แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ ไทย ลาว


วันที่ 5-6 กรกฎาคม 2556 มีกิจกรรม First KKU-Mahosod CVT Meeting

วันที่ 5 ก.ค. ประชุมที่ Royal Mekong Hotel Nongkhai 

วันที่ 6 ก.ค. ประชุมที่  ศูนย์หัวใจ Mahosod Hospital 

   


ลาว..ได้เริ่มผ่าตัดหัวใจเมื่อปี 2001 โดยทีมจาก  Strasbourg, Fribourg, Luxembourg สลับหมุนเวียนมาช่วยผ่าตัด

ปี 2004 ได้เริ่มก่อตั้ง Lao - Luxembourg Heart Centre 

ปี 2008 ทีมของลาวได้เริ่มผ่าตัดเองเป็นครั้งแรก  ในแต่ละปีจะมีทีมผ่าตัดของทั้ง 3 ทีม มาช่วยผ่าด้วย  ดังนั้นผู้ป่วยโรคหัวใจของลาวจึงมีทีมผ่าตัด 4 ทีมที่ช่วยกันดูแล

จากปี 2001 -2012 มีจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทั้งสิ้น 1021 ราย ส่วนมากเป็นผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งนอกจากการผ่าตัดในประเทศแล้ว แต่ละปีจะมีมูลนิธิมาคัดเลือกเด็กปีละ 10 คน บินไปผ่าตัดที่ต่างประเทศด้วย โดยออกค่าใช้จ่าย หาครอบครัวอุปถัมภ์ให้ เมื่ออาการดีขึ้น จึงส่งกลับบ้าน


 แผนกผ่าตัดหัวใจจะอยู่ชั้น 2 (ชั้นที่ 1 เป็น ผู้ป่วยนอก และน่าจเป็นแผนกอายุรกรรมด้วย..ไม่แน่ใจ) ซึ่งประกอบด้วย ห้องผ่าตัด,  ICU 4 เตียง, Step-down unit 8 เตียง และหอผู้ป่วยใน 16 เตียง

ดูแลผู้ป่วยที่มาจากทึมาจากทุกภาคของประเทศลาว (เป็นศูนย์ผ่าตัดหัวใจของประเทศ)

  

มีพยาบาล 20 คน (ระดับ Bachelor degree 1 คน: หัวหน้าศูนย์, Mid level 19 คน) 

       ...........ดูแลทั้งหมด ตั้งแต่ห้องผ่าตัด ICU จนถึง หลังผ่าตัดกลับบ้าน......ถ้ามีหมอฝรั่งมาช่วยผ่า จะมีทีมพยาบาลห้องผ่าตัดจากโรงพยาบาลอื่นมาช่วย....

..........สำหรับพยาบาลไทยจะแบ่งเป็น..... พยาบาลห้องผ่าตัด  พยาบาล  ICU พยาบาลหอผู้ป่วยที่ดูแลระยะก่อน และหลังผ่าตัด

ตามความเห็นส่วนตัวแล้ว....... ไม่ว่าพยาบาล ลาวหรือไทย ก็มีภาระงานที่ค่อนข้างมาก เหมือนกัน

แต่พยาบาลไทย........... โชคดีกว่าตรงที่ มีบุคลากรช่วยสนับสนุนงาน เช่น มีพนักงานการแพทย์คอยดูแลความสะอาดเครื่องมือ มีพนักงานเปลคอยรับส่งผู้ป่วยไปยังจุดต่างๆ

ตึกศูนย์หัวใจที่นี่.......มีแต่พยาบาลทำหน้าที่ทุกอย่าง....ทั้งดูแลเครื่องมือ รวมทั้งเข็นผู้ป่วยไปตรวจหรือเอ็กซ์เรย์

1 ผลัด มี 12 ชั่วโมง ผลัดละ 4 คน.......นับว่าทำงานค่อนข้างหนักกับจำนวนผู้ป่วยที่มี.........กับการดูแลผู้ป่วยทุกระยะ



คุณมาลัยทอง...หัวหน้าพยาบาลศัลยกรรมหัวใจ เคยไปเรียนต่อที่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เคยไปฝึกงานที่ตึกของเรา     ครั้งนี้จึงได้โคจรมาเจอกันอีกครั้ง

  

คุณมาลัยทองบอกว่า จากที่เคยไปฝึกงาน เห็นชุดขวดฝึกบริหารปอดของพวกเรา จึงได้นำมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วย แต่เนื่องจากไม่มีขวดแก้ว จึงใช้ขวดน้ำดื่มแทน และใช้แบบ 1 ขวด

  

ความจริงแล้วจะใช้ขวดแบบใดก็ได้ แต่ควรปิดฝาขวดแล้วเจาะรูใส่หลอด สั้น และยาว เพื่อเป็นการเพิ่มแรงด้านในการเป่าลมออกจากปอด จะทำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

.........................

จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ครั้งนี้ ได้เกิดการเรียนรู้ของแต่ละทีมเพิ่มากขึ้น

อนาคต คงมีความร่วมมือสนับสนุนให้แพทย์ พยาบาลลาวไปฝึกประสบการณ์ที่ไทยมากขึ้นกว่าเดิม 

ทั้งนี้อนาคต ลาวได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะเปิดห้องตรวจสวนหัวใจ   บริการทำผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งต้องมีการพัฒนาทักษะมากขึ้น เหมือนอย่างไทยทำมาแล้ว

แน่นอนว่า การมาฝึกประสบการณ์ที่ไทย...ย่อมเอื้อต่อการเรียนรู้มาก เพราะอยู่ใกล้บ้าน ...ภาษาใกล้เคียง  ...เวลาพูดคุยกับผู้ป่วยหรือบุคลากรด้วยกัน...... รู้เรื่องง่าย

คุณมาลัยทองบอกว่า..อนาคตอยากเห็นพยาบาลลาว....แบ่งการดูแลผู้ป่วยคล้ายพยาบาลไทย คือ ระยะผ่าตัด  ระยะวิกฤต ระยะพักฟื้น........เพื่อคุณภาพการดูแล...ซึ่งพวกเรายินดีที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้

........

ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดที่ลาว ....เปลี่ยนลิ้นหัวใจ ประมาณ 4-5 หมื่นบาท ค่าลิ้นหัวใจ ไม่ต้องจ่าย ...ได้รับการช่วยเหลือจากต่างประเทศ

ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจที่ไทย โรงพยาบาลรัฐบาล ประมาณ  80,0000-- 100,000 บาท หรืออาจมากกว่านั้นหากมีหลายโรคหรือมีปัญหาอื่นๆ เกิดขึ้น

-------------

ไม่ว่า ลาวหรือไทย คงมีปัญหาที่คล้ายๆ กัน คือ กว่าที่จะตัดสินใจผ่าตัดหัวใจได้ ผู้ป่วยต้องมีระยะเวลาในการต่อรอง ตัดสินใจ  ช่วงระยะเวลาหนึ่ง อาจนานหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง

บางคนรอจนกระทั่งอาการทรุดลง จึงตัดสินใจผ่าตัด...ซึ่งแน่นอนว่า การฟื้นตัวหลังผ่าตัดย่อมใช้ระยะเวลานานขึ้น....................

นับเป็นความท้าทายของทีมในการที่จะให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยในการพิจารณาตัดสินใจผ่าตัดให้เร็วขึ้น

....แน่นอนว่า ...ต้องตัดปัญหาด้านการเงินออกไป.......เพาะแม้ว่า ใจอยากผ่า..แต่หากมีความจำเป็นในการเลี้ยงชีพ...และ "ยังพอไหว"  การตัดสินใจผ่าตัดก็ย่อมทอดระยะเวลาออกไป..........

.......แต่ที่สุดแล้ว...ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริจยิ่ง


หมายเลขบันทึก: 541733เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2013 23:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กรกฎาคม 2013 23:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

..... ดีจังเลยได้ไป ...ได้ช่วยเหลือ ... แลกเปลี่ยนวิชาการ กันนะคะ

เป็นประโยชน์ทั้งสองประเทศเลยครับพี่

...เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันนะคะ...ขอชื่นชมค่ะ

ภาพสุดท้ายแยกไม่ออกเลยนะครับว่า ช่าวลาว หรือไทย (ฮา)...

ประสบการณ์การเยียวยาผู้ป่วย ขอบคุณประสบการณืดีๆครับ

แต่ก่อนเขาเรียกห้องผ่าตัดว่า ห้องปาด จริงไหมคะ นี่ตามป้ายก็เห็นเรียกห้องผ่าตัดแล้ว (ไกด์ลาวเล่าให้ฟัง สมัยไปเที่ยวค่ะ ยังติดใจมาถึงปัจจุบันเลย)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท