dararat
ดร. ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

พัฒนาภาษาด้านการอ่านให้กับเด็กปฐมวัย


พัฒนาภาษาด้านการอ่านให้กับเด็กตั้งแต่ปฐมวัย

        จากการประเมินในระดับนานาชาติ ดังเช่นผลการประเมินของ PISA ด้านการอ่านในปี 2543-2552 และ IMD World competitiveness Year book ปี 2554 พบว่า เด็กและเยาวชนไทยยังอ่านหนังสือค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับนานาประเทศ ความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติด้านการศึกษาของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 51 จากประเทศทั้งหมด 59 ประเทศ การพัฒนาด้านความฉลาดทางอารมณ์(EQ) ลดลงซึ่งความสามารถด้านการอ่านมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนไทยเป็นอย่างมาก การพัฒนาการอ่านให้กับเด็กไทยมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและต้องพัฒนาให้ถูกทางด้วยความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และต้องร่วมมือกันพัฒนาทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้อบรมเลี้ยงดูเด็ก ครูปฐมวัย เป็นต้น โดยเริ่มตั้งแต่ในระดับปฐมวัยเพื่อให้มีพื้นฐานที่มั่นคงและเป็นรากฐานของการอ่านหรือพฤติกรรมรักการอ่านโดยเริ่มตั้งแต่ปฐมวัย ก่อนอื่นผู้ใหญ่ที่ร่วมกันพัฒนาจะต้องเข้าใจถึงสมรรถนะในการอ่านของเด็กปฐมวัย อย่างเช่น เด็กอายุ 3-5 ปีสมรรถนะของเด็กในการอ่านที่สกศ.และองค์กรทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ(ยูนิเซฟ)ประเทศไทย ได้ดำเนินการวิจัยและจัดพิมพ์เป็นเอกสารสมรรถนะของเด็กปฐมวัยในการพัฒนาตามวัย (อายุ3-5ปี) ซึ่งมีรายละเอียดของพฤติกรรมบ่งชี้ที่แสดงถึงสมรรถนะด้านการอ่านของเด็กอายุดังกล่าวดังนี้

-  หยิบหนังสือมาพลิกดูและทำท่าอ่านหนังสือ(3 ปี)

-  เปิดหนังสือที่มีภาพประกอบโดยไม่กลับหัว(3 ปี)

-  เปิดหนังสือที่มีภาพจากหน้าไปหลัง(3ปี)

-  กวาดสายตาและใช้นิ้วจากซ้ายไปขวาเมื่อเปิดหนังสือและทำท่าอ่าน(4 ปี)

-  เปิดหนังสือที่มีภาพจากหน้าแรกเรียงลำดับไปยังหน้าสุดท้าย(4 ปี)

-  บอกได้ว่าตัวใดเป็นตัวเลขและตัวใดเป็นตัวหนังสือ(4ปี)

-  ถามคำหรือชื่อบนสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (เช่น ชื่อหนังสือบนปก ซื่อบนกล่องนม/ขนม)

(4 ปี)

-  ชี้ ตัวพยัญชนะได้ 5 ตัว (เช่น ก. ไก่ อยู่ที่ไหน/ชี้ตัว ช ช้าง)(5 ปี)

-  อ่านออกเสียงพยัญชนะได้  5 ตัว (เช่น เมื่อชี้ตัว ก ก็อ่านได้ว่ากอ หรือ กอ ไก่)(5ปี)

-  อ่านออกเสียงพยัญชนะได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่(5ปี)

-  ชี้บอกพยัญชนะที่จำได้ในคำต่างๆอย่างน้อย  10 ตัว (5ปี)

-  อ่านทีละบรรทัดจากบนลงมาล่างโดยไม่เน้นการอ่านถูกต้อง (5ปี)

-  ชี้ชื่อหรือชื่อเล่นของตนที่เป็นตัวพิมพ์ / ตัวเขียนบรรจงได้ (5 ปี)

-  อ่านคำง่ายๆหรือชื่อตนเองได้ (เช่น ชื่อเล่นหรือชื่อจริงของตนเอง หรือคำว่า หมา บ้าน พ่อ แม่)

(5 ปี)

-   ถามเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของข้อความที่พิมพ์หรือเขียน (เช่น จดหมาย หนังสือพิมพ์ ฉลากต่างๆ)

(5 ปี)

-   บอกประเภทสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่พบเห็น อย่างน้อย 2 ประเภท (เช่น หนังสือพิมพ์ ใบโฆษณา หนังสือนิทาน หนังสือการ์ตูน) (5 ปี)

-  บอกชื่อหนังสือที่ตนชอบได้อย่างน้อย 2 เรื่อง (เช่น หนูน้อยหมวกแดง ลูกหมีเล่นกับพ่อหมู 3 ตัว)

( 5 ปี)

-   พูดให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวในหนังสือที่มีภาพประกอบที่ตนอ่าน ว่าชอบ ไม่ชอบหรือสนใจส่วนไหนของเรื่อง (5 ปี)

-  อ่านหนังสือที่มีภาพอย่างต่อเนื่องจนจบ และเล่าได้ว่าเป็นเรื่องอะไร(5 ปี)

       แนวทางหรือข้อเสนอแนะในการพัฒนาโดยการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ให้กับเด็กเพื่อให้มีพัฒนาการด้านการอ่านมีดังนี้

-  ส่งเสริมให้ผู้ปกครองอ่านหนังสือกับลูก เช่น ให้ความรู้ จัดหนังสือให้ลูกกลับไปให้ผู้ปกครองอ่านให้ฟัง

-  เปิดโอกาสให้เด็กคุ้นเคยกับหนังสือและได้อ่านหนังสือตามวัย โดยเฉพาะให้อ่านร่วมกับครูหรือเพื่อนๆ จัดทำสมุดบันทึกการอ่าน

-  จัดที่ในมุมหนึ่งมุมใดในโรงเรียนหรือศูนย์ฯ ให้เหมาะกับการอ่านหนังสือ  จัดให้มีหนังสือสำหรับเด็กได้อ่านเล่นอย่างหลากหลาย  โดยให้หยิบเองและวางคืนได้ง่าย

-  ชี้ชวนให้รู้จักคำ ตัวพยัญชนะ แล้วเล่นเกมหาตัวพยัญชนะตามคำสั่ง ผลัดกันเป็นคนออกคำสั่งและเป็นคนหาตัวพยัญชนะ

     สิ่งที่กล่าวข้างต้นเป็นพียงตัวอย่างหรือแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการด้านการอ่าน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องทำตั้งแต่เด็กเล็กๆและผู้ใหญ่ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง


หมายเลขบันทึก: 536591เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2013 23:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2013 23:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Children are much more intelligent if we let them explore the real world. (I have witnessed a 2-year old reading shop names -- in Thai and English -- while travelling on roads.)

Our assumptions that children at what age "should" have such and such capability to learn or to perform such and such things may be limiting children to live and learn only within a box that we build.

I personally would spend more time and money taking children out to play (to develop body and coordination) and to see different things (to develop curiosity and learning --of real world--). Cjildren can tell us what they are interested in. They can play something again and again. They can watch something over and over. They can reach out for something, They can move away from something...

Let us learn more about them --individually-- before we force our assumption on them. Please.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท