ปัญหาจากไฟฟ้าสถิต


นอกจากปัญหา ESD ที่ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสียหายได้แล้ว ไฟฟ้าสถิตยังมีความสำคัญในกระบวนการสะอาด หรือชิ้นงานที่ต้องการความสะอาดสูง อาทิเช่น การฉีดขึ้นรูปพลาสติกที่นำมาทำจอแสดงผล ซึ่งการฉีดขึ้นรูปพลาสติกอาจทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตที่ชิ้นงานในปริมาณที่สูงมาก ทำให้ฝุ่นละอองถูกดูดมาที่ชิ้นงานมากและยังทำความสะอาดออกได้ยาก นอกจากนี้ไฟฟ้าสถิตยังมีผลโดยตรงกับงานที่ต้องระวังไม่ให้เกิดประกายไฟ เช่น การทำงานกับสารเคมีที่ไวไฟและการทำงานกับวัตถุระเบิด 

จากที่กล่าวมาข้างต้น เราจึงมีความจำเป็นต้องมีการควบคุมและป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากไฟฟ้าสถิตซึ่งมีอยู่หลายวิธี อาทิเช่น 

1) การออกแบบอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความทนทานต่อไฟฟ้าสถิตมากขึ้น โดยฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ 

2) การหลีกเลี่ยงและลดการเกิดไฟฟ้าสถิตโดยการเลือกใช้วัสดุที่เกิดไฟฟ้าสถิตน้อย (Low Static Charge or

Antistatic) 

3) การถ่ายเทประจุที่เกิดขึ้นลงสู่กราวด์ (Dissipation) เพื่อลดประจุสะสมโดยผ่านทางพื้นผิวควบคุมไฟฟ้าสถิต (Static Control surfaces) และระบบสายดิน (Grounding) 

4) การป้องกันการรบกวนของสนามไฟฟ้า (Shielding) โดยการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม และ 

5) การแลกเปลี่ยนประจุให้วัสดุนั้นมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า (Neutralization) โดยใช้พัดลมสลายประจุไฟฟ้าสถิต หรือ Ionizer

หมายเลขบันทึก: 537099เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2013 21:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2013 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ครั้งแรกที่เข้าทำงานเป็น PD Supervisor (หลังเรียนจบใหม่ๆเมื่อยี่สิบกว่าปีที่แล้ว) คุมไลน์ผลิตแผงวงจรไฟฟ้าที่มีส่วนประกอบหลักเป็น CMOS บริษัทมีความเข้มงวดกับเรื่องนี้มาก พนักงานที่ไม่สวม ESD wrist strap หรือไม่คีบปลายสายลงกราวด์จะมีความผิดระดับที่ถูกออกใบเตือน (Warning Letter) ซึ่งถือว่าเป็นโทษที่ค่อนข้างร้ายแรง นั่นเป็นครั้งแรกที่ผมได้เรียนรู้ความสำคัญของ ESD

หน้าหนาวเวลาที่อากาศแห้งๆ ผมเคยสังเกตว่าเวลาขยับตัวมักจะได้ยินเสียงดังเปรี๊ยะๆเบาๆจากใต้ผ้าห่มเมื่อลองดับไฟให้มืดสนิทแล้วลองขยับตัวใหม่นอกจากได้ยินเสียงแล้วยังได้เห็นประกายไฟคล้ายแสงจากฟ้าผ่าขนาดจิ๋ววูบวาบอยู่ไปมา แสดงถึงพลังของมันและก็หายสงสัยไปเลยว่าทำไมมันถึงมีอานุภาพพอที่จะทำความเสียหายให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ แล้วก็คิดเลยไปว่าถ้ามันเกิดไปโดนอนุภาคเล็กๆของละอองน้ำมันหรือก๊าซไวไฟก็น่าจะทำให้เกิดการสันดาบให้ลุกติดไฟได้เช่นกัน (ใครไม่เคยเห็นหน้าหนาวทดลองทำดูนะครับ)

สำหรับคนทั่วไปผมว่าความเข้าใจเรื่องนี้เรามีกันน้อยมาก จึงขาดความระมัดระวังหรือละเลยการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในบริเวณที่เสี่ยงอันตรายครับ

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นครับ และถูกต้องแล้วครับสำหรับการควบคุมไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นบนร่างกายด้วยการใส่สาย wrist strap ซึ่งในปัจจุบัน วงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดเล็กลงและความซับซ้อนของวงจรที่มากขึ้น ทำให้ชิ้นส่วนดังกล่าวมีความไวต่อไฟฟ้าสถิตมากขึ้นด้วยครับ ก็เลยต้องพิจารณาการดิสชาร์จจากเครื่องมือเครื่องจักร (machine model) หรือการดิสชาร์จจากชิ้นงานไปยังวัสดุอื่น (charged device model) ซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการดิสชาร์จจากร่างกาย (human body model) ที่กล่าวไว้ข้างต้นเลยครับ


เข้ามาเก็บเกี่ยวหาความรู้ ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อมูลที่สำคัญและใกล้ตัวมาก

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท