558. ดร.กิตติ มโนคุ้น และ Open Innovation


                         “นวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) เป็นหลักการพื้นฐานของการอยู่

                   ในโลกที่ท่วมท้นไปด้วยความรู้ แต่เป็นสถานที่ซึ่ง ไม่ใช่คนฉลาดทุกคนจะมาทำงานให้คุณ 

                       ดังนั้นคุณต้องค้นหาพวกเขา เชื่อมต่อ และต่อยอดจากสิ่งที่พวกเขาทำให้ได้ "

                                                                                         Henry Chesbrough 

                                                                             ผู้อำนวยการศูนย์ Open Innovation

                                                                      Hass School of Business, UC Berkeley

อาจารย์เฮนรี่เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Open Innovation ที่มีการอ้างอิงไปทั่วโลก .. ท่านบอกว่าองค์กรมีสองประเภทคือองค์กรที่อยู่บนแนวคิดเดิม คือตั้งหน้าตั้งตาสร้างนวัตกรรม โดยอาศัยการบ่มเพาะความรู้ในองค์กร สร้างคน สร้างเทคโนโลยี (Closed Innovation) ตรงนี้อาจตกยุคได้ เพราะความรู้ ความก้าวหน้าตอนนี้มีมากขึ้น ที่สำคัญก้าวไปเร็วมากขึ้น จนการทำอะไรแบบเดิมไม่พออีกต่อไป ความรู้ความก้าวหน้าทางวิทยาการนั้นอาจอยู่กับใครก็ได้ นักวิทยาศาสตร์ วิศวกรที่กำลังทำงานให้คู่แข่งของคุณก็ใช่ บริษัทที่กำลังเกิดใหม่  ที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจ ... ใครก็ตาม.. เรามีหน้าที่ต้องค้นหาคนกลุ่มนี้ เพื่อต่อยอดสร้างเทคโนโลยีจากเขา ไม่งั้นตกยุค 

                                          

จะว่าไปไกล้ตัวที่สุดคอมพิวเตอร์ที่คุณกำลังใช้ ก็คือโปรแกรมไมโครซ๊อฟวินโดว์ นั่นก็เกิดจากบิล เกตต์ต่อยอดจากคนที่ไม่มีใครรู้จัก ที่เคยคิดโปรแกรมนี้มา  แล้วบิล เกตต์ไปเจอเลยนำมาต่อยอด... นี่รวมถึงแนวคิดวินโดว์ ที่เชื่อว่าต่อยอดมาจาก Apple ... ส่วน Apple เองรุ่งมาได้ก็ด้วยการต่อยอดวินโดว์ที่คิดโดยนักคิดของซีร๊อก ที่รวมทั้งเม๊าส์ที่คุณไช้ สตี๊ฟ ก็สร้างวีรกรรมต่อยอดมาจากซีร๊อก...บริษัทที่สร้างตัวจาก Closed Innovation อย่างเดียว ที่แม้จะสร้างได้ แต่ตกยุคครับ

ผมพูดเรื่องนี้เพราะอยู่ในแวดวงการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามาสิบปี...ถ้าพูดตรงๆ ไม่ค่อยเห็นอะไรบรรเจิดเท่าที่ควร สาเหตุหนึ่งคือ ผมมีความเชื่อว่าตอนนี้ระบบการศึกษาของเราเป็นแบบ Closed Innovation มากเกินไป การทำวิทยานิพนธ์ เอาเลยครับ เข้าห้องสมุดของเราเอง ตำรา งานวิจัยเพียบ.. ผมสอบคนมาเยอะครับ ในช่วงสิบปี ... เห็นการอ้างอิงชื่อเดิมๆ.. หนังสือเดิมๆ.. มานานนับสิบปี... งานจากห้องสมุดเดิมๆ ...เรียกว่าไม่ค่อยมีอะไรน่าตื่นเต้น.. นานๆ จะเจออะไรต่างสักที 99% แทบไม่อ่าน ไม่ศึกษาอะไรที่ต่างไปกว่าเดิม...ผมไม่โทษครับ ...ก็เราสอนกันมาอย่างนั้น...

 ล่าสุดสอบนักศึกษา ทำร้านอาหาร แต่ไม่รู้อะไรสักเรื่อง ไม่รู้แม้กระทั่งเมนูที่จะทำ ไม่รู้ว่าจะเอาเช๊ฟจากไหน.. บอกว่าจะเปิดรับสมัครเอา... ผมก็เลยบอก อืม คุณเรียน MBA ถ้าตอนทำวิทยานิพนธ์คุณลองถามรุ่นพี่หน่อย ที่สมาคมศิษย์เก่า... รับรองคุณจะเจอรุ่นพี่ ที่ประสบความสำเร็จ ...มีสองร้านไกล้มหาวิทยาลัยขอนแก่น.. De Wind และ Le Gusto ...ร้านหนึ่งขายดีขนาดเซลล์กรุงเทพต้องบินมาดู เพราะแปลกใจที่ขายเครื่องดื่มของเขา ได้มากกว่าร้านในกรุงเทพ... คนพวกนี้เต็มใจให้ความรู้ ที่คุณเองไม่อาจหาได้ในห้องสมุด จะตอบคำถามทุกคำถามที่เป็น “ของจริง” ให้คุณครับ...คน "รู้จริง" พวกนี้ไม่ได้อยู่ใน "ห้องสมุด"

ผมมีลูกศิษย์คนหนึ่งมีปัญหาเรื่องโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มาถามผม..ผมก็ใช้หลัก Open Innovation “ถามพันทิพย์สิ”...เขาก็ไปโปสต์ถาม คืนนั้นมีการมาตอบ บอกว่ารู้ว่าเคยโปรแกรมของคนจีน แต่แกะยาก มาช่วยกันไหม... สองสัปดาห์ถัดไป..สองคนที่ไม่รู้จักกันช่วยกันพัฒนาโปรแกรม..ตอนนี้ขายลิขสิทธิ์ได้ 50,000 ต่อการติดตั้งหนึ่งครั้ง   นี่คือผลพลอยได้ ของนักศึกษาคนหนึ่งที่มานั่งทำ IS (การศึกษาอิสระ หน่วยกิตสามหน่วย) ที่เราไม่คาดหวังอะไรมาก... แต่ได้ร้านที่แปลกจากชาวบ้าน ที่ขายได้... แถมยังได้ตังค์จากการได้โปรแกรมเพิ่มมาอีก...จากคนที่ไม่รู้จักกันในตอนแรก แถมไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัย ที่สำคัญไม่ได้อยู่ใน “ห้องสมุด”

                       

Open Innovation ไม่ได้เกิดมาตั้งแต่ยุคนั้น ผมเห็นมาตั้งแต่ยุค สามก๊ก...คุณจะเห็นว่าผู้นำทั้งสามก๊ก ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เวลาทั้งชีวิต เพื่อค้นหา “คนเก่ง” ถึงขั้นกราบกรานกันเลย.. คนเก่งพวกนี้อยู่นอกพื้นที่บ้าง ทำงานให้ศัตรูบ้าง แต่เล่าปี่ ซุนกวน โจโฉ ก็ตองพยายามแสวงหามา “คนเก่ง” ที่อยู่นอกพื้นที่นี่แหละ เช่น “ขงเบ้ง” ที่ทำให้ “เล่าปี่” สร้างตัวจากคนทำรองเท้า..ถึงแม้จะเป็นเชื้อพระวงศ์ หากแต่โทษทีครับ ห่างมากๆ เอาเป็นว่าไม่ใช่กลุ่มสุภาพบุรุษจุฑาเทพครับ..หลุดไปไกลมากๆ...  “คนเก่ง” เหล่านี้กลายเป็นกลไกในการสร้าง Open Innovation ให้เล่าปี่ จนได้กลายเป็นกษัตริย์ในที่สุด... เปรียบได้กับจางเหลียง กุนซือของพระเจ้าฮั่นโกโจ ที่กลายเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ฮั่น... นั่นก็มาจากชาวนา ในยุคจิ๋นซีฮ่องเต้...

ผมว่าสามก๊กเป็นอะไรที่ชี้ให้เห็นเป็นอย่างดีถึงการใช้ Open Innovation... ปีนี้ผมเปิดหลักสูตร “สามก๊ก” ที่ MBA ครับ ... เพราะเห็นชัดว่าการศึกษาเราจำเป็นต้องก้าวไกลจากห้องสมุด... ผมได้เชิญอาจารย์ท่านหนึ่งคือดร.กิตติ มโนคุ้น มาร่วมสอนด้วย.. อาจารย์ไม่ได้เป็นอาจารย์ที่มข. ครับ ท่านทำงานอยู่ที่กรมทางหลวงชนบท ผมรู้จักท่านมาตั้งแต่สมัยบวชด้วยกันสามเดือนเมื่อปีก่อน.. ท่านเองนอกจากทำงานเป็นข้าราชการ ยังเป็นผู้นำกลุ่ม Talent Group หรือกลุ่มผู้นำที่เป็นข้าราชการรุ่นใหม่ มีการเคลื่อนไหวทำอะไรสร้างสรรค์ระดับประเทศมาก่อน.. ด้วยอายุขนาดนี้ ที่ผมย้อนไปแล้ว ตอนอายุ เท่าท่าน ผมยังคิดอะไรทำอะไรอย่างนี้ไม่ได้ครับ ... เลยเชิญท่านมาช่วย ที่สำคัญอยากให้นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น เรียนรู้จาก Living Case (กรณีศึกษาที่มีชีวิต) เนื่องจากท่านเรียนปริญญาตรีที่วิศวะมข. นักศึกษาจะได้สัมผัสเรียนรู้ รู้เลยว่าทำดีอย่างไร สร้างตัว สร้างโอกาสให้ตนเองอย่างไร ถึงไปได้ไกลขนาดนี้.. ที่สำคัญได้รู้จัก วันนี้ไม่รู้ว่าจะสร้างสรรค์อะไรดีๆ ร่วมกันท่าน รู้จักกันไว้ก็ยังดี ในอนาคต ต้องการสร้างสรรค์อะไรก็จะง่ายขึ้น เพราะคนเราเป็นครูเป็นลูกศิษย์กันแล้วก็เป็นทั้งชีวิต

                                        

ส่วนผมก็ดีใจ เพราะถ้าผมจะทำได้อย่างท่านในวัยขนาดนั้น... ต้องไปเกิดใหม่ครับ.. แต่ตอนนี้ไม่ต้อง เพราะด้วยแนวคิดนี้ ทำให้เราเปิดโอกาสให้ตัวเองได้เรียนรู้อะไรดีๆจากคนอื่น... งานนี้ไม่ได้เพียงเชิญคนภายนอกมาสอน ผมกับดร.กิตติ มีโอกาสหารือกัน และเราก็เห็นปัญหานี้ร่วมกัน ไม่พอล่าสุดมีโอกาสได้พบกับลูกศิษย์ ที่เป็นผู้บริหารองค์กรชั้นนำ ที่ได้เล่าความท้าทายด้านการบริหารคน ท่านอาจารย์ดร.กิตติก็ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับลูกศิษย์ผม ทำให้ผมกับท่านได้รับแนวคิด เพื่อมาวางแผนสร้างสรรค์การสอนหลักสูตรสามก๊ก แบบ Open Innovation ร่วมกัน..

ผมเชื่อว่าถ้า Open Innovation เกิดใน MBA  หรือในทุกหลักสูตร  หรือขยายไปทั้งประเทศ ทั้งการศึกษา ราชการแล้ว เราจะเห็นความก้าวหน้าทางวิทยาการเกิดขึ้นในประเทศของเรามากกว่านี้ และจะเป็นความก้าวหน้าที่เกิดจากการใช้ต้นทุนต่ำ มีความเป็นไปได้สูง ที่สำคัญเราจะไปไกลแน่นอน ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องอายใคร...

วันนี้พอเท่านี้ เพียงเล่าให้ฟัง ลองพิจารณากันเอาเองนะครับ


Note: ติดตาม Fan Page อาจารย์ดร. กิตติ มโนคุ้นได้ที่นี่ https://www.facebook.com/DrKittiManokhoon

Credit ภาพ 

รูปแรก http://sloanreview.mit.edu/article/experiments-in-open-innovation-at-harvard-medical-school/

รูปที่สอง  https://www.facebook.com/noomko?fref=ts 


หมายเลขบันทึก: 537126เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2013 08:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2013 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

- ผมได้รับเชิญให้คำปรึกษา จากบริษัทเอกชนทางการเกษตรแห่งหนึ่งครับ

- ผมงงมากครับ มีโอกาส ผมเลยถามเขาว่า ทำไมเลือกครูอาชีวะแก่ ๆ บ้านนอกมา ทั้ง ๆ ที่บริษัทฯก็อยู่เมืองหลวง ใกล้แหล่งให้คำปรึกษาทางธุรกิจมากมาย...

- เขามาเปิดใจให้ทราบว่า...เพราะเขาขาดคนบ้านนอก ๆ แบบผม ที่จะมาให้คำแนะนำน่ะครับ

- นี่คงแสดงว่า เขาทำ "Open Innovation" กระมังนะครับ

- มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นะครับ

ขอบคุณมากครับ

ชยพร   แอคะรัจน์

เรียนท่านอาจารย์

ใช่เลยครับ... 

ผมว่การศึกษา การทำงานต้องประมาณอย่างนี้ครับ

เข้ามาอ่าน เข้ามาเรียน เข้ามารู้

ขอบคุณครับ

ยินดีต้อนรับคุณพ.แจ่มจำรัส ครับ

ยินดีมากๆที่บทความเป็นประโยชน์ต่อท่านนะครับ


ขอบคุณบทความและแง่คิดดีๆ

 สั้นๆ สุดโค้ย.........

ได้แนวคิดเพิ่มอีกแล้วครับ..........ขอบคุณความคิดและคำแนะนำดี ๆ จากอาจารย์ครับ

ความรู้ ไม่ได้มีแค่ในห้องสมุดจริง ๆ

มาอ่านบันทึกดีๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท