ทำไมถึงเลือกเป็นครู?


ต้องขอแนะนำตัวก่อนว่า เส้นทางของตนเองเป็นอย่างไร ทำไมถึงมาหยุดอยู่ที่อาชีพครูได้ ทั้งๆที่ตัวเองจบจิตวิทยามา ต้องย้อนไปถึงตอน ม.6 ตอนนั้นด้วยความที่ว่าเราเรียนสายวิทย์-คณิต ก็มีความสนใจหลักอยู่ที่ชีววิทยา เพราะรู้สึกว่าเป็นวิชาที่เราชอบมาก อีกทั้งครูผู้สอน (ดร.รักซ้อน รัตน์วิจิตต์เวช) ก็เป็นครูผู้สอนชีววิทยาเพียงคนเดียว ตั้งแต่ ม.4 - 6 เลย ท่านสอนได้ดีมากๆ เข้าใตได้ละเอียดชัดเจน จึงตั้งใจจะ Entrance เข้าคณะ วิทยาศาสตร์ สาขา วิทยาศาสตร์ชีวภาพ แต่ด้วยความที่ว่า เทศกาลปีใหม่ เวลาไปเยี่ยมผู้ใหญ่ ท่านก็มักจะเชียร์ให้เข้าแพทย์ไปเลย ยิ่งเพื่อนคุณยายซึ่งเป็นแพทย์ด้วยแล้ว ก็เชียร์จนเราตัดสินใจไปสมัครสอบของ กสพท. แต่ก็ยังไม่คิดว่าตัวเองจะเรียนแพทย์ไหว ก็เลยลองหาความสนใจของตัวเองดู โชคดีว่าปี 2551 นั้นเป็นปีที่จุฬาฯจัดงาน "จุฬาวิชาการ" พอดี (จุฬาวิชาการ จะจัด 3 ปี / ครั้ง) พอได้ไปดูคณะจิตวิทยาก็ชอบมาก โดยเฉพาะสาขาจิตวิทยาพัฒนาการ ที่จะได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก พอ Entrance ก็เลยเลือกคณะ จิตวิทยา และในที่สุด ก็ได้มานั่งเรียนในคณะ จิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จริงๆ

แม้ในระดับปริญญาตรีจะไม่มีการแยกสาขาวิชาก็จริง แต่ก็เน้นเรียนวิชาของสาขาจิตวิทยาพัฒนาการมาจนครบ (เห็นทีจะขาดแค่วิชา จิตวิทยาครอบครัวและชีวิต ที่ รศ.ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ สอน ที่ไม่ได้เรียนเนื่องจากว่าลงทะเบียนเรียนไม่ทัน ท่านเกษียณไปก่อน) แล้วก็เรียนทางนี้ได้ดีมาโดยตลอด ก็เลยรู้สึกว่าตัวเอง Fairy good match กับจิตวิทยาพัฒนาการจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พัฒนาการเด็ก

ความจริงจบจิตวิทยามา ก็ควรจะเป็นนักจิตวิทยาเนอะ เป็นนักกระตุ้นพัฒนาการ (ทำ Early Intervention) ก็ได้ แต่ด้วยความที่ไม่ค่อยชอบทำงานกับเด็กวัย 1 - 2 ขวบ เพราะรู้สึกว่าเด็กเล็กมาก และเราก็ไม่เหมาะกับเด็กวัยนั้นจริงๆ รู้สึกว่าตัวเองจะสนใจวัย Preadolescence เสียมากกว่า เพราะตอน ม.5 เคยกลับมาเยี่ยมอาจารย์สมัย ป.6 ที่โรงเรียนเก่า แล้วอาจารย์บอกว่า ให้ไปลองถามคำถามน้องๆหน่อย (ตอนนั้น น้องๆ ป.6 กำลังอ่านหนังสือสังคมพร้อมกันทั้งห้อง ในเรื่องของแผนที่) พอได้ไปลองถามคำถาม (ก็คือการสอนหน้าชั้นเรียนครั้งแรกในชีวิต) ก็รู้สึกว่าสนุกมาก ที่เราได้มีการตั้งคำถามอะไรต่างๆให้เด็กๆได้คิด แล้วเด็กก็โต้ตอบมา แล้วเราก็ช่วยเสริมเพิ่มเติมความรู้ต่างๆนอกเหนือจากที่มีในหนังสือให้ รู้สึกงานนี้มันสนุกมาก พอเข้าปี 1 ไปได้ เวลาว่างเยอะ จึงกลับมาช่วยอาจารย์ท่านเดิมสอนอีก สอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 - 2555

จากการฝึกสอนที่ยาวนาน (4 ปี) ก็ทำให้มั่นใจว่าตัวเองชอบงานนี้จริงๆ การได้สอนเด็กนั้นไม่เพียงแต่จะพัฒนาเขาในด้านสติปัญญาเท่านั้น แต่เราสามารถพัฒนาเขาทั้งพัฒนาการด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เราพัฒนาเขาได้ทั้งหมดทุกด้านเลย ก็ตรงกับความสนใจของเราในเรื่องจิตวิทยาพัฒนาการพอดี จึงได้ตัดสินใจที่จะเลือกอาชีพ "ครู" ผู้สอนและพัฒนานักเรียนต่อ

และเนื่องจากไม่ได้จบด้านครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์มาโดยตรง จึงได้มาลงเรียน ค.ม. (วิชาชีพครู) เพราะอยากจะรู้ให้จริงเกี่ยวกับศาสตร์ด้านนี้ เพื่อที่จะได้นำไปพัฒนานักเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งๆขึ้นต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #ครู
หมายเลขบันทึก: 541626เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

วิชาชีพครูใช้ทฤษฎีการเรียนรู้บนพื้นฐานของจิตวิทยาด้านต่างๆ มากมาย คุณจะได้เปรียบเพื่อนๆ ตรงนี้ ต้องช่วยแบ่งปันกับเพื่อนๆ และเชื่อมโยงความรู้ที่มีอยู่เข้ากับวิชาชีพครูนะคะ

เรียน ป.บัณฑิตวิชาชีพครู ๑ ใบ ... คุณสมบัติจะสอบครูได้ครับ ;)...

ครับผม ขอบคุณความเห็นของทุกท่านมากครับ

สมัยก่อนการเป็นครูอาจเพราะมีวิทยาลัยครู ๓๖ แห่ง แต่มหาวิทยาลัยมีไม่กี่แห่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท