"แก" ๓ ระดับ


ทุกวันนี้ เราจะมีคำว่า "ท่าน" นำหน้าผู้ที่เราให้เกียรติ เช่น ท่านพระครู... ท่านเจ้าุคุณ เป็นต้น และอีกคำหนึ่งคือ "คุณ" เช่น คุณพ่อ คุณแม่ คุณปู่ เป็นต้น แถวบ้านผมมีคำว่า "แก" เช่น แม่แกก็เป็นอย่างนั้นแหละ บ่นเรื่อยเปื่อย แม่แกใจดีมาก เป็นต้น คำว่า "แม่แก" ไม่ได้หมายความว่า แม่ของเพื่อน แต่เป็นคำแสดงถึงแม่ของเรา หรือแทนแม่ของเรา เช่น แม่ไปไหน คำตอบคือ แกไม่อยู่ ซึ่งคำว่า "แก" นั้นเป็นคำให้เกียรติ นี้คือระดับหนึ่ง และ "แก" ที่แทนชื่อเพื่อน นี้ก็อีกระดับหนึ่ง นอกจากนั้น ยังมีอีก "แก" ที่บ่งถึงคนที่เราไม่ชอบ เช่น "แก อย่ามายุ่งกับฉัน หากแกยุ่ง แกเจอดี" ข้อสรุปของ "แก" ๓ ระดับคือ ในคำแต่ละคำนั้น มีระดับความรู้สึกของคำของผู้พูดและผู้ฟังแตกต่างกัน เหมือนกับคำว่า "โง่" อาจเป็น คำด่าก็ได้ คำอุทานก็ได้ หรือเป็นการแสดงความจริงที่ตรงกันข้ามกับคำว่า "ฉลาด" ก็ได้ ผมเชื่อว่า คำจำนวนมากของพุทธทาสที่กระตุกความรู้สึก ไม่ได้เกิดจากด่า หรือให้เกียรติ หากแต่เป็นคำกลางๆของภาษาที่ไม่ใช่ดีและไม่ดี

หมายเลขบันทึก: 540400เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2013 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท