วิธีป้องกันโรคอ้วน+ทรัพย์จางจากบัตร



Yahoo Finance ตีพิมพ์บทความจาก The Atlantic & Reuters เรื่อง 'Yes, Credit cards are making you a bad person' = "ใช่, บัตรเครดิตกำลังทำให้คุณ กลายเป็นคน) เลว", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

ทุกวันนี้อะไรๆ (รวมทั้งเงิน) กลายเป็นดิจิตอลมากขึ้นเรื่อยๆ

.

สวีเดนประกาศจะก้าวเข้าสู่ "ประเทศไร้เงินเป็นตัวตน (cashless country)" โดยจะใช้เงินในรูปดิจิตอล แทนเงินเป็นแผ่น (ธนบัตร / แบงค์) หรือเหรียญให้ได้ ภายใน 20 ปี

คนอาฟริกาก็โอนเงินดิจิตอลผ่านโทรศัพท์กันได้ ทั้งๆ ที่ส่วนใหญ่ไม่มีบัญชีในธนาคาร

.

ช่วงปี 1970s = 1970-1979/2513-2522 คนอเมริกันมีบัตรเครดิตน้อยกว่า 20%

ปีนี้ (2556) คนอเมริกัน 70-80% มี "แผ่นหนี้พกพา" พร้อมใช้รูดปรื๊ดปร๊าด

การศึกษาที่ผ่านมานับร้อยๆ รายงานพบว่า คนเรามีแนวโน้มจะใช้เงินมากขึ้นเมื่อใช้ผ่านบัตร (มากกว่า 'cash and coins' = ธนบัตร หรือเหรียญ)

กลไกที่เป็นไปได้ คือ "ความฝืด (friction)" ในการจ่ายเงินน้อยลง เมื่อคนเราไม่เห็นการสูญเสียวัตถุสิ่งของ (ธนบัตร หรือเหรียญเงิน)

.

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า แผ่นหนี้พกพาทำให้คนส่วนใหญ่มีแบบแผนในการใช้เงินเปลี่ยนไปดังนี้

(1). จ่ายมากขึ้น
.
(2). จ่ายกับร้านค้าเฉพาะอย่างมากขึ้น เช่น สั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ร้านค้าที่มีสินค้าเฉพาะอย่าง แฟชั่น แกดเจ็ท (gadget = อุปกรณ์อีเล็คโทรนิคส์ขนาดเล็ก พกพาได้) ฯลฯ
.
(3). จ่ายเงินเป็นค่าอาหารนอกบ้านมากขึ้น เข้าร้านอาหาร-ภัตตาคารมากขึ้น
.
(4). ทิป (tips) ให้พนักงานต้อนรับที่ร้านอาหารมากขึ้น
.

CNN กล่าวไว้ในเรื่อง 'Middle east embraces U.S. brands' ว่า ธรรมชาติของคนยุคนี้ คือ 'shopping on their seats' มากขึ้นเมื่อเทียบกับ 'shopping on their feet' = นั่งช็อป (ออนไลน์) มากขึ้น, เดินช็อปน้อยลง [ CNN ]

  • [ embrace] > [ เอ่ม - เบร้ซ - s/สึ (เสียงพ่นลม เบา สั้น) ] > http://www.thefreedictionary.com/embrace > verb = กอด; noun = การกอด การยอมรับ-เข้าร่วมอย่างเต็มใจ
  • คำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า > em- = in = เข้าไปใน; brace = two arm = แขนสองข้าง; รวม = เข้าไปในแขนสองข้าง = กอด

.

บัตรเครดิตทำให้คนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปดังนี้

.

(1). จ่ายมากขึ้น

การศึกษาจาก MIT สหรัฐฯ ในปี 2544 พบว่า คนเรามีแนวโน้มผ่านบัตรมากกว่าผ่านเงิน (ธนบัตร เหรียญ) มากเกือบ 2 เท่า

ศ.ดิลิพ ซอแมน จากมหาวิทยาลัยโคโลราโด, โบวเดอร์ สหรัฐฯ กล่าวว่า การใช้เงินเป็นใบๆ หรือเป็นเหรียญ ทำให้คนเราต้องนับ

การนับเงินทำให้สมองส่วนใช้เหตุผล หรือสมองซีกซ้ายทำงานมากขึ้น

สมองซีกซ้ายที่ทำงานในช่วงจับเงิน - หยิบเงิน - นับเงิน จะทำให้สมองซีกขวา ซึ่งเป็นส่วนใช้อารมณ์-ความรู้สึกทำงานน้อยลง

กระบวนการดังกล่าวทำให้เกิด "แรงเสียดทาน (friction)" ในการใช้เงินมากกว่าการใช้บัตร

.

(2). ลืม (เรื่องจ่ายเงิน) มากขึ้น

การได้ "จับเงิน - หยิบเงิน - นับเงิน" ทำให้คนเรา "จำได้" ว่า จ่ายเงินไปเท่าไรแล้ว ทำให้เกิดความรู้สึกเสียดาย และจ่ายเงินน้อยกว่าการใช้บัตร

.

(3). อ้วน - น้ำหนักมากขึ้น

การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารวิจัยผู้บริโภค (J Consumer Research) ปี 2011/2544 ทำโดยการตรวจสอบการจับจ่ายสินค้าในตะกร้า-รถช็อปปิ้ง

ผลการศึกษาพบว่า บัตรเครดิตทำให้คนเราซื้อของกินที่ไม่ดีกับสุขภาพ ประเภท "หวาน-มัน-เค็ม" มากขึ้น

กลไกที่เป็นไปได้ คือ การจ่ายเงินเป็นตัวตน (ธนบัตร เหรียญ) ทำให้สมองซีกซ้ายที่ใช้เหตุผลทำงานมากกว่าการใช้บัตร

การ "หยิบ - จับ - นับ" เงินเป็นตัวตนกระตุ้นสมองซีกซ้ายที่ใช้เหตุผล ทำให้เกิดความเสียดาย หรือความเจ็บปวดจากการจ่ายเงิน (pain of paying with cash)

ความเจ็บปวดนี้ทำให้คนเราเกิดการยับยั้งชั่งใจมากขึ้น ใช้เหตุผลในการเลือกซื้อมากขึ้น โดยเฉพาะการเลือกอาหารที่ดีกับสุขภาพมากขึ้น ลดการซื้อของกินประเภท "หวาน-มัน-เค็ม"

.

(4). ทำให้คนไมมีบัตรจ่ายเพิ่มแบบไม่รู้ตัวมากขึ้น

ร้านค้าที่รับบัตรเครดิตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมให้บริษัทบัตร เช่น 1-5% ของยอดขาย ฯลฯ ทำให้รายได้จริงลดลง

วิธีที่ร้านค้าส่วนใหญ่ทำ คือ คิดค่าธรรมเนียมนี้เป็นรายจ่ายรวม ทำให้ราคาสินค้าหรือบริการแพงขึ้นเล็กน้อย ไม่ว่าลูกค้าจะจ่ายเป็นเงิน หรือใช้บัตร

เรื่องนี้ทำให้คนที่ไม่ได้ใช้บัตรต้องจ่ายมากขึ้นแบบไม่รู้ตัว

.

วิธีที่จะทำให้คนเราใช้บัตรอย่างรอบคอบขึ้นมีหลายวิธี เช่น เลือกใช้บัตรแบบจ่ายเต็มทุกเดือน ไม่จ่ายบางส่วนซึ่งจะต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ฯลฯ

วิธีหนึ่ง คือ กระตุ้นสมองส่วนใช้เหตุผล หรือสมองซีกซ้ายให้มากขึ้น เช่น ถ้าไปซื้ออะไร... ให้พกเงินสดไปด้วย

ตอนช็อปจริงๆ ให้จดราคาใส่กระดาษ คิดค่าใช้จ่ายรวม ซึ่งถ้าทำแบบเป็นตัวเป็นตน (analog) เช่น คิดในกระดาษ ฯลฯ จะทำให้สมองส่วนใช้เหตุผลทำงานได้มากกว่าใช้เครื่องคิดเลข

คิดแล้ว "อย่านิ่งดูดาย" หรืออยู่เฉยๆ อีกต่อไป

.

ให้หยิบเงินสดออกมานับให้เท่ากับค่าใช้จ่ายรวม แล้วถามใจเราว่า จ่ายมากขนาดนี้คุ้มไหม

ถ้ารู้สึกเสียดายเงิน... ให้หยิบของบางชิ้นออกไปคืนที่ชั้นวางของ

การเดินเพิ่มจะทำให้เราได้ออกกำลังมากขึ้น สุขภาพดีขึ้นด้วย

ทำอย่างนี้บ่อยๆ อาจช่วยคุณประหยัดได้ไม่น้อยทีเดียว

หมายเลขบันทึก: 539231เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2013 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2013 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

รูดปุ๊ป หนี้ มา ปั้ป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท