รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

อาขยาน "วรรคทอง ที่ต้องขยาย"


 

ในการสอนท่องบทอาขยาน ครูอิงจะใช้วิธีสอนโดยให้นักเีรียนท่องวันละ ครั้งละ ๑ 

บท เมื่อนักเรียนจำบทแรกได้แล้ว  ก็จะสอนบทต่อไป  แล้วให้นักเรียนกลับมาท

บทวนบทแรก แล้วท่องรวมกัน ๒ บท   ทำเช่นนี้จนครบทั้ง ๔ บท จากนั้นก็ให้

นักเรียนท่องทุก ๆวัน เมื่อจำแล้วก็จะเน้นเรื่อง การออกเสียงให้ถูกต้องตาม

ฉันทลักษณ์ต่อไป

อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นบทอาขยาน หรือ วรรณคดีเรื่องต่าง ๆ  บางครั้งก็ต้องตีความ

ให้เข้าใจ  โดยเฉพาะกับการสอนเด็กประถมด้วยแล้ว  มิเช่นนั้นเด็ก ๆ  อาจเข้าใจผิดได้ 

ต้องชี้แจงให้เด็กเข้าใจว่า ยุคสมัยของผู้แต่งบทร้อยกรอง กับยุคสมัยของเรา เป็น

ยุคที่แตกต่างกัน มุมมองในด้านต่าง ๆ อาจจะต่างกัน เราจึุงต้องปรับใช้ให้

เหมาะสมกับยุคสมัย  เช่น บทอาขยาน ที่ครูอิงสอนเด็กในวันนี้ 


บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว      สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา
เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา                   ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต 

แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์           มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด        ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน 

มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน                บิดามารดารักมักเป็นผล
ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน                เกิดเป็นคนคิดเห็นจึ่งเจรจา

แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ          ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา
รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา                           รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี

จงคิดตามไปเอาไม้เท้าเถิด             จะประเสริฐสมรักเป็นศักดิ์ศรี
พอสิ้นคำสำแดงแจ้งคดี                  รูปโยคีหายวับไปกับตา


บทอาขยานบทนี้ ตัดตอนมาจากเรื่อง  พระอภัยมณี  ตอน สุดสาครเข้าเมืองการะเวก มี<p></p>

"วรรคทอง" อยู่ ๒ บท บทแรกสอนให้นักเรียน "รู้จักระมัดระวังในการคบคน  อย่า

ไว้ใจคนจนเกินไป อาจทำให้พลาดพลั้งเสียทีได้"

บทที่ ๒(อักษรสีแดง)  บทนี้เราต้องย้ำเน้นกับนักเรียนให้เข้าใจว่า เพราะ ถ้าตีความ

แล้ว อาจจะขัดกับหลักธรรมทางพุทธศาสนา ที่สอน ให้ชาวพุทธรู้จักการให้

อภัย  รักผู้อื่น   มีความเมตตา ด้วยการ แผ่เมตตาอยู่เสมอ ๆ  ไม่ได้สอนให้เรา 

"เกลียดคนที่เกลียดเรา" หรือให้กระทำกับผู้อื่นแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน (จาก

วรรค "แม้นใครรักมั่ง ชังชังตอบ) หรือสอนให้เป็นคน "เห็นแก่ตัว"(จากวรรค รู้รักษาตัว

รอดเป็นยอดดี) ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องอธิบายให้นักเรียนเข้าใจ เพื่อให้

นักเรียนตัวน้อยของเรา "คิดบวก"


อีกประการหนึ่งที่ครูอิงย้ำเน้นกับลูกศิษย์ตัวน้อย คือ การนำพระราชดำรัส สมเด็จพระ

เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ซึ่งพระราชทานในการประชุมคณะกรรมการ

การศึกษาโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ  เมื่อ วันอังคารที่  ๓ ธันวาคม  ๒๕๒๘ มาอ่าน

และอธิบายให้นักเรียนฟัง ดังนี้

  " ปัจจุบันไม่นิยมให้เด็กท่องจำเพราะคิดว่าเป็นการให้เด็กท่องจำอย่างนกแก้ว

นกขุนทอง โดยไม่รู้ความหมายและเหตุผล แต่ในความเป็นจริง การอ่านออก

เสียง และอ่านท่องจำมีประโยชน์หลายประการ เช่น การอ่านออกเสียงดังๆ จะ

ทำให้เด็กสามารถ พูดและออกเสียงได้คล่องแคล่วชัดเจน  การท่องจำเป็นการ

ลับสมองอยู่เสมอ ทำให้มีความจำดี การเลือกสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ให้เด็ก

ท่องจำ จะเกิดประโยชน์กับเด็กมากกว่าการให้เด็กท่องจำข้อความไร้สาระจาก

บทโฆษณาต่างๆ เพราะธรรมชาติของเด็ก จะช่างจดจำอยู่แล้ว ถ้าให้ท่องจำใน

สิ่งที่เป็นความรู้  หรือเป็นประโยชน์ สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้โดยครู

อธิบายความหมายให้เข้าใจเสียก่อนก็จะเป็นประโยชน์แก่เด็กเป็นอันมาก  บท

ท่องจำทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองนั้น จะเป็นตัวอย่างให้เด็กนำไปใช้เพื่อการแต่ง

หนังสือต่อไป เด็กที่ท่องบทร้อยกรองได้แล้ว ต่อไปจะสามารถแต่งบทร้อยกรอง

ด้วยตัวเองได้ เพราะคุ้นเคยและชินกับคำคล้องจอง นอกจากนี้เด็กจะได้สำนวน

ภาษาที่ดีจากบทท่องจำต่างๆด้วย"


<h4>  <iframe width="220" height="115" src="http://www.youtube.com/embed/xlXJEAZxgrQ?rel=0&autoplay=1" frameborder="0" allowfullscreen=""></iframe></h4><p></p>

หมายเลขบันทึก: 536181เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2013 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2013 07:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อาขยานตอนนี้ ผมจำไม่ได้ว่าเป็นพระอภัยมณีตอนใด จำได้แต่ว่า ตอนสุดสาครตกไปในเหวแล้วพระเจ้าตามาช่วยและสอนเรื่องการไว้ใจคน  และในจำนวน  ๕  บทนี้  ผมจำได้แต่ ๓ บทกลาง คือ จำตอนที่พระฤษีมาและไปไม่ได้ครับ   ผมจำบทกลาง ๆ เพราะเข้าใจ ซึ้งใจ และอิ่มใจกับกลอนบทเหล่านี้ดี แม้ในปัจจุบัน บางครั้งบางครา ยังนำมาสอนใจตัวเองอยู่เสมอ ๆ ครับ ของคุณครูอิงค์ ครับ 

จำเรื่องพระอภัยมณีได้หลายตอนมากเลยครับพี่

พระองค์ท่านเป็นนักการศึกษาที่ยอดเยี่ยมมากนะคะ ย้อนมาคิดถึงตัวเองก็จำได้ว่าน่าจะเป็นเพราะการที่เราได้ท่องกลอนต่างๆแบบรู้ความหมายนี่เองค่ะ พอจำขึ้นใจ ซาบซึ้งกับเนื้อหา เวลาเราต้องคิดอะไรคล้องจอง ก็กลายเป็นกลอนออกมาได้ แม้จะไม่ใช่นักกลอน และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง ชัดเจนนะคะ

หากจะให้ถูกต้องตามหลักธรรม .. น่าจะแก้ไข เป็นดังนี้
แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ .. แก้เป็น .. #แม้นใครรักใครชังเมตตาตอบ
ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา 
รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา
รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี .. แก้เป็น .. #รู้รักษาศีลธรรมรอดเป็นยอดดี

หากจะให้ถูกต้องตามหลักธรรม .. น่าจะแก้ไข เป็นดังนี้
แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ .. แก้เป็น .. #แม้นใครรักใครชังเมตตาตอบ
ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา 
รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา
รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี .. แก้เป็น .. #รู้รักษาศีลธรรมรอดเป็นยอดดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท