เยอรมัน ญี่ปุ่น สอนใจไทย (เฮ้อ..ประเทศไทย ๒)


เยอรมัน ญี่ปุ่น สอนใจไทย

สิ่งที่ผมสังเกตเห็นประการหนึ่งในระหว่างทัศนศึกษาต่างประเทศคือ ญี่ปุ่น เยอรมัน สองประเทศแพ้สงครามโลกนี้ มีอะไรเหมือนกันและร่วมกันกับไทย คือ เขาเป็นประเทศอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ ส่วนเราเป็นประเทศนิยมบริโภครถยนต์ แพงอย่างไรก็ต้องซื้อมาประดับเกียรติให้ได้ จึงไม่แปลกอะไรที่เสมียนเงินเดือน 1.5 หมื่น จะซื้อรถคันยาวราคา 5 แสนมาขับกันจนรถติดและเป็นหนี้กันเต็มประเทศ

ลองคิดดู โดยไม่ต้องหักภาษี ไม่ต้องกิน ต้องใช้อะไรเลย พวกเขาจะต้องใช้เงินเดือนถึงประมาณ 33 เดือน กว่าจะซื้อรถได้หนึ่งคัน ส่วนในญี่ปุ่น เยอรมัน ผมเคยคำนวณไว้ว่าเสมียนเขาจะใช้เงินประมาณ 4 เดือนก็ซื้อรถยนต์ได้หนึ่งคันแล้ว (ยิ่งใน usa เพียง 2 เดือนก็ซื้อได้แล้ว เพราะภาษีรถยนต์ถูกกว่าในยุโรปและญี่ปุ่นมาก ....มาตรการทุนนิยมเมกา) 

แต่ที่น่าแปลกคือ คนในประเทศญี่ปุ่น และ เยอรมัน ที่แสนเก่งและแสนรวย ที่ผลิตรถยนต์มาขายเรา กลับนิยมใช้รถยนต์คันเล็กนิดเดียว ยิ่งในเยอรมันที่คนเขาก็ตัวใหญ่กว่าเรามาก แต่กลับใช้รถยนต์คันเล็กกว่าเรามาก (ในญี่ปุ่นก็เล็กกว่าเรามากแล้ว แต่ก็ยังใหญ่กว่าเยอรมัน หมายความว่าเยอรมันเขาใช้รถจิ๋ว กลายเป็นรถแคระไปเลย) 

แสดงว่าพวกเขานั้นประหยัดมาก (และฉลาดมาก) แม้ผลิตรถได้เองแต่กลับใช้คันเล็ก ส่วนรถคันใหญ่ๆ แพงๆ ผลิตเอามาหลอกขายให้คนจนหน้าใหญ่ใจโตแบบคนไทยใช้

นอกจากนี้พวกเขายังถีบจักรยานกันมาก ถ้าระยะทางต่ำกว่า 5 กิโล พวกเขาจะถีบจักรยานกันหมดก็ว่าได้ ถ้าภายใน 1 กิโลก็ใช้การเดิน ส่วนเราถ้าเกิน 100 เมตร ก็ต้องขับรถกันแล้ว คงเพราะกลัวตีนแดงๆของผู้ดีไทยมันจะด้านกระมัง ทั้งที่ต้องไปกราบตีนบริษัทญี่ปุ่น เยอรมันเพื่อของานพวกเขาทำตามนิคมอุตสาหกรรมอยู่จนทุกวันนี้ ใส่สูตผูกไทชูคอขับรถคันโตโก้กันเต็มไปหมดทั้งประเทศ

ส่วนคนบ้านนอกไทยเรายากจนเข็ญใจอย่างไรก็ต้องถอยมอไซเอามาเชิดหน้าให้ได้ ในขณะที่เศรษฐีเยอรมันถีบรถจักรยานกันเป็นจำนวนมาก 

...คนถางทาง (เขียนไว้เมื่อ คศ .๒๐๐๙)

หมายเลขบันทึก: 539069เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2013 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2013 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แต่ถ้าแดดเปรี้ยง ๆ ร้อนขนาดบ้านเราเห็นทีจะปั่นจักรยานไม่ไหวนะสิคะ 

คุณฝนฯ ครับ ที่ม.ผม  มีคนปั่นจักรยานเป็นประจำหลายคน คืออาจารย์คร้บ ระยะทางประมาณ ๓ โล  จากบ้านมาที่ทำงาน  ผมเองก็ปั่นบ่อยๆ  แต่ไม่ทุกวัน  แต่ที่ลำบากคือ  หนทางมันไม่ค่อยอำนวย มีร่อง มี คู มากมาย

จะว่าไป เพราะเราไม่เคยปลูกฝั่ง และไม่เคยยินดียินร้ายกับเรื่องพวกนี้ มันเลยเป็นปัญหา และอีกอย่างการตั้งกลุ่มการต่าง ๆ มันยากโครตครับ และการส่งเสริมมันน่าจะมีน้อย โดยรวมผมก็น่าจะทำได้คนหนึ่งละ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท