โรงเรียนชาวนาสุพรรณบุรี


ชาวนานักจัดการความรู้

วันที่ ๕-๗ ก.ค. นี้ สคส. จัดรายการ "KM สัญจร" ไปเยี่ยมชมกิจกรรม KM ใน ๕ จังหวัด คือ สุพรรณ นครสวรรค์ ตาก พิจิตร และพิษณุโลก เราจะเอาเรื่องย่อของกิจกรรมที่เราจะไปเยี่ยมชมมาลงเพื่อแบ่งปันความรู้

เรื่องแรกคือเรื่องชาวนานักจัดการความรู้ที่สุพรรณบุรี

โรงเรียนชาวนาสุพรรณบุรี : บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

โครงการส่งเสริมการจัดการความรู้เรื่องการทำนาข้าวในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน มีแนวทางการดำเนินงานโดยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาตัวเกษตรกรเอง เจ้าหน้าที่มูลนิธิข้าวขวัญเป็นเพียง “คุณอำนวย” ให้เกิดเวที ความรู้ แต่ผู้ที่ศึกษา และนำไปปฏิบัติจริง เกิดผลจริงคือตัวเกษตรกรหรือ “คุณกิจ” เกิดเป็นเครือข่ายชาวนา โดยมีชาวนาในพื้นที่ อ.อู่ทอง อ.ดอนเจดีย์ อ.บางปลาม้า และ อ.เมืองเป็นเป้าหมายหลัก การดำเนินงานเริ่มจากเวทีตั้งโจทย์ ระดมสมองทบทวนสถานการณ์การทำนาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เมื่อเกษตรกรชาวนาได้ระดมปัญหา จนกระทั่งเห็นปัญหาต่างๆ ร่วมกัน จึงเห็นพ้องกันที่จะเปลี่ยนปแลงตนเองไปสู่วิถีชีวิตและการผลิตที่ดีขึ้น จึงร่วมกันกำหนดเป้าหมายและทิศทางที่จะเป็นทางออกร่วมกัน ในเวทีตั้งเป้า
กิจกรรมในโรงเรียนชาวนา มี 3 หลักสูตรคือ การกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี, การปรับปรุงบำรุงดิน และ การพัฒนาพันธุ์ข้าว ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไป 2 หลักสูตรแล้ว สรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้

หลักสูตรการกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี

<table border="1" cellspacing="0" cellpadding="0">

ก่อนเรียน
หลังเรียน
1. ต้นทุนการทำนาสูง 3,000 3,500 บาท/ไร่
1. ลดต้นทุนได้เหลือ 750 1,300 บาท/ไร่
2. มีความรู้ด้านเทคนิคเกษตรน้อย
2. มีความรู้นำมาใช้ประโยชน์ได้จริง ได้แก่ การล้มตอซัง การใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง (ทำเอง) ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การคัดเลือกพันธุ์ข้าว การเรียนรู้เรื่องแมลง การใช้สมุนไพรทดแทนสารเคมี การดำนาต้นเดียว
3. ไม่สนใจเรื่องเงิน , รายละเอียดมากนัก
3. มีความละเอียด ปรานีตในการทำนามากขึ้น รอบคอบมากขึ้น ในการบันทึกรายรับ รายจ่าย
4. ตัวใครตัวมัน
4. สมานสามัคคีมากขึ้น รักกัน ช่วยเหลือกันมากขึ้นมีเครือข่ายมากขึ้น มีเพื่อที่มีความคิดเดียวกัน
5. ไม่มีเวลา
5. มีเวลามากขึ้น อยู่กับครอบครัว ช่วยเหลือชุมชนมากขึ้น ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง
6. สิ่งแวดล้อมแย่
6. ดินดี น้ำสะอาด อากาศไม่เหม็น มีอาการธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น
7. สุขภาพไม่ดี
7. สุขภาพการดีขึ้น เจ็บป่วยน้อยลง มีความสุขมากขึ้น สุขภาพจิตดีขึ้นมาก
8 มีหนี้สินเพิ่มขึ้น
8. หนี้สินไม่เพิ่ม และส่วนใหญ่สามารถชำระหนี้สินให้เหลือน้อยลง
9. พิธีกรรม วัฒนธรรมข้าวหายไป
9. ฟื้นฟูพิธีกรรม วัฒนธรรมข้าวขึ้นมา รู้สึกรักและเคารพแผ่นดิน และข้าว (แม่โพสพ) มากขึ้น

</table>

หลักสูตรการปรับปรุงบำรุงดิน

กิจกรรมนี้ได้องค์ความรู้ในเรื่ององค์ประกอบของดิน ชนิดของดิน กระบวนการพัฒนาดิน การสังเกตดินดี ดินไม่ดี และวิธีตรวจวัดอย่างง่าย นอกจากนี้ยังมีการประสานความร่วมมือกับภาควิชาการและหน่วยงานราชการ เช่น แยกเชื้อจุลินทรีย์ในใบไผ่ โดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พบว่ามีเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จำนวนมาก ประสานความร่วมมือกับ อบต. และผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อร่วมกันพัฒนาพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ให้เป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์ตามนโยบายเร่งด่วนของจังหวัด (ชาวนา และคุณอำนวยร่วมเป็นวิทยากรเผยแพร่การจัดการความรู้)

อย่างไรก็ตามโครงการฯ พบว่ามีปัญหาอุปสรรคในหลักสูตรนี้หลายประเด็นด้วยกันคือ พื้นที่ทำนาไม่ได้พักเพื่อหมักฟางตามข้อตกลง เนื่องจากภาวะแห้งแล้งไม่มีน้ำ,วัตถุดิบในการรทำปุ๋ยหมัก เช่น กากน้ำตาล หายากมากขึ้น ราคาแพง, นักเรียนบางคนมาไม่ต่อเนื่อง, นักเรียนยังคงใช้ปุ๋ยเคมีอยู่ ซึ่งโครงการฯ ได้หารือร่วมกับนักเรียนชาวนาแล้วสรุปได้ว่าจะแก้ไขโดย เรียนหลักสูตรปรับปรุงบำรุงดินซ้ำในทุกพื้นที่, ร่วมกันหาวิธีแก้ไขปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ, การใช้ปุ๋ยหมักให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด, การจัดตั้งและจัดการกองทุนปุ๋ย

เมื่อนักเรียนชาวนาได้เรียนหลักสูตรที่ 2 การปรับปรุงบำรุงดินซ้ำแล้ว จึงจะผ่านไปเรียนหลักสูตรที่ 3 คือ การพัฒนาพันธุ์ข้าว

วิจารณ์ พานิช

๒๘ มิ.ย. ๔๘

</strong>

หมายเลขบันทึก: 540เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2005 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2015 11:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
การทำเกษตรกรรมปัจจุบัน ไม่สามารถคิดแยกส่วนได้เพราะทุกส่วนของระบบต้องพึ่งพิงซึ่งกันและกัน  การคิดแบบแยกส่วนเช่นการทำนาตามหลักสูตรที่คิด  ก็จะไปพบปัญหาเรี่องเกษตรกรขาดวัตถุดิบในการทำปุ๋ยหมักกากนำตาลแพง ต้องซื้อหัวเชื้อจุลินทรีย์  ทำไห้เกษตรกรขาดความมั่นใจและความมุ่งมั่น  ก็จะกลับไปใช้เคมีอีก  จึงต้องให้เกษตรกรเข้าใจทั้งระบบ  และเริ่มดำเนินการไปจากผู้ที่มีความพร้อม โดยอย่าคาดหวังความสำเร็จเร็วเกินไป  และให้ผู้มีความพร้อมเป็นศูนย์การเรียนรู้ของกลุ่ม  และขยายออกไปเป็นกล่มใหญ่มากขึ้น  ทั้งนี้แนวคิดทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ  คือแนวทางการอยู่รอดของเกษตรกรไทยเป็นหนทางที่แท้จริง

สอบถามว่าทุกวันนี้ยังมีการสอนอยู่ไหมครับพอดีสนใจ..ติดต่อยังไงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท