คงทำได้เพียงแค่ "คิดและเขียนเก็บไว้ในบันทึก"


ลดการใช้สารเคมีให้น้อยลงในทางด้าน Lab. บ้างจะได้หรือไม่

 จากอุบัติเหตุและอุบัติการณ์เมื่อวานนี้ จากบันทึกทำให้ผู้เขียนไปค้นลึกลงไปถึงเจ้า Toluene ค่ะจากที่นี่ พบว่าอันตรายถ้าหาก........

  • สัมผัสทางหายใจ -จะก่อให้เกิดการระคายเคือง เกิดอาการปวดศรีษะ คลื่นไส้ และมึนงง
  • สัมผัสทางผิวหนัง -จะก่อให้เกิดการระคายเคือง ทำให้เกิดผื่นแดง
  • กินหรือกลืนเข้าไป-จะก่อให้เกิดอาการระคายเคือง ทำให้ปวดท้อง ปวดหัว วิงเวียนและมึนงง
  • สัมผัสถูกตา-ก่อให้เกิดการระคายเคือง ทำให้ตาแดง
  • การก่อมะเร็ง ความผิดปรกติอื่นๆ -สารนี้มีผลทำลาย ตับ ไต กระเพาะปัสสาวะ สมอง

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม : มีแนวโน้มในการสะสมทางชีวภาพต่ำ, ห้ามทิ้งลงสู่ระบบน้ำ น้ำเสียและดิน, เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำ เป็นพิษต่อปลาและแพลงค์ตอน การเปลี่ยนแปลงลักษณะของกลิ่นโปรตีนจากปลาอาจเกิดการผสมกับอากาศเหนือผิวน้ำให้ไอระเหยของสารที่สามารถระเบิดได้

และในเมื่อเราใช้เจ้า Toluene เพียงแค่มาเคลือบไม่ให้อากาศและปัสสาวะสัมผัสกันแค่นั้น แล้วเราจะใช้น้ำมันอื่นๆ แทนได้ไหม ???(ที่ไม่มีพิษไม่มีภัย น้ำมันมะกอก น้ำมันทาตัวเด็ก หรือแม้แต่น้ำมันพืช)

ความคิด "สุดโต่ง" นี้คงจะยัง "ไม่ผิดและไม่ถูก"  ถ้าหากเรายังไม่ทำการพิสูจน์ ทดลอง หรือเปรียบเทียบ (ดังบันทึก ของท่าน อ.วิจารณ์)

และความคิดนี้ผุดขึ้นมาจาก ปัจจุบันนี้มีการรณรงค์เลิกใช้สารเคมีในทางด้านการเกษตร หรือการใช้สมุนไพรในทางด้านการแพทย์ แล้วเราจะเลิกใช้ หรือลดการใช้สารเคมีให้น้อยลงในทางด้าน Lab. บ้างจะได้หรือไม่

ผู้เขียนคงต้องขอบคุณพี่ Mitocondria สำหรับคห. จากบันทึก  "หากต้องการเพียงแค่สารเคลือบผิวไม่ให้สัมผัสอากาศ การใช้น้ำมันพืช น้ำมันทาผิว หรือน้ำมันมะกอก ก็น่าจะใช้ได้ แต่เกรดของสารที่นำมาใช้อาจไม่ได้รับการยอมรับ เนื่องจากอาจมีสารปนเปื้อนอยู่ในนั้นได้ ในห้องแล็บเราจะมี immersion oil ซึ่งเป็นน้ำมันที่เป็น reagent grade อยู่ ซึ่งอาจจะนำมาลองใช้เปรียบเทียบดูได้ครับ"

แม้ผู้เขียนจะสามารถคิดหรือเขียนอะไรได้อย่างสุดโต่งได้อยู่ก็จริง แต่ในทางปฏิบัติก็คงไม่สามารถนำความคิดสุดโต่งนี้มาปรับหรือลองใช้ได้ง่ายนัก เพราะที่นี่ยังมีไม่น้อยที่ยังยึดมั่นถือมั่นกับทฤษฏีและตำรา อย่างแรงกล้า และ.......

คงทำได้เพียงแค่ "คิด และเขียนเก็บไว้ในบันทึก"

เพียงแค่นี้ก็มี "ความสุข" ได้

หมายเลขบันทึก: 53709เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2006 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • เข้ามาบอกว่า ห้องฮีมาโตเราก็เลี่ยงการใช้สาร toluene ในขั้นตอนการสกัดแยกส่วนโปรตีนออกจากน้ำเลือดในการทดสอบ Hb typing มานานแล้วค่ะ เมื่อก่อนเห็นเด็กๆทำกันอย่างทรมานมาก  เดี๋ยวนี้มีความสุขยิ้มหวานกันแล้ว... (อย่าถามเรื่อง paper นะ ดองไว้สองปีแล้วยังไม่เค็มพอ เลยยังไม่ส่งตีพิมพ์ วันนี้ตามไปดูเว็บที่คุณศิริลิงค์ไว้ให้ ได้ข้อมูลเพื่อการ discussion อีกเพียบเลย ขอบคุณค่ะ...)
  • ส่วนที่คุณไมโตพูดถึง immersion oil นั่น ถ้าเป็นเกรดเดียวกับที่ห้องฮีมาโตใช้กับกล้องจุลทรรศน์ละก้อ ลำบากหน่อยนะ เพราะราคาแพงกว่ากันเยอะเลย

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ ผู้เขียนคงไม่เลือก immersion oil แต่อาจสนใจจำพวกน้ำมันมะกอก หรือน้ำมันอย่างอื่นๆ ที่ราคาถูกกว่า และอยากรู้ว่ามันจะต่างกันมากไหม ??

ว่าจะลองเผาทฤษฏีหรือตำราทิ้งไปจากใจ ไม่ยึดติดกับตำรา ดังบันทึกของอ.วิจารณ์

  • พี่เม่ยเชียร์นะ แต่คุณศิริอย่าให้ถึงกับเผาตำราเลยน่า....เดี๋ยวดับไม่ทันขึ้นมาละยุ่ง...พี่เม่ยวิ่งช้านะ!
  • เรื่องสารพิษ สารก่อมะเร็งทั้งหลายเนี่ย ถ้าพอจะหาวิธีเลี่ยงได้ก็รีบทำเถอะค่ะ  ก็เรายังอยากมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้อีกนานๆนี่นา...เนาะ
  • ที่หน่วยฮีมาโตก็ยังมีการย้อม peroxidase ที่พี่เม่ยเลี่ยงสาร benzidene ตัวก่อมะเร็งอันดับต้นๆได้อีกตัวหนึ่งค่ะ เพราะยึดถือคติที่ว่า "อย่ารีบเชื่อในสิ่งที่บอกต่อกันมา จงเชื่อในสิ่งที่เห็น และเชื่อในสิ่งที่เฮ็ด(ภาษาอีสาน = ทำ)"
  • ไม่ลองไม่รู้ รีบๆทำต่ะ รอฟังผลอยู่นิ!

ขอเข้ามา cheer ด้วยคนค่ะ แต่ไม่มีความรู้พวกนี้เลย!

คุณศิริ..สุดยอด!!!!...อีกแล้ว

ขออภัย...หากมา cheer ....ช้า (ยิ้มๆๆ)

ชอบมากเลยคะ...

บางครั้งนะ..เรายึดในกฏและเกณฑ์..และทฤษฎีมากเกินไป..หากแต่ลืมใส่ใจในบางสิ่งบางอย่าง โดยเฉพาะ"ชีวิต"...

ห่วงมาตราฐาน...ห่วง ISO ห่วง HA...และอีกจิปาถะที่ห่วง...แต่ลืมหันมามองว่า "คน"..นั้นมีความสุขหรือไม่นะ...

(*^__^*)

กะปุ๋ม

 

 

ขอบคุณทุกคนค่ะ กำลังชักชวนนายดำ design งานอยู่ค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมและกำลังใจ ในการค้นหาคำตอบเพื่อพัฒนาค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท