วิธีดัก"กบ"โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น


ปลาหมอตกเป็นเหยื่อ"อีแอบ"

สมัยที่ข้าพเจ้าเป็นครูใหม่ๆ ปี 2519 บรรจุเป็นครูอยู่ชนบทได้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของนักเรียนหลายรูปแบบซึ่งแตกต่างกับเด็กยุคปัจจุบันมากโดยเฉพาะความเป็นอยู่ การทำมาหา่กินในสมัยนั้น หลังจากเลิกเรียนแล้วนักดเรียนส่วนใหญ่จะออกไปหาจับสัตว์ต่างๆ เช่น ปลา กบ หนู เพื่อนำมาทำอาหารช่วยเหลือครอบครัว แต่เด็กสมัยนี้เลิกเรียนแล้วจะอยู่กับร้านเกมส์

                  ข้าพเจ้าขอนำเสนอวิธีการจับกบโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่ได้เรียนรู้มาจากเด็กนักเรียนในชนบทข้าพเจ้าได้ทดลองมาแล้วได้ผลดีมาก ตามวิธีัการ****

                   **หาอุปกรณ์ที่ใช้ดักเรียกว่า"อีแอบ" ซึ่งเป็นวัสดุที่สานด้วยไม้ไผ่ลูกใหญ่พอประมาณ

                   **เลือกแหล่งบริเวณที่อยู่อาศัย(บริเวณน้ำไหลหรือที่มีน้ำขัง)

                   **นำปลาหมอเป็นๆประมาณ3-5 ตัวใส่ไว้ใน"อีแอบ"แล้วนำไปวางไว้บริเวณที่กล่าวมาข้างต้นเอาหญ้าคลุมไว้เปิดปาก"อีแอบ"ไว้ทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งเช้าเปิด"อีแอบ"ดูเจอกบจำนวนมากเข้าไปอยู่ใน"อีแอบ"

ปลาหมอก็ยังอยู่นะ ปลาหมอนั้นแหละที่เป็นตัวเรียก"อีแอบ"เข้ามาอยู่ด้วยกัน เป็นวิธีการที่จับกบง่ายที่สุด  ลงทุนก็น้อย

คำสำคัญ (Tags): #ชุมชน11
หมายเลขบันทึก: 53588เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2006 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
เป็นวิธีแปลกดีนะ คิดว่าคงใช้ได้กับเศรษฐกิจพอเพียง
ชอบกินกบผัดกะเพราค่ะ ตอนที่มาเยี่ยมโรงเรียนได้ซื้อกล้วยสุกทอดที่ชุมชนข้างโรงเรียนไป ติดใจมากจนต้องฝากคนมาซื้อให้ 2 ครั้งแล้วค่ะ ไม่หมดไม่เลิกกิน มีเจ้าหน้าที่ที่มหาวิทยาลัยบอกว่า เขาเรียกกันว่ากล้วยเบรกแตก กินแล้วหยุดไม่ได้ค่ะ
นี่แหละภูมิปัญญาไทย..ที่หลายๆๆคนมองข้ามไป..อย่าลืมถ่ายทอดรายละเอียด  " อีแอบ "  ให้นักเรียนทำดูนะครับ (สร้างงาน  สร้างอาชีพ  ของจริงนะเนี่ย)
เขียนสิ่งที่ดีๆมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอีกนะครับ

ดีมากๆ จากเด็กเกม ประโคนชัย

อีแอบ ทางบ้านผมมีขาย แต่กบตามทุ่งนาหายาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท