วาทกรรมกับรายการ Thailand's Got Talent ตอนที่ 1 ความหมายของวาทกรรม


วันก่อนผมได้ดูรายการนี้ เห็นคนวิจารณ์เรื่องนี้กันมากในทำนองว่าเหยียดหยามคนหนึ่่งซึ่งน่าจะเป็นคนไม่ปกติ ผมจึงคิดเรื่องนี้อีกครั้ง จึงพบว่าถ้าเราใช้แนวคิดของฟูโกต์มาอธิบายเรื่องนี้น่าจะทำได้ ก่อนอื่นเราต้องมาหาก่อนว่าสิ่งที่ฟูโกต์ใช้ในการวิเคราะห์คืออะไร นั่นคือเราต้องพูดถึงวาทกรรมว่าคืออะไร

ความหมายของวาทกรรม

     จากการศึกษางานของฟูโกต์พบว่าวาทกรรมมี2 ความหมาย 1. วาทกรรม หมายถึงระบบ และกระบวนการในการสร้าง/ผลิต (Constitute) เอกลักษณ์/อัตลักษณ์(Identity) และความหมาย (Significance) ให้กับสรรพสิ่งต่าง ๆ ในสังคมที่ห่อหุ้มเราอยู่ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความจริงอำนาจ หรือตัวตนของเราเอง นอกจากนั้นแล้ววาทกรรมยังคงทำหน้าที่ตรึงสิ่งที่สร้างขึ้นมานั้นให้ดำรงอยู่และเป็นที่ยอมรับของสังคมในวงกว้าง (Valorize) จนกลายเป็นวาทกรรมหลัก (DominantDiscourse) ขึ้นมาในสังคม และยังมองว่า 2. วาทกรรมคือระบบที่ทำให้การพูด/การเขียนถึง (รวมทั้งการปฏิบัติ) ในเรื่องต่าง ๆในสังคมหนึ่ง ๆ เป็นไปได้ เพราะวาทกรรมจะเป็นตัวกำหนดกฎเกณฑ์ เงื่อนไข และกลไกต่างๆ ในการพูด การเขียน (รวมทั้งการปฏิบัติ) ในเรื่องราว/ในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยจากที่กล่าวมาในข้างต้นนั้น  จะ ทำให้ราเห็นว่า วาทกรรมนั้นเป็นมากกว่าเรื่องของภาษาคำพูด หรือถ้อยแถลงอย่างที่มักนิยมเข้าใจกันแต่วาทกรรมนั้นมีสิ่งที่เรียกว่าเป็นภาคปฏิบัติการจริงของวาทกรรม (DiscursivePractices) ในรูปแบบต่าง ๆ อยู่ ซึ่งรวมถึงจารีตปฏิบัติ ความคิดความเชื่อ คุณค่า และสถาบันต่าง ๆ ในสังคมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ ด้วยโดยสรุปวาทกรรมต้องมี 1. ระบบและกระบวนการในการสร้าง/ผลิต (Constitute)เอกลักษณ์/อัตลักษณ์ (Identity) และความหมาย (Significance)ให้กับสรรพสิ่งต่าง ๆ ในสังคมที่ห่อหุ้มเราอยู่และ 2.ต้องมีภาคปฏิบัติการของวาทกรรมด้วย หมายถึงมันต้องมีการปฏิบัติเพื่อทำให้ระบบกระบวนการในการสร้างผลิตอัตลักษณ์และความหมายดำรงอยู่ได้อาจอยู่ในรูปของระเบียบประเพณี กฎกฎเกณฑ์หรือกฎหมาย ฯลฯ ดังที่ฟูโกต์ได้ให้ความสำคัญกับวาทกรรมที่เป็นเฉพาะด้านที่สำคัญในสังคมนั้นๆเช่นวาทกรรมของบรรดาผู้เชี่ยวชาญในแขนงวิชาต่างๆ ที่ทำการกำหนดขอบเขตสิ่งที่พูดสิ่งที่ศึกษา จะพูดอย่างไร พูดเรื่องอะไร ใครเป็นผู้พูด เช่น แพทย์มีอำนาจความชอบธรรมในการพูดถึงความเจ็บป่วย สุขภาพอนามัยหรือถ้าเป็นเรื่องกฎหมายก็จะต้องเป็นทนายความ อัยการ หรือผู้พิพากษา เป็นต้น

อย่างไรก็ตามเอกลักษณ์และความหมายในความคิดของฟูโกต์นั้นเป็นเรื่องของการใช้อำนาจและความรุนแรงเข้าไปบังคับยัดเยียดให้เป็นของวาทกรรมชุดหนึ่งและขณะเดียวกันวาทกรรมดังกล่าวนั้นก็จะเก็บกด บดบัง ปิดกั้น ขจัดหรือทำลายมิให้สิ่งที่แตกไปจากเอกลักษณ์และความหมายของสิ่งที่วาทกรรมนั้นสร้างขึ้นมาปรากฏตัวขึ้นมากกว่าเป็นเรื่องของการผูกติดกันอย่างเหนียวแน่นของคุณสมบัติเฉพาะ(Attributes)บางอย่างในตัวของสิ่งเหล่านั้นเองที่ทำให้เป็นอยู่อย่างที่เข้าใจกัน เช่น อวัยวะเพศกับความเป็นชายหรือกับความเป็นหญิง บัตรประจำตัวประชาชน (Identification Card) และหนังสือเดินทาง (Passport) กับความเป็น พลเมืองเหล่านี้เป็นต้น

  แม้ว่าการวิเคราะห์วาทกรรมจะสนใจที่อำนาจ การเข้าควบคุมครอบงำ กำกับ ปิดกั้น แต่การศึกษาวาทกรรมจะต้องค้นหา แสดงให้เห็นถึง การต่อต้านขัดขืน ต่อรอง ไม่ยอมตามอำนาจ หรือการปะทะประสาน (articulation) ต่ออำนาจนั้น ดังนั้นวาทกรรมหลักที่มีอิทธิพลครอบงำควบคุม จึงไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถเข้าจัดการความคิดการกระทำของผู้คนในสังคมได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดหากแต่ในการภาคปฏิบัติการของวาทกรรม (discursive practice) เต็มไปด้วยความเคลื่อนไหวการปะทะประสาน การเจรจา การยอมตาม ประนีประนอม และการแข็งขืนซึ่งแตกต่างกันไปในพื้นที่ และเวลา

  โดยสรุปฟูโกต์ได้ให้คำนิยามของ “อำนาจ” แตกต่างจากที่เคยเข้าใจกันมาโดยสิ้นเชิง กล่าวคืออำนาจไม่ใช่แรงที่ใช้บังคับ แต่ทว่าเป็นกลวิธีเกี่ยวกับการทำหน้าที่แบบต่างๆ (Poweris a strategy attributable to functions, disposition, manueur tactic technic) การเปลี่ยนมุมมองจากเดิมที่มุ่งศึกษาเพื่อหาคำตอบว่า “อำนาจคืออะไร” มาสู่ “อำนาจมีปฏิบัติการอย่างไร” ทำให้วัตถุเป้าหมายของการศึกษาย้ายจากบุคคลหรือสถาบันที่เป็นทางการไปสู่การศึกษาถึงปฏิบัติการของ “อำนาจเล็ก ๆ” ที่โลดแล่นแสดงตนอยู่ในระดับวิถีปฏิบัติของชีวิตประจำวันในแต่ละบุคคล ซึ่งความสัมพันธ์ในวิถีชีวิตประจำวันทั้งหมดล้วนดำรงอยู่และดำเนินไปภายใต้การถูกครอบคลุมจากโครงข่ายแห่งอำนาจ จึงเป็นความสัมพันธ์ของอำนาจที่เกิดขึ้นเฉพาะที่(local relation of power) หรือที่เรียกว่า “อนุภาคของอำนาจ” (micro physic of power) อำนาจนี้นั้นไม่ได้เกิดมาจากมิติเศรษฐกิจ-การเมืองเท่านั้น หากแต่เป็นเครือข่ายเล็กๆที่กระจายตัวในที่ต่างๆ(Indefinite network-micro-power) กล่าวคืออำนาจไม่ใช่เรื่องที่นายทุนกระทำแก่คนงานหรือรัฐกระทำแก่ประชาชนเท่านั้นดังที่ชาวมาร์กซิสต์เชื่อหากแต่เป็นเรื่องที่คนทุกคนต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับอำนาจไม่ในทางใดก็ทางหนึ่งนั่นก็คือถ้าไม่เป็นผู้ใช้อำนาจก็ต้องเป็นผู้ถูกใช้อำนาจและการนำเสนอที่เดินสวนทางกับความเข้าใจที่เคยมีมาเกี่ยวกับอำนาจก็คือฟูโกต์เสนอว่าอำนาจไม่เพียงแต่เก็บกดเท่านั้นหากแต่ยังสร้าง (creat) อีกด้วย และสิ่งสำคัญที่อำนาจสร้างขึ้นมาก็คือ “ความจริง” หน้าที่สำคัญของอำนาจจึงเป็นการสร้างความจริง(Truth Production)เพราะฉะนั้นสิ่งที่คนมีอำนาจพูดจึงเป็นความจริงเสมอดังที่ฟูโกต์ได้พิสูจน์ให้เห็นอำนาจของแพทย์ นักวิชาการ การจิตวิทยา สถานพยาบาลตำรวจ กฎหมาย ฯลฯ ในการความจริงเกี่ยวกับสุขภาพความปลอดภัยระเบียบ การศึกษา และอื่นๆ

หนังสืออ้างอิงไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร.วาทกรรมการพัฒนา: อำนาจความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น. สำนักพิมพ์วิภาษา:กรุงเทพฯ

กฤษณ์  จันทร์ทับ.บทความวิเคราะห์ มิเเช็ล ฟูโกต์ :ร่างกายใต้บงการปฐมบทแห่งอำนาจในวิถีสมัยใหม่. http://www.artsedcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539325313&Ntype=9  เข้าถึงเมื่อวันที่5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

WeerapongWorrawat. บทที่ 2 วาทกรรมกับการวิเคราะห์วาทกรรม.http://worrawat.exteen.com/20071128/2-discourse-and-discourse-analysis เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Sila Phu-Chala.“วาทกรรม” คำนิยมร่วมสมัยของ Foucault.http://www.gotoknow.org/posts/469291  เข้าถึงเมื่อวันที่5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ถิรนัย อาป้อง. อำนาจ: ว่าด้วยมโนทัศน์ทางแนวคิดทฤษฎี.http://chornorpor.blogspot.com/2011/09/blog-post_22.htmlเข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร. มิเชล ฟูโกต์: วาทกรรม อำนาจ ความรู้.http://www.ajarnjak.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=67616&Ntype=4เข้าถึงเมื่อวันที่ 5มิถุนายน พ.ศ. 2556

ไม่มีชื่อผู้เขียน.ทางบ้านไม่สอน "จรรยาบรรณ" TGT+ เสี่ยตาเรียกเรตติ้งฆ่า “เอมเมอรัล” ทั้งเป็นบนเวที

http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9560000068959  เข้าถึงเมื่อวันที่5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

 ไม่มีชื่อผู้เขียนสับเละ! กรณี 'สิทธัตถะ เอมเมอรัล'จริยธรรมรายการโชว์..อยู่ไหน?

http://www.mgronline.com/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000066730


หมายเลขบันทึก: 539480เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2013 09:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2013 09:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณสำหรับข่าวสารข่าวนี้ครับอาจารย์

ผมไม่ชมรายการนี้ จึงไม่ทราบ ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท