หลักสูตรบัณฑิตศึกษา ๒ แบบ



          ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ ๔๗๐ เมื่อวันที่ ๒๐ มี.ค. ๕๖  มีการเสนอหลักการของหลักสูตรปริญญาโท ด้านการศึกษาสำหรับผู้มีความต้องการพิเศษ  และกรรมการท่านหนึ่งได้ให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์มาก ในการขับเคลื่อนให้หลักสูตรการศึกษาเข้าไปใกล้ชิดและรับใช้สังคมไทยมากขึ้น

          ท่านบอกว่าหลักการที่เสนอมา ก็เหมือนกับหลักสูตรอื่นๆ  ที่เป็นหลักสูตรแบบ “เน้นเทคนิค”  (technology-oriented)  คือเน้นการเรียนด้านเทคโนโลยี เพื่อจัดการศึกษาให้แก่ผู้มีความต้องการพิเศษ  ยังมีหลักสูตรอีกแบบหนึ่ง เรียกว่า “เน้นระบบ” (system-oriented curriculum)  คือเรียนทำความเข้าใจ (และสร้างความรู้) เชิงระบบ  ว่าในสังคมไทยมีผู้ต้องการพิเศษด้านการศึกษาเท่าไร ในลักษณะใด  จะพัฒนาบัณฑิตเข้าไปทำงานเพื่อสนองความต้องการของสังคมได้อย่างไร ทั้งเชิงระบบและเชิงเทคนิค


          “วิธีการคือ สำรวจจำนวนผูพิการในชุมชนวามีจำนวนเท่าไร พิการประเภทใดบาง มากน้อยเพียงใด ดูแลกันอย่างไร หากจะใหมีการดูแลที่ดีขึ้น จะตองผลิตบุคลากรประเภทใดบ้าง จำนวนเท่าไร  โดยหลักการ system oriented นั้นสามารถคำนวณกําลังคน และทําใหการจัดหลักสูตรตางๆ สามารถแกปญหาคนทั้งประเทศได


          ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า มหาวิทยาลัยไทยควรพิจารณา จัดให้มีหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และเน้นระบบให้มากขึ้น  และเรียน (สร้าง) เทคนิค/เทคโนโลยี ที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้ในระบบของไทย  มากกว่าเรียนเทคโนโลยีราคาแพงและไม่เหมาะสม



วิจารณ์ พานิช

๑๖ เม.ย. ๕๖



หมายเลขบันทึก: 538399เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2013 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2013 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

I think people resources are far more valuable than "(technological) gadgets".

Besides people are more multi-purpose and long-lasting than machines!

เห็นด้วยว่าควรมีหลักสูตร 2 แบบ ในระดับปริญญาโท

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท