บริจาคเลือดลดเสี่ยงมะเร็ง+โรคหัวใจ


แผนที่ 1: แผนที่โลกแสดงการบริจาคเลือดต่อประชากร 1,000 คนในปี 2008/2551 เรียงจากมากไปน้อยตามแถบสี คือ เขียว_เขียวอ่อน_เหลือง_ส้ม_แดง

สถิติผู้บริจาคเลือดเป็นสถิติที่บ่งชี้ชัดว่า คนในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ แคนาดา ยุโรปตะวันตก ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ ฯลฯ บริจาคเลือดมากกว่าประเทศกำลังพัฒนา

ภาพที่ 2: สถิติผู้บริจาคเลือดต่อประชากร 1,000 คนในปี 2008/2551 ซีกโลกตะวันออก เรียงจากมากไปน้อยตามแถบสี คือ เขียว_เขียวอ่อน_เหลือง_ส้ม_แดง

ถ้ามองเฉพาะเรื่องการบริจาคเลือด, ประเทศไทยอยู่ในแถบสีเขียวอ่อน = 20-20.99 ต่อประชากร 1,000 คน = แนวหน้าของอาเซียน (ไม่นับสิงคโปร์ ซึ่งก้าวไปไกลโพ้นนานแล้ว) = ไทยมีโอกาสก้าวไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วสูงกว่าชาติที่เหลือในอาเซียน

ทางที่จะเป็นไปได้...​ มีทางเดียว คือ จะต้องรักษาความเป็นประชาธิปไตยในไทย เพราะไม่มีประเทศเผด็จการใดที่ก้าวไปสู่ความเป็นประเทศพัฒนาแล้วสำเร็จได้เลย

ถ้ามาเลเซียต้องการก้าวไปสู่ความเป็นประเทศพัฒนาแล้ว... จะต้องรีบบริจาคเลือด เพื่อให้แถบสีเหลืองกลายเป็นเขียวอ่อน และเขียวแก่ให้ได้

ภาพที่ 3: สถิติผู้บริจาคเลือดต่อประชากร 1,000 คนในปี 2008/2551 ซีกโลกตะวันตก เรียงจากมากไปน้อยตามแถบสี คือ เขียว_เขียวอ่อน_เหลือง_ส้ม_แดง

สหรัฐฯ แคนาดา คิวบาบริจาคเลือดมากที่สุดในซีกโลกตะวันตก ทั้งๆ ที่คิวบาจน ซึ่งจะเรียกว่า "จนแต่มีน้ำใจ" ก็ได้

.

คิวบามีระบบสาธารณสุขที่ดีที่สุดชาติหนึ่งในอเมริกากลาง-ใต้ ผลิตพยาบาล-หมอได้เกินใช้ จนต้องส่งออกไปทั่วอเมริกากลาง และมีตัวชี้วัดด้านสุขภาพอื่นๆ ดีกว่าชาติอื่นๆ ด้วย

มีความเป็นไปได้สูงว่า ถ้าคิวบาซึ่งมีสัดส่วนประชากรผิวขาว เชื้อสายสเปนสูง เลิกเป็นเผด็จการทหาร... ประเทศนี้จะเป็นประเทศดาวรุ่งที่มาแรงที่สุดในหมู่เกาะแคริบเบียน และอาจก้าวไปสู่ความเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้ก่อนชาติอื่นๆ

สำนักข่าวเดลีเมล์ หรือเมล์ออนไลน์ ตีพิมพ์เรื่อง 'Donating blood is as good for your health as it is for the receiver' = "(การ) บริจาคเลือดดีกับสุขภาพของคุณ พอๆ กับดีกับผู้รับ", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

การศึกษาใหม่พบว่า การให้เลือด หรือบริจาคโลหิต ลดเสี่ยงโรคหัวใจ (หลอดเลือดหัวใจอุดตัน) และมะเร็ง

ภาพที่ 4: แสดงสัดส่วนเป็นร้อยละของเลือดที่บริจาค (ไม่ใช่เลือดซื้อขาย) จากเลือดทั้งหมด 100% เรียงจากน้อยไปมาก คือ สีแดง_ส้ม_เหลือง_เขียวอ่อน_เขียว

ประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหมดใช้เลือดบริจาค 99-100% (สีเขียว), ประเทศที่ระบบบริการสุขภาพค่อนข้างดีก็มีสีเขียวได้เช่นกัน

.

แถมยังช่วย "เบิร์น (burn)" หรือใช้พลังงาน 650 แคลอรี ต่อการบริจาคเลือด 1 ไปน์​ (imperial pint หรือแบบอังกฤษ = 568 ml./cc.; US pint = 473 ml./cc.)

อังกฤษ (UK) ซึ่งมีประชากรใกล้เคียงกับไทย มีการบริจาคเลือดวันละ 7,000 หน่วย (unit / ยูนิต)

การบริจาคเลือดช่วยนำธาตุเหล็กเก่าในเลือด (เม็ดเลือดแดง) ออกจากร่างกาย

ธรรมชาติของธาตุเหล็กอย่างหนึ่ง คือ ย่อมเกิดสนิม (ทำปฏิกริยากับออกซิเจน)

.

การมีธาตุเหล็กในร่างกายสูงเพิ่มเสี่ยงต่อปฏิกริยาการเติมออกซิเจน (oxidisation / ออกซิไดเซเชิ่น) หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า "ออกซิไดซ์" คล้ายการทำเหล็กให้เป็นสนิม และเสื่อมสภาพ

นักวิทยาศาสตร์พบว่า ธาตุเหล็กที่สูงเกินไป อาจทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้

(1). เลือดแข็งตัวง่ายขึ้น > เพิ่มเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือด หลอดเลือดอุดตัน

(2). ทำให้เลือดมีความข้นหนืด (friction / viscosity) เพิ่มขึ้น > หัวใจต้องออกแรงสูบฉีดเลือดมากขึ้น เลือดไหลเวียนได้ช้าลง

(3). ทำให้ไขมันในเลือด หรือโคเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) ในเลือด และในคราบไขที่เกาะตามผนังหลอดเลือดเสื่อมสภาพ (oxidizing LDL)

ทำให้ผนังหลอดเลือดอักเสบ บวม ขรุขระมากขึ้น > ตีบตันเร็วขึ้น

ภาพที่ 5: แสดงสัดส่วนเป็นร้อยละของเลือดที่บริจาค (ไม่ใช่เลือดซื้อขาย) จากเลือดทั้งหมด 100% ซีกโลกตะวันออก เรียงจากน้อยไปมาก คือ สีแดง_ส้ม_เหลือง_เขียวอ่อน_เขียว

สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทยอยู่ในกลุ่มดีที่สุด คือ สีเขียว

ภาพที่ 6: แสดงสัดส่วนเป็นร้อยละของเลือดที่บริจาค (ไม่ใช่เลือดซื้อขาย) จากเลือดทั้งหมด 100% ซีกโลกตะวันตก เรียงจากน้อยไปมาก คือ สีแดง_ส้ม_เหลือง_เขียวอ่อน_เขียว

.

การศึกษาใหม่ (ตีพิมพ์ใน JAMA) ทำในกลุ่มตัวอย่างผู้ชายที่บริจาคเลือดเป็นประจำทุกๆ 6 เดือน อายุ 43-61 ปี จำนวน 2,682 คน

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นโรคหัวใจ (หลอดเลือดหัวใจอุดตัน) ลดลง 88% เมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้บริจาคเลือด

การศึกษาอีกรายงานหนึ่ง (ตีพิมพ์ใน NCI) ทำในกลุ่มตัวอย่างผู้บริจาคเลือดประจำทุกๆ 6 เดือน จำนวน 1,200 คน

ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริจาคเลือดประจำเป็นมะเร็งน้อยกว่า เสียชีวิตก่อนวัยอันควรน้อยกว่าคนที่ไม่ได้บริจาคเลือด

.

การมีธาตุเหล็กในร่างกายมากเกิน เพิ่มเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง

กลไกที่เป็นไปได้ คือ ธาตุเหล็กที่มีมากเกินพอดี ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ (free-radical) มากขึ้น

หลังบริจาคเลือด, ร่างกายจะมีการปรับตัวสำคัญได้แก่

(1). กักเก็บเกลือและน้ำเพิ่มขึ้นทันที ตามด้วยการสร้างโปรตีน เช่น อัลบูมิน (มีมากในไข่ขาว) ฯลฯ​ เพิ่ม > เพื่อให้ปริมาณน้ำเลือดภายใน 48 ชั่วโมง หรือ 2 วัน

(2). สร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่ม > ภายใน 4-8 สัปดาห์

.

วิธีบริจาคเลือดแบบไม่ให้เพลีย คือ

(1). ดื่มน้ำให้พอเป็นประจำ โดยเฉพาะ 1 วันก่อนบริจาค

(2). ดื่มน้ำผสมผงเกลือแร่ทดแทนที่ใช้รักษาท้องเสีย (ORS) ก่อนและหลังบริจาคเลือด เพื่อให้ปริมาณน้ำเลือดเพิ่มขึ้นได้เร็ว

ถ้าไม่ชอบน้ำผสมผงเกลือแร่ (ORS),​ จะเพิ่มเกลือในอาหารเล็กน้อย หลังบริจาค 1-2 วันก็ได้

(3). การศึกษาในไทยพบว่า ผู้บริจาคเลือดส่วนหนึ่งมีระดับธาตุเหล็กค่อนข้างต่ำ แต่ยังไม่มีภาวะเลือดจาง

พอบริจาคไปหลายๆ ครั้ง จะมีโอกาสพบเลือดจาง หรือเลือดลอย (ความเข้มข้นต่ำลง) ได้

การกินยาบำรุงเลือด 15 เม็ดในผู้ชาย,​ 30 เม็ดในผู้หญิง ต่อการบริจาค 1 ครั้ง มีส่วนช่วยป้องกันภาวะขาดธาตุเหล็กได้

ถ้าไม่ชอบยาบำรุงเลือด, แนะนำให้กินเลือดสุก เช่น เลือดไก่_หมู_เป็ดต้มหรือผัด ฯลฯ ทดแทนได้

.

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, ซาน ดีอาโก สหรัฐฯ คำนวณว่า การบริจาคเลือด 1 ไปน์ 1 ไปน์​ (imperial pint หรือแบบอังกฤษ = 568 ml./cc.; US pint = 473 ml./cc.) ช่วยให้ร่างกายเบิร์น หรือเผาผลาญกำลังงาน = 650 แคลอรี

อังกฤษ (UK) มีผู้บริจาคเลือด 1.3 ล้านคน บริจาคเลือดรวมกันได้ปีละ 2 ล้านยูนิต (หน่วย)

คนที่พยายามชะลอชรา หรือทำตัวให้แก่ช้าทั่วโลกส่วนหนึ่ง ยอมเสียเงินเป็นแสนๆ บาท เพื่อกินยาขับธาตุเหล็กส่นเกินออกไป แต่ไม่ได้บุญอะไรเลย

ทว่า...​ ท่านที่บริจาคเลือดเป็นประจำ อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี จะได้บุญ ได้ขับธาตุเหล็กส่วนเกิน ลดเสี่ยงโรคหัวใจ 88%, ลดโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ลดเสี่ยงมะเร็ง และเผาผลาญกำลังงานไปอีก 650 แคลอรี

.

ทั้งหมดนี้บอกเราว่า การบริจาคเลือดเป็นประจำดีกับผู้รับด้วย ดีกับตัวท่านเองด้วย และ

อัตราการบริจาคเลือด เป็นดัชนีที่มีความสัมพันธ์กับระดับการพัฒนาประเทศด้วย คือ ประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมีคนบริจาคเลือดสูงกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา

ถึงตรงนี้...​ ขอให้ท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

                                                                              

เรียนมาด้วยความเคารพ และขอกราบอนุโมทนาในกุศลเจตนาของทุกๆ ท่าน...​ สาธุ สาธุ สาธุ

นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์​ ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต > CC: BY-NC-SA

 

 

 


หมายเลขบันทึก: 537832เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2013 23:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2013 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท