น้ำผลไม้.... รักษาโรคหัวใจได้..........จริงหรือไม่


มีโอกาสคุยกับผู้ป่วยวัย 30 ปี ที่มารักษาโรคผนังกั้นหัวใจรั่ว..

จะผ่าตัดปิดรูรั่ววันที่ 8 พ.ค. 56

ดูจากประวัติ เธอได้รับคำแนะนำให้ผ่าตัด เมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา.....แต่ทั้งเธอและแม่ปฏิเสธ...จนมาถึงปีนี้อาการเหนื่อยมีมากขึ้น ไม่สามารถทำกิจกรรม ทำงานต่างๆ ได้เหมือนเดิม 

 เดินมากหน่อย ก็เหนื่อย          ทำงานบ้านก็เหนื่อย...

ไม่ต้องถามว่าขึ้นบันไดบ้านได้หรือไม่   .......มีความรู้สึกทนทุกข์ทรมาน......จึงตัดสินใจมารับการผ่าตัด....

      เมื่อถามถึงเหตุผลของการปฏิเสธในครั้งนั้น.......แม่บอกว่า รู้สึกกลัว...กังวล....กับการผ่าตัด 

ประกอบกับคิดว่า...ยังพออยู่ได้......

ประกอบกับได้คุยกับเพื่อนบ้าน ได้ยินเสียงโฆษณาทางวิทยุ...ถึงสารพัดประโยชน์ของน้ำผลไม้ ในการรักษาโรคได้สารพัด  ทั้งเบาหวาน ความดัน โรคไต  รวมถึงอาการเหนื่อยง่าย....ซึ่งคิดว่าเกิดจากโรคหัวใจ....

           เสียงสัมภาษณ์ผู้ที่มีประสบการณ์ในการกินน้ำผลไม้สารพัดประโยชน์ ดังอยู่ทุกๆวัน.....เพื่อนบ้านคุยให้ฟังถึงอาการต่างๆ ที่ดีขึ้น...เธอและแม่จึงอยากลองรักษาแบบบนี้ดู

น้ำผลไม้ราคาขวดละ 1500 บาท ถ้าซื่้อ 3 ขวดลดราคาเหลือขวดละ 1300 บาท กินเดือนละ 1-2 ขวด แล้วแต่อาการ  บางคนหมดเงินเป็นหมื่นๆ ....คาดหวังว่าทุกอย่างคงดีขึ้น

แม่เธอบอกว่า ..เพื่อนบ้านหลายคนมีอาการดีขึ้น ทั้งเบาหวาน ความดัน โรคไต

แต่โรคหัวใจของลูก.......ไม่ดีขึ้น.......มีแต่จะทรุดลง...ปีนี้เลยตัดสินใจผ่าตัด..ยอมเสี่ยง.....

ทั้งๆ ที่รู้ว่ามีความเสี่ยง...แต่ก็ดีกว่า..การที่ไม่มีทางเลือกให้เสี่ยง.......

ตัดสินใจผ่าในครั้งนี้...ดีกว่ารอให้อาการเป็นมากกว่านี้..แล้วจะฟื้นตัวได้ช้ากว่านี้


..การปฏิเสธการผ่าตัดครั้งนั้น...การเลือกรักษาแบบนั้น..เป็นสิ่งที่ถูกหรือผิด......ไม่มีใครบอกได้

ทุกคนมีสิทธิที่จะเลือกในสิ่งที่ตนเองคิดว่าเหมาะสมกับตนเองในขณะนั้น....

ทีมผู้ดูแลมีหน้าที่ในการให้ข้อมูล ...เพื่อให้เขาใช้ประกอบในการตัดสินใจเลือก

บางอย่างต้องใช้เวลา...ใช้ประสบการณ์ตรง........จึงจะสามารถตัดสินใจได้



หมายเลขบันทึก: 534948เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2013 06:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2013 06:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

คนไข้ตัดสินใจเอง  รับผิดชอบเอง

เวลาช่วยได้  เราก็สบายใจนะคะ

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์


ทพญ.ธิรัมภา


 การให้คนไข้มีโอกาสได้ตัดสินใจ พิจารณาทางเลือก ก็เป็นสิ่งที่เหมาะที่ควร

เพียงแต่ว่าบางครั้งการให้เขาได้พูดคุยกันในกลุ่มผู้ป่วยด้วยกันเอง (ถ้าโอกาสอำนวย)

ก็จะช่วยให้เขาตัดสินใจได้เร็วขึ้น และจะเป็นผลดีสำหรับตัวเขาเองด้วย


ขอบคุณที่มาเยือนคะ

ใส่ใจร่วมกัน..ชื่นชมแบบอย่างเช่นนี้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท