พระซุ้มกอ สภาพเดิมๆ จากกรุ


ที่สุดของการศึกษาเรื่องพระกรุ คือการศึกษาและได้เห็นสภาพเดิมๆของพระที่อยู่ในกรุ

ที่น่าจะหายากมาก เพราะความ "มือบอน" ของนักเล่นพระ ที่ถือวิสาสะ ว่า สมบัติของโลกชิ้นต่างๆที่ครอบครองอยู่นี้ เป็นของตนเอง

เลยถือโอกาสทำลาย ด้วยการล้างทำความสะอาดตามความคิดของตนเอง หรือนำไปใช้จนสึกกร่อน

โดยหารู้ไม่ว่า นั่นคือการทำลายหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของโลก

ดังนั้น กว่าจะเจอสักชิ้น ที่น่าจะมีสภาพเดิมๆจริงๆนั้น ยากจริงๆ

แม้ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติก็ยังไม่มีให้ชม ให้ศึกษา

พระซุ้มกอ พิมพ์ขนมเปี๊ยะองค์นี้ ผมได้มาจากกองพระเหมา

ที่เจ้าของสุดท้ายก่อนจะมาถึงผมนั้นเป็นระดับผู้ใหญ่ในกรมทางหลวง ที่เสียชีวิตไปหลายปีแล้ว ทิ้งสมบัติกองนี้ไว้ให้ลูกสาว

 

ลูกเขยที่ชอบเล่นการพนัน ดูพระไม่เป็น ได้นำออกมาให้ผมเหมาชุดย่อยๆ ที่ได้พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะมาหลายองค์ แต่มีองค์เดียวที่เลี่ยมพลาสติกมา นอกนั้นเป็นพระองค์เปล่าๆ ล้างมาเรียบร้อย ผมต้องรีบหาตลับใส่ เกรงผิวจะเสียมากกว่าเดิม

ด้านหลังโดยล้างนิดหน่อย ยังเหลือสภาพเดิมๆให้ดูนิดหน่อย

คราบกรุแทบไม่เหลือ คราบน้ำว่าน ยังเหลือให้ดูพอสมควร

ก้อนน้ำว่านที่วงการเรียก "เม็ดไข่ปลา" ยังสวย มีคราบกรุนิดหน่อย

นี่แหละครับ ผิวเดิมๆ ที่เขาพูดกัน แต่ไม่เคยมีของจริงให้ดู

วันนี้ผมนำมาใช้ชมแล้วครับ มีองค์นี้แหละสวยที่สุด

 

อิอิอิอิอิอิอิ


 

หมายเลขบันทึก: 538577เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2013 08:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2013 08:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอชื่นชมบารมีอาจารย์ สวัสดีครับ ขอบคุณครับ

อิอิอิ ผมแค่จะบอกว่า แม้มีของแท้ ผมก็ยังดูไม่เป็นนะครับ อิอิอิอิอิอิ


 

เป็นบุญตาครับ ได้แล้วความรู้เพิ่มเติม

มีรูปดูมีคำสอนประกอบการ

มีอาจารย์ผู้รู้สู่คำตอบ

มีความเห็นให้ระวังฟังรอบคอบ

ขอขอบพระคุณอาจารย์คลานกราบ.....เอยฯ

อาจารย์คับถ้าแบบแห้งสนิทคือไม่ใช่ใช่ใหมคับ

ผมว่าน่าจะเป็นปัญหาการใช้คำมากกว่าครับ

คำว่า แห้งสนิท เป็นคำที่ความหมายกว้างมาก

เหมือน Dry wine ก็รู้เฉพาะนักดื่มไวน์เท่านั้น

พอมาถึงเนื้อดินดิบ ก็จะมีแห้งสนิมแบบดินดิบ

ดินเผาก็แห้งสนิทแบบดินเผา

ว่าน ก็มีแห้งสนิทแบบว่าน

ฯลฯ

งานนี้ผมตอบไปอย่างมากก็ถูกครึ่งเดียว

 

ขอไม่ตอบครับ


 

ถามอาจารย์ข้อครับ

1.เรื่องซุ้มกอสีเขียวมอย อาจารย์มีข้อมูลไหมครับ ว่าสีเขียวนั้นเกิดจากเผา หรือเกิดจากว่านผสม หรือเกิดจากเชื้อรา

2.ถ้าซุ้มกอที่เราส่องเนื้อเจอเนื้อตามตำรา เม็ดมะขาม ราดำ อยากทราบว่าถ้าเจอตะกอนแคลเซี่ยมงอกออกมาจากตัวองค์พระเอง(ไม่ใช่แค่แปะนะครับ ผมลองขูดออกมาดูแล้วติดเป็นเนื้อเดียวกันเลย) ก้อนหินปูนนั้นเป็นตัวช่วยบอกอายุความดูง่ายยากไหมครับ

น่าจะเป็นไปได้ทั้งสองแบบ

ถ้าจากการเผาเนื้อจะไม่เสมอกันครับ

อาจารย์เคยทดสอบโดยการใช้แม่เหล็กดูดดูหรือไม่ ถ้ายังก็ลองดู จะสังเกตเห็นว่าจะทำปฏิกิริยาแสดงอาการดูดหรือผลัก  ในตำราโบราณว่ามีมวลสาร(พวกโคตรเหล็กไหล)  แต่ผมว่าน่าจะเป็นแร่เหล็กในเนื้อดินที่นำมาสร้าง เมื่อผ่านความร้อนสูงเหล็กจะหลอมรวมกัน ทำให้เกิดปฏิกิริยากับแม่เหล็ก ไม่ทราบว่าอาจารย์จะมีสมมติฐานอื่นหรือไม่....ด้วยความเคารพทุกท่าน....สวัสดี

ผมว่าดินดิบอย่างมากก็อบเปลวไปนิดหน่อย ความร้อนไม่น่าจะสูงครับ

ถ้าความร้อนสูง น้ำว่านไม่น่าจะเหลือแล้วครับ

เรื่องเหล็กนั้นมีทั้งในดินกำแพงเพชรที่มีเหล็กมาก และยังเพิ่มแร่เฮมาไตท์เข้าไปอีก ถ้ามีแรงดูดจากแม่เหล็กก็ธรรมดาครับ แต่ไม่น่าจะเป้นหลักเกณฑ์อะไร ช่างทำพระเก๊เขาก็ทำได้อยู่แล้ว

 

ดูที่เนื้อและความเก่าน่าจะดีกว่าครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท