beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ตัวอย่างปฏิบัติของ "การให้เงินทำงาน(หาเงิน)แทนเรา"


ให้เงินทำหน้าที่แทนเรา โดยวิธีการโยกย้ายเงินในกระเป๋า

ไปเห็นบันทึกของบีแมนใน Learners ที่ตั้งใจจะสอนนิสิตเรื่องการบริหารการเงิน แต่ยังเขียนไม่จบ เพิ่งไปเขียนจนจบเมื่อสักพักหนึ่งนี้เอง. มีคนเข้าไปอ่านมากพอสมควร แต่คงอ่านไม่รู้เรื่อง (เพราะเขียนไม่จบ..อิอิ)

อันที่จริงเรื่องบริหารการเงิน ให้เงินทำหน้าที่แทนเรานี้มีคนเขียนไว้มาก เช่น Link นี้

ผมมีเรื่องเล่าประสบการณ์ของการให้เงินทำงานแทนเรา มา Share ให้อ่านสักเรื่องหนึ่ง ความจริงแล้วมีหลายเรื่องมากกว่านี้.. แต่เอาเรื่องหนึ่งที่ปฏิบัติได้ง่ายๆ ก่อน

เงื่อนไขก็คือ ท่านจะต้องมีสหกรณ์ออมทรัพย์ และท่านเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ด้วย และสหกรณ์ที่ว่านี้ ต้องมีอัตราเงินปันผลตามหุ้น และเงินกู้ใกล้เคียงกัน และยังต้องมีเงินเฉลี่ยคืนจากดอกเบี้ยเงินกู้เป็นอัตราที่ยอมรับได้..

ผมเป็นสมาชิกสหกรณ์ฯ สมมุติว่ามีหุ้นอยู่เป็นเงิน 500,000 บาท (ผมลงทุนซื้อหุ้นไปจริงๆ ไม่ถึง 500,000 บาท เพราะทุกปีเขาจะให้หุ้นผมเพิ่ม 30 หุ้น เป็นเงิน 300 บาท 25 ปี เป็นเงิน 7,500 บาท ปีหน้าเป็นสมาชิกครบ 25 ปี ได้เงินบำเหน็จหุ้นอีก 8,000 บาท-เรื่องเหล่านี้สมาชิกบางคนไม่เคยทราบ)

ต่อไปเป็นเรื่องให้เงินทำหน้าที่แทนเรา โดยวิธีการโยกย้ายเงินในกระเป๋า

  • เดิมผมมีหุ้นอยู่ 50,000 หุ้น คิดเป็นมูลค่่า 500,000 บาท พอถึงสิ้นปี 2555 ผมได้เงินปันผล 6% เป็นเงิน 30,000 บาท (ความจริงกว่าจะจ่ายเงินปันผลมาให้ก็ตกประมาณ 26 มกราคม 2556)
  • ถ้าไม่ได้ซื้อหุ้นเพิ่ม ปีหน้าเราก็จะได้เงินปันผลอีก 30,000 บาท

พอต้นปี 2556 ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ผมไปที่สหกรณ์ ขอกู้เงิน 450,000 บาท (เงื่อนไขคือกู้ได้ร้อยละ 90 จากมูลค่าหุ้นที่มีอยู่ โดยใช้มูลค่าหุ้นค้ำประกันเงินกู้ และในเงื่อนไขที่จ่ายแต่ดอกเบี้ยไม่จ่ายเงินต้น)

  • พอเรากู้เงินมา 450,000 บาท (เอาหุ้นค้ำประกัน) เราก็นำเอาไปซื้อหุ้นเพิ่ม (รวมเป็น 950,000 บาท) ถึงปีได้เงินปันผล 30,000 บาท (จากห้าแสนเดิม) และได้เงินปันผลเพิ่มจาก 450,000 บาท อีก 6% ในเงื่อนไขเวลา 11 เดือน เป็นเงิน 24,750 บาท รวมเป็นเงิน 54,750 บาท (จะได้รับ ประมาณปลายเดือนมกราคม 2557)

ขณะเดียวกัน เราก็เป็นหนี้สหกรณ์เพราะไปกู้เงินมาเงินกู้ 450,000 บาท ต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปีเหมือนกัน รวม 11 เดือนเสียดอกเบี้ยไป (450,0006/100334/365) เป็นเงิน 24,707 บาท (ตอนเขาคิดเงินปันผลคิดเป็นรายเดือน แต่พอคิดดอกเบี้ยเงินกู้คิดเป็นรายวัน สรุปแล้วเราได้กำไรนิดหน่อย-เป็นความรู้ใหม่ที่สังเกตเห็นตอนเขียนบันทึกนี้-แต่ก่อนไม่เคยได้คิด)

  • สรุปว่าปี 2557เราได้เงินปันผลเพิ่มมา 24,750 บาท แต่เราต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้ 24,707 บาท คิดเอาแบบง่ายๆ ว่า เจ๊ากันไป

Output+Outcome ที่ได้

  • เดิมมีหุ้นอยู่ 5 แสนบาท หุ้นเพิ่มขึ้นมาเป็น 9.5 แสนบาท
  • เงินปันผลเดิมได้ 3 หมื่น เงินปันผลใหม่ ได้ 3 หมื่น+24,750 บาท
  • เดิมไม่มีหนี้กับสหกรณ์ แต่ปีนี้เป็นหนี้เพิ่ม 450,000 บาท เสียดอกเบี้ย 24,707 บาท
  • ต้องเสียดอกเบี้ย 24,707 บาท จากที่ไม่เคยเสีย แต่ได้เงินปันผลเพิ่ม 24,750 บาท ถือว่าหักลบกลบหนี้กันพอดี
  • แต่ดอกเบี้ยที่เสียไป 24,707 บาทนี้ ถึงปีสหกรณ์จะเฉลี่ยคืนให้ 20% เป็นเงิน 4,941.50 บาท
  • ส่วนที่เป็นผลจากการย้ายเงินในกระเป๋า โดยให้เงินทำงานแทน คือ เงินเฉลี่ยคืน 4,941.50 บาท นั่นเอง

สรุป จะเห็นว่า ผมทำงานเพียงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 ไปย้ายเงินในกระเป๋าหุ้น มาเป็นกระเป๋าหนี้ และเอาเงินในกระเป๋าหนี้ไปซื้อหุ้น ต่อไปก็ให้เงินทำงานแทนเรา พอถึงวันที่ 26 มกราคม 2557 เราก็ไปรับเงินที่เงินทำงานแทนเรามาใช้จ่ายเพิ่มอีก 4,941.50 บาท

เงิน 4,941.50 บาท อาจเอาไปบริจาคให้การกุศลก็ได้ โดยที่เราไม่ได้ไปเอาเงินต้นไปบริจาค แต่เอาเงินที่ได้จากการให้เงินทำงานแทนเราไปบริจาคแทน ซึ่งความจริงแล้วเงินทำงานเองไม่ได้ แต่ว่าจะต้องมีผู้บริหารการเงิน คือ ผู้จัดการสหกรณ์ กับคณะกรรมการสหกรณ์เป็นผู้บริหารการเงินแทน ซึ่งเงินที่เพิ่มมานี้ เกิดจากคนหรือองค์กร (รวมทั้งม.นเรศวร) ที่ไปกู้เงินสหกรณ์ ซึ่งนั่นย่อมรวมบีแมนเข้าไปด้วยแล้ว

เพิ่มเติม (22 มิถุนายน 2556) เพิ่งนึกได้ว่า ผมบริจาคเงินให้ Unicef เดือนละ 300 บาท ปีละ 3,600 บาท เขาหักผ่านบัญชีบัตรเครดิตทุกเดือน ถึงปีก็เอา 3,600 บาท ไปหักเป็นส่วนของเงินบริจาค (ไม่เกิน 10% ของรายได้)

เงินรายได้พึงประเมิน ส่วนที่ต้องเสียภาษี ตกใน Rate เสียภาษี 10% เท่ากับได้เงินคืนกลับมาจากการบริจาคครั้งนี้ 360 บาท สรุปแล้ว เมื่อปีภาษี 2555 บีแมนไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐ เพราะมีรายได้น้อย และมีส่วนที่หักเป็นค่าลดหย่อนต่างๆ รวมกันแล้ว ทำให้มีเงินได้ไม่พอที่จะนำไปคำนวณภาษี

หมายเลขบันทึก: 540035เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2013 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2017 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

This would work if and only if the dividen is greater than the interest.

Investment in most businesses/stockmarket cannot garantee dividens (vary with market conditions), but loan interests will be some 2-4% on top of the Reserve Bank's rate (to cover the cost of money, administration overheads, profit margin and risk of not getting loan-out money back),...

In good years, dividens (from sharea) can be greater than interests on loan (to buy the shares).

In bad years, dividens cannot cover the interest and it hurts more when the shares we bought for 100 baht, is now worth less than 100-inlation baht (because it is not paying dividens! And inflation things we could have nought and used with the money now cost more.)

Many people who deal in Gold futures can give more good/bad stories.

ท่าน SR

is now worth less than 100-inlation baht (inflation)

ใช่ครับ financial มีอะไีรซับซ้อนมากมายครับ

  • ความจริงแล้ว ชีวิตที่เอาไปผูกพันกับเงินมากๆ จะเป็นชีวิตที่ปราศจากความสุข
  • อย่างที่คุณ SR กับ คุณยง มา Sharing กันในท้ายบันทึกว่าเรื่องของการเงินมันซับซ้อน
  • แต่เป็นเรื่องที่มนุษย์สร้างขึ้นมาทั้งนั้น


คุณเขียนบทความได้ดีมากครับ เป็นแนวคิดให้หลายคนได้เลยครับ และเป็นแนวคิดที่สมมารถทำได้จริง

  1. ขอบคุณ คุณอธวัฒน์ที่ให้กำลังใจ ครับ
  2. คนที่ตั้งใจอ่านตั้งแต่ต้นจนจบก็จะรู้เรื่องได้ แต่คนที่อ่านแบบลวกๆ ก็จะไม่ได้ความรู้อะไร
  3. บันทึกนี้ผมได้ประสบการณ์จากการปฏิบัติจริงครับ..
  4. หลักการที่ผมได้จากประสบการณ์ คือ ผมจะต้องซื้อหุ้น (สหกรณ์) เพิ่มทุกรอบ ก่อนการกู้เงินครั้งใหม่
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท