ภารกิจผู้ช่วยวิทยากร ณ รพ.สุราษฏร์ธานี


ภารกิจผู้ช่วยวิทยากร ณ รพ.สุราษฏร์ธานี

บอกให้เป็น (เราเป็นได้รึยัง แค่ไหนอย่างไร) ชี้ให้เห็น (ยังไง แบบไหน)

เป็นให้ดู (เป็นยังไง เรารู้สึกยังไงต่อสิ่งที่ครูเป็นให้ดู)

  รอบนี้ครูพาติดสอยห้อยตามมาเรียนวิธีการถ่ายทอด R2R รพ.สุราษฏร์ธานี น่าจะประมาณ 4 ครั้งแล้วที่ครูเมตตาให้โอกาส หน้าที่โดยตรงที่ต้องทำคือ ผู้ช่วย ที่ต้องประสานทางผู้จัดต้องว่ากันไปตามตรงว่า “ที่ผ่านมา หนูพลาดเพราะไม่ใส่ใจมาหลายครั้ง แบบครั้งล่าสุดนั้นจัดว่า ยับเยินกับตนเอง ครั้งนี้ เหมือนได้โอกาสแก้ไข”

แบบตั้งใจลิสต์กับตนเองว่า มีอะไรอย่างไร เรื่องประสานงาน พอได้ละกับตนเอง ทราบพี่ ๆที่จะมารับ เรื่องเวลาทำให้ความกังวลในใจไม่เกิดขึ้น ครูเมตตานัดแนะว่าต้องทำอะไรอย่างไรบ้าง วันแรก สติใช้ได้ ครูทำกระบวนการก็พอเลื่อนไหลไปกับท่านได้ แม้บางขณะมีอกุศลเป็นความกังวลเกิดขึ้น ก็เห็นทันแล้วยุบตัวลงเร็วขึ้น


  แต่มาตอนบ่ายพลาดท่า มัวแต่ทำ คลิปปิดท้าย หลุดลงไป ลืมออกมาช่วยครู แบบจิตไหลลงช่องเดิมแบบทำอะไรก็จมกับสิ่งนั้น ครูสะกิดเรียกให้ช่วย ค่อยได้สติรู้สึกตัว เอาใหม่

  กลับมาตอนเย็นก็เหมือนได้โอกาสดูแลครูด้วย แต่กลับพลาดท่าให้ ความง่วงเหงาหาวนอน (ถีนมิทะ) ความขี้เกียจต่อรองของีบแป๊บ ความกลัวงานจะออกมาไม่ดี กลัวเตรียมตัวไม่ดี รอให้สมองโล่ง ๆ เสร็จเลย ครานี้ หลับไป ทั้ง ๆที่ไม่ได้เขียนบันทึกไม่ได้เตรียม

ครู บอกให้เป็นโดย มอบหมายให้ช่วงเช้าสรุปเหมือนที่กุดชุม และเตรียมบรรยายเรื่อง “งานวิจัยเชิงทดลอง”

ว่ากันด้วยหน้างานก็ทำอยู่แล้ว แต่อารามขาดสติ ทบทวนกับตนเองน้อย พูดได้นิดเดียว ครูพยายามช่วยถามไกด์ ให้พูดต่อ แต่ก็เหมือนได้อีกนิดหน่อย หากแก้ไขความจะอย่างไร

น่าจะยกตัวอย่าง เขียนผัง เขียนปัจจัยควบคุมให้ดูอย่างชัดเจนว่า

วิจัยแบบเชิงทดลอง ต้องควบคุมอะไรบ้าง

แบบที่ยกตัวอย่างการวิจัยในสัตว์ทดลอง

ต้องควบคุมตั้งแต่น้ำหนักหนู ต้องอยู่ในเกณฑ์

อาหาร น้ำ อุณหภูมิ สิ่งแวดล้อม ของหนูทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองต้องให้เหมือนกัน แตกต่างกันแค่ สมุนไพรที่ให้เข้าไปเท่านั้น

ประมาณว่า ควบคุมให้เหมือนกันทั้งหมด

ยกเว้นยาสมุนไพรที่ให้ จะให้เฉพาะในกลุ่มทดลอง

ส่วนกลุ่มควบคุมนั้นให้เป็นน้ำ

แล้วก็มาดูผลลัพธ์เมื่อครบระยะเวลา ว่ามีอะไรเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ทั้งทางกายภาพ และชีวโมเลกุล

เรื่องการบรรยาย ครู จึงเป็นให้ดูโดยการชวนพี่ ๆ ห้อง Lab ขึ้นมาแขร์ เรียนรู้ไปด้วยกัน เสริมในส่วนที่ยังขาด ว่า งานวิจัยเชิงทดลองนั้น ต้องมีปัจจัยควบคุม

ต้องทำให้ห้องปฏิบัติการ ไม่เช่นนั้นจะควบคุมปัจจัยไม่ได้เป็นต้น

ใจตอนที่ฟังครู ก็มีความรู้สึก จ๋อย ทำไมถึงจ๋อย เพราะคิดว่า

มันควรจะทำได้ดีกว่านี้ แต่พอมองเห็นและยอมรับความจ๋อยก็เอาใหม่

ครูถ่ายทอดไปเรื่อย ๆ ใจหนูเริ่มคลาย

รู้สึกว่าสิ่งที่ครูพูดเข้าใจง่ายดี

พอบ่าย ๆ ครูแทบจะ Run ทุกอย่างเองทั้งหมด หน้าที่ ๆ ตระหนักกับตนเอง คือ ตั้งสติ เป็นพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม ไปฟัง คุย แชร์

ในกระบวนการเรียนรู้ที่ครูออกแบบ ไม่มีผิด ถูก ทุกอย่าง คือ การเรียนรู้

สำคัญ คือ จิตหนูต้องไม่ขุ่นมัว

พอมันหนักก็จะ หยุด นั่ง หลับตา หายใจเข้าลึก ๆ แล้วในกระหม่อม ก็จะสว่างเบา

แล้วก็ไปต่อกับตนเองค่ะ

ระหว่างที่ใจสะดุด หนัก ขุ่นมัว ครูชี้ให้เห็นว่า

“มันเหมือนเดิม เหมือนครั้งที่ แล้ว ถ้าไม่แก้ไข ครานี้จะหนักและจะยากกว่าเดิม”

เหมือนตอนขับรถไปสนามบิน ครั้งแรกนกตาย 1 ตัว ไม่แก้ไข ตายเพิ่มอีก 1 แก้ได้ นกรอด

แก้ไม่ได้ ครานี้คนจะตาย

นี่วิถีการภาวนาของหนูแลกกับทางไปนรกเลยทีเดียวค่ะ

หนูไม่ได้สู้กับใคร ไม่ได้สู้กับครู

แต่สูกับตนเอง สู้กิเลสข้างใน

ตั้งสติ เอาเข้าจริง ๆสภาวะทุกข์ ครอบงำ ถ้าไม่ฝืน ไม่สู้ ก็ออกยากนะ

แต่นี่ครูชี้แนะ บอกทางออกเรียบร้อย

ชี้ให้ใจได้เห็นภัย

มันก็กลัวหน่ะซิค่ะ ไม่เอานรก เอาพ้นทุกข์ ข้างในย้ำกับตนเอง

ก็พยายามตั้งสติทำงาน เอาหล่ะ พอจบลงก็พอได้ ผ่านมาแบบร่อแร่

เรื่องถอดบทเรียนอันนี้เป็นสิ่งที่ครูบอกให้เป็น แต่จิตนี้ยังหาข้ออ้าง

จนครูเมตตาเขียนให้ดูเหมือนเป็น GaP Analysis

ตั้งแต่ครูบอก จนถึงเวลาจะทำ อะไร เป็นสาเหตุให้ไม่ทำ

โห ตอนแรกก็ คิดเอา ครูบอกซ้ำ ไม่ใช่ตอนนี้

ใจหนูรู้ละ เอาใหม่ตั้งสติ หายใจ แล้วใคร่ครวญ

-ความขี้เกียจ ความอ่อนล้า ความกลัวไม่ดี ความกลัวไม่ดูดี ความรู้สึกยอมรับไม่ได้ว่าตนเองไม่รู้ ทั้ง ๆที่ ถ้าเริ่มเร็ว ตรงไหนยังขาดก็ค้นเพิ่มเติมได้ ศักยภาพถึง และน่าจะทำได้ดีด้วย เพราะต้นทุนในสิ่งที่ครูมอบหมายนั้นมีมาเยอะ แค่ไม่ค่อยถูกงัดออกมาใช้งาน

ทบทวนย้อนแล้วใจยอมรับ ว่าจริงบอกพร่องจริง ๆ

แล้วทวนสอบศีลกับตนเอง นี่ผิดศีลข้อ 1เพราะทุกข้อ คือ การเบียดเบียนตนเอง

ครูชี้ให้เห็นย้ำอีกในส่วนที่ขาดว่า ผิดศีลข้อ 4ด้วยไม่รักษาสัจจะ รักษาข้อวัตรไม่ได้

จิตข้างในอ่อนยวบลง เห็นจริงตามที่ครูชี้ ใจผ่อนคลาย

สุดท้ายครูเมตตาเป็นให้ดูก็ได้เห็นกับตนเองชัดว่า

ครูทำงานด้วยใจนิ่งเย็น ดึงทั้งผู้ร่วมอบรมและหนู ให้ได้เรียนรู้และเกิดปัญญาไปด้วยกัน

จากที่ทุกข์ ก็เข้าใจว่า ใจหนูทุกข์แค่นี้ ทุกข์ที่ครูสัมผัสนั้นเท่าทวีคูณ

แต่ครูก็เผชิญได้อย่าง นิ่งเย็นและอ่อนโยน



คำสำคัญ (Tags): #aar#km#ภาวนา#วิมังสา
หมายเลขบันทึก: 542139เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2013 00:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2013 00:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท