DPP Thailand : ความก้าวหน้า เดือนพฤษภาคม 2556


ทีมนี้ทำงานด้วยใจ ถึงไม่มีทุนเขาก็ทำอยู่แล้ว การให้ทุน เป็นการให้ morale กับคนทำงาน

ในเดือนพฤษภาคม 2556 โครงการ Thai DPP หรือที่เราเรียก DPP Thailand มีความก้าวหน้าไปอีกระดับหนึ่ง การคัดกรองด้วย OGTT เพื่อค้นหาผู้ที่มี IGT มาเข้าโครงการของทีม 8 จังหวัด ได้ข้อมูลดังนี้



ข้อมูลผลการทำ OGTT เดือนพฤษภาคม 2556


ทีมโคราช นำโดยหมอฝน พญ.สกาวเดือน นำแสงกุล ได้จัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตาม Catalog ที่เราจัดทำขึ้น สำหรับกลุ่มเสี่ยง ½ ของพื้นที่ เมื่อวันที่ 11-12 พฤษภาคม 2556 เสียดายที่ดิฉันติดประชุมที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงไม่สามารถไปร่วมกิจกรรมได้ แต่ก็ได้ส่งคุณเอก ไปบันทึก VDO เอาไว้ เพื่อจะเอามาให้ทีมงานจังหวัดอื่นๆ ได้เห็นกิจกรรมและบรรยากาศด้วย

คุณล้าน ประภาพันธ์ สวัสดิ์ผล นักโภชนาการ รพ.สมุทรสาคร ขับรถไปถึงครบุรี ชมกิจกรรมนี้ด้วยตนเอง แล้วกลับมาเล่าลง Facebook ว่ามันจริงๆ

เช้าวันที่ 22 พฤษภาคม 2556 ดิฉันและ ศ.นพ.วิชัย เอกพลากร ได้ไปนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการต่อคณะกรรมการพัฒนาและกำกับทิศทางการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งมี นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา เป็นประธาน และ ศ.เกียรติคุณ นพ.เทพ หิมะทองคำ เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการฯ  



นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา (ซ้าย) ศ.เกียรติคุณ นพ.เทพ หิมะทองคำ (ขวา)

 

ในการประชุมครั้งนี้ได้มีเรื่องแจ้งเพื่อทราบและเรื่องสืบเนื่องที่น่าสนใจคือ 

  • การพัฒนาระบบและเครือข่ายบริการดูแลรักษาเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน โดย ศ.เกียรติคุณ นพ.เทพ หิมะทองคำ และทีมของโรงพยาบาลเทพธารินทร์
  • การจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการควบคุมป้องกันโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่ง นพ.สมเกียรติ โพธิสัตย์ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ นำเสนอแทนรองอธิบดีกรมการแพทย์
  • ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการโรคความดันโลหิตสูง โดย นพ.สมเกียรติ โพธิสัตย์ และ ผศ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำหรับการนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการ Thai DPP เป็นวาระเพื่อพิจารณา

การได้เข้าฟังการประชุม ทำให้ได้รู้เรื่องดีๆ ว่า แผนงานโรคเรื้อรังได้รับอนุมัติงบประมาณในปีงบประมาณ 2557  เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมามากกว่าสองเท่า เพื่อสนับสนุนหน่วยบริการในการพัฒนาคุณภาพและการเข้าถึงบริการ 2nd Prevention ของโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่อง

การจัดอบรม case manager เรื่องการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ของทีมโรงพยาบาลเทพธารินทร์ ได้เพิ่มเรื่องการออกกำลังกายเข้าไปด้วย มีการจัดอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รุ่นละ 2 วัน ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจสูง มีแผนจะสอนเรื่องการดัดแปลงรองเท้า การจัดทำตำราสำหรับแพทย์ และต่อไปจะ modify สำหรับบุคลากรสาขาวิชาชีพอื่นๆ

ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการโรคความดันโลหิตสูง มี โครงการนำร่อง Home BP Monitoring กลยุทธ์คือใช้ รพช. เป็นฐาน มีการ pool เครื่องวัด BP ให้ความรู้ ทำใน รพช. 60 แห่ง ใน 12 เขต เขตละ 5 แห่ง ในคนที่มี HT แห่งละ 200 คน มีเครื่องวัด BP หมุนเวียนแห่งละ 50 เครื่องให้ผู้ป่วยยืมไปวัดที่บ้านคนละ 1 สัปดาห์ (วัด 4-7 วันในรอบ 1 เดือน)

ผศ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ บอกว่าเรื่อง Home BP Monitoring มี guideline ในหลายประเทศ การจ่ายยาให้ base on ค่า BP ที่บ้านและพูดถึง public access, public awareness ตัวเลขที่อยากให้คนรู้จักคือ น ค ร น=น้ำหนักตัว ค=ความดันโลหิต ร=รอบเอว ถ้ารู้ตัวเลขเหล่านี้ (ตัวเลขที่ควรเป็น และตัวเลขของตนเอง) จะทำให้มี awareness เรื่องความเสี่ยงต่างๆ ....อาจารย์สมเกียรติได้เสนอคำคล้องจองหลายคำตามสไตล์ของอาจารย์ (จดไม่ทัน) รวมทั้งยังพูดว่าเราชอบเอาตัวอย่างดีๆ มาเป็นต้นแบบ ควรเอาตัวอย่างที่ไม่ดีมาเรียนรู้ด้วย

ในการนำเสนอโครงการ Thai DPP เราได้เสนอข้อมูลตัวเลขผลการทำ OGTT ซึ่งอาจารย์วิชัยได้วิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมให้เห็น % ของผู้ที่มี IFG, IGT, IFG+IGT และ DM แสดงเป็นไดอะแกรมให้เห็นภาพชัดเจน และเราได้นำเสนอ outline กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตาม Catalog ที่จัดทำขึ้น พร้อมนำเสนอ VDO การจัดค่ายของทีมครบุรี ความยาวประมาณ 4 นาที ที่คุณเอกเอาขึ้นใน youtube ให้เมื่อตอน 07 น.กว่า

ที่ประชุมมีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เช่น

  • การดำเนินโครงการ เพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการและพัฒนาความรู้ ทำจริงในภาคสนาม จะแก้ปัญหาอะไรบ้าง อะไรที่เป็นปัจจัยความสำเร็จ คนอื่นจะได้ไม่ต้องทำซ้ำๆ หรือไม่ต้องเริ่มจากศูนย์
  • โครงการนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อกรมควบคุมโรค (คร) ควรนำเข้า service plan
  • ควรมีการสรุปงานเป็นระยะ ว่าเกิดผลลัพธ์ต่อประชาชนอย่างไร สุขภาพดีขึ้นหรือไม่ สำเร็จหรือล้มเหลวจากอะไร
  • ควรมีตัวอย่างการทำกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม
  • อยากให้เอา อปท. เข้ามามีส่วนร่วม
  • ควรเอาครอบครัวเข้ามาร่วมด้ว

ศ.เกียรติคุณ นพ.เทพ หิมะทองคำ ชื่นชมการทำงานของพวกเราและกล่าวในที่ประชุมว่าบอกว่า "ทีมนี้ทำงานด้วยใจ ถึงไม่มีทุนเขาก็ทำอยู่แล้ว การให้ทุน เป็นการให้ morale กับคนทำงาน ถ้าโครงการนี้ได้ผล แล้ว สปสช. สนับสนุนต่อ มีการติดตามระยะยาว จะได้ข้อมูลอีกเยอะ"


คุณสิริกร ขุนศรี บอกว่าโครงการ 3 ปีนี้ เป็น phase แรกเท่านั้น แสดงว่ายังมี phase ต่อไปอีก ชาวเครือข่ายเบาหวานควรภูมิใจที่ สปสช. ไว้วางใจให้ทำงานใหญ่ครั้งนี้

ผศ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ บอกว่างานนี้เป็นของไทยเราเอง ส่วนที่เราควรจะต่างจากเขา (ต่างประเทศ) ... วัฒนธรรม ภูมิปัญญา spiritual… อ. อารมณ์ เข้าใจยากสุด ทำได้หลายอย่าง สวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิ... (อยากจะเปลี่ยนเป็น อ. ออกกำลังใจ) อ. 2 ตัวแรก รู้หมด อดไม่ได้ ต้องทำกิเลส management แล้วจะเกิดความสุข ความสุขจะทำให้เอาชนะอุปสรรคได้… หายใจช้า... อยากจะให้ต่อยอด โครงการนี้จะเดินต่อได้ ต้องมีการรวมกลุ่มประชาชน ทำให้ต่อเนื่อง ทำให้กลุ่มยืนยาว โดยใช้ความสุขเป็นตัวยืน ให้เขารู้สึกว่ามาแล้วเขาได้อะไร

นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา ประธานฯ สรุปและให้ความเห็นว่า ควรดู prerequisite ต้นทุนของแต่ละพื้นที่ว่ามีอะไรบ้าง... การคัดกรองแบบ traditional ด้วย FPG คนเป็นเบาหวานตกในการตรวจเยอะ FPG ไม่เป็นเบาหวาน ไม่ใช่ไม่เป็น จุดประกายการทบทวน public screening... เรื่อง class ที่โครงการจะ tailored made, camp, club ซึ่งสำคัญ... อารมณ์ มีความสำคัญ ต้องแปลงให้เป็นการเชื่อมโยง ผูกพัน เพื่อ sustainability... ให้ช่วยดูว่า club ที่จะมี จะ design ออกมาอย่างไร คาดหวังว่าจะได้อะไรออกมา strengthen ระบบที่มีอยู่

การไปรายงานต่อคณะกรรมการชุดนี้ นอกจากจะได้ข้อคิดและความเห็นที่จะนำไปใช้ในการทำงานต่อแล้ว ยังได้เรียนรู้เรื่องการทำงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงของผู้อื่น/หน่วยงานอื่น อีกด้วย

วัลลา ตันตโยทัย


หมายเลขบันทึก: 537215เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2013 23:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2013 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

.... ดี จังเลยได้  ท่าน นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา ..... มาเป็นประธาน  นะคะ ..... ..... ท่านมีความสามารถสูง นะคะ

เห็นด้วยกับ Dr.Ple ค่ะ และงานนี้ทีมของ สปสช. ช่วยสนับสนุนทุกด้าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท