น วิเศษสำหรับครู แต่ไม่วิเศษสำหรับนักเรียน  กระดานนั้นช่วยครู "สอน" แต่ไม่ได้ช่วยให้เด็ก "เรียนมากขึ้นเลย" และที่สำคัญครูก็ "สอนแบบเดิม" ด้วย คือ "บอก สอน ป้อน สั่ง"  อีกตัวอย่างที่ชัดเจนคือ มีครูที่สอนเรื่อง "ระบบนิเวศน์" โดยไม่ได้พาเด็กลงไปสวนหรือป่าในโรงเรียนเลย คือไม่พาลงไปเรียนรู้จากการปฏิบัติจากระบบนิเวศน์จริงเลย แต่กลับเลือกที่จะเปิดวีดีโอระบบนิเวศที่ได้มาจาก Youtube ....   ความจริงที่ดีต้องใช้ประกอบกัน แต่ที่ขาดไม่ได้คือ การเรียนด้วยการลงมือปฏิบัติ....

ผอ.มานพ โพสน์รูปนี้ พร้อมกับคำอธิบายว่า

"โต๊ะทำงาน ผอ.บ้านหนองบุญชู 555 ขวด 2 ใบข้างหน้ามีนัยสำคัญที่จะเป็นสื่อในการเรียนรู้ระหว่างครูกับนักเรียน รวมทั้งผอ.ด้วยครับ" 

ผมให้คอมเมนต์กลับไปทันทีที่ได้อ่านว่า

"ขวด 2 ใบ นั้น เป็นหลักฐาน อย่างหนึ่งว่า ท่านไม่ได้ ตกร่อง "เทคโนโลยี" "

ต่อมา ท่านโพสท์ให้ทราบกิจกรรมฝึกฝนทักษะและจิตอาสา จิตสาธารณะของเด็กเป็นระยะๆ

รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ๆ ที่น่าจะทำให้เด็กสนุก มีความสุขที่ได้เรียน  และเป็นการนิเทศกานสอนของครูแบบเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) ครูพิสมัยก็เป็น ครูฝึก (Coach) และการทำงานร่วมกันก็เป็นแบบ กัลยาณมิตรจริงๆ ไม่เชื่อท่านดูภาพนี้ครับ

นอกจากนี้แล้วยังมีการทำ PLC กันเป็นระยะๆ 

สำหรับ NBC ผมยังไม่ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ การจัดกาเรียนการสอนด้วยโครงงาน หรือ PBL  แต่ผมทราบว่า ท่านผอ.มานพ กับทีมครู กำลังพัฒนา รูปแบบการเรียนรู้ที่ต่อไปจะเรียกว่า หนองบุญชูโมเดล (Noog Boon Choo Model) หรือ NBCM อยู่ในขณะนี้ ซึ่งผมมั่นใจว่าจะออกมาในเร็ววันนี้  ที่เชื่อมั่นเพราะผมคิดว่า ประสบการณ์ผ่านการเป็นครูวิทยาศาสตร์ของท่านผอ. จะเป็นฐานของความสำเร็จนี้แน่

สู้ๆ ครับ .....

 

หมายเลขบันทึก: 542341เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2013 07:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2013 21:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ.ต๋อยละเอียดมาก ขอชื่นชมโรงเรียนนี้คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท