นำความรู้มาจัดการ ยืนยันโดยงานวิจัย


โครงการจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชนกำลังขับเคลื่อนอย่างมีหลักการและทิศทางตามข้อสรุป(ความรู้และข้อเสนอแนะ)ของโครงการวิจัยแรก(ซึ่งกำลังทำในสิ่งที่โครงการวิจัยเห็นว่ายังมีความรู้ไม่ชัดเจนนักด้วยคือ กลไกในการขับเคลื่อนกลุ่ม?)

เมื่อวาน(13ต.ค.)ผมเข้าร่วมประชุมชุดโครงการวิจัยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอ.อภิชัย พันธเสนเป็นผู้ประสานงาน
มี 4 โครงการมาเสนอรายงานความก้าวหน้าและร่างรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ซึ่งน่าสนใจมาก

มีความรู้จาก 2 โครงการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชนอย่างน่าสนใจคือ
1)โครงการศึกษาเศรษฐกิจนอกภาคทางการในเขตเมืองเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงโดย   รศ.ดร.นฤมล นิราธรและคณะ
2)โครงการวิจัยและพัฒนาระบบการแลกเปลี่ยนชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองโดยรศ.ดร.ปัทมาวดี        โพชนุกูล ซูซูกิและคณะ

โครงการแรกครอบคลุมประชากรเป้าหมายจำนวน70%โดยใช้กรณีศึกษาที่กรุงเทพในเขตดินแดง  ได้ความรู้ว่า
รูปแบบการบริหารจัดการกิจกรรมเศรษฐกิจนอกภาคทางการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงทั้งระดับบุคคล/ครอบครัวและกลุ่มคือ

1)การออมจากการลดรายจ่าย
2)การใช้ระบบความสัมพันธ์เชิงสังคมในการจัดการเศรษฐกิจ
3)การจัดการในรูปแบบการรวมกลุ่ม โดยมีเงื่อนไขระดับครอบครัวคือสมาชิกมีความสัมพันธ์ที่ดี ภายในครอบครัว ระดับกลุ่ม มีกระบวนการเรียนรู้และมีพี่เลี้ยง

สำหรับข้อเสนอเชิงนโยบายที่สำคัญคือ
รัฐควรพัฒนานโยบายเพื่อสร้างหลักประกันทางสังคมให้กับกลุ่มคนเหล่านี้
ข้อเสนอเชิงปฏิบัติการที่สำคัญคือ
1)เสริมการบริหารการเงินอย่างเหมาะสมตามฐานความรู้
2)สนับสนุนผ่านกลุ่ม เพื่อเป็นฐานเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนวิธีคิด เพิ่มพูนความรู้
3)ฟื้นฟูสถาบันครอบครัวและศาสนาในการปลูกฝังการเรียนรู้เรื่องคุณธรรม
4)มีChange Agent(คุณอำนวย)จัดกระบวนการเรียนรู้

ผมเลือกหยิบรายงานและการนำเสนอของนักวิจัยที่สอดรับกับงานที่ผมกำลังดำเนินการอยู่มาเล่าให้ฟัง ถ้าอยากรู้จริงๆต้องอ่านรายงานฉบับเต็มครับ

ผมพบว่า งานจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชนคือปฏิบัติการของความรู้และข้อเสนอที่ได้จากโครงการวิจัยนี้ โดยมีประชากรเป้าหมาย(การดำเนินงานในรูปแบบกลุ่มในเรื่องการเงิน)มากกว่า100,000กลุ่ม โดยใช้กรณีศึกษาใน 5 พื้นที่และที่ร่วมกับหน่วยงานในจังหวัดนครศรีธรรมราชดำเนินการใน3ตำบลเป็นหัวขบวนในการขับเคลื่อน

ผมเห็นว่าการดำเนินงานของกลุ่มการเงินชุมชนมี2ปีกสำคัญคือ
1)ปีกตามกลไกของระบบทุนที่ต้องการพัฒนาเป็นสถาบันการเงินของชุมชน จำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่รู้ทันระบบทุน
2)ปีกด้านสวัสดิการสังคม ต้องใช้การออมจากการลดรายจ่าย ระบบความสัมพันธ์เชิงสังคมและศาสนธรรมเป็นแนวทาง

โครงการกำลังใช้แนวทางสัจจะลดรายจ่ายวันละ1บาททำสวัสดิการภาคชุมชนในปีกที่2ซึ่งเป็นทั้ง  เป้าหมายและเครื่องมือในการสร้างประสิทธิภาพให้กับปีกที่1โดยใช้การจัดการความรู้คือ กระบวนการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมายโดยมีคุณอำนวยเป็นพี่เลี้ยงซึ่งเชื่อมโยง/ผลักดันให้เกิดนโยบายการสร้างหลักประกันทางสังคมโดยการเป็นหุ้นส่วนสมทบทุนจากรัฐบาลและอปท.

สงขลาและลำปางคือหัวขบวนของเรื่องนี้เพื่อขับเคลื่อนกองทุนหมู่บ้านที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ

ผมเห็นว่าโครงการจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชนกำลังขับเคลื่อนอย่างมีหลักการและทิศทางตามข้อสรุป(ความรู้และข้อเสนอแนะ)ของโครงการวิจัยแรกอย่างมีพลัง (ซึ่งกำลังทำในสิ่งที่โครงการวิจัยเห็นว่ายังมีความรู้ไม่ชัดเจนนักด้วยคือ กลไกในการขับเคลื่อนกลุ่มเป็นอย่างไร?   ด้วยกระบวนการจัดการความรู้)

คำสำคัญ (Tags): #แนวคิด#วิจัย
หมายเลขบันทึก: 5349เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2005 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อ่านข้อเขียนของ km4fc  แล้ว ได้ข้อคิดที่สอดคล้องกับความตั้งใจที่ว่าถ้าเรามองเห็นว่าอะไรดี และถูกต้องเป็นที่ประจักษ์ของสังคม เช่นการที่มีระบบการเงินชุมชน สวัสดิการชุมชนโดยชุมชนนั้น น่าจะเป็นสิ่งที่สามารถสร้างตามกันได้ แม้จะไม่มีงานวิจัยสรุปผล หรือมีการศึกษาวางทฤษฏีไว้ให้ และ ขบวนการลปรร. จะทำหน้าที่เป็นการวิจัย และแสดงผลงานวิจัยได้เป็นอย่างดี
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท