534. ปาฏิหาริย์ของ "ความขาดแคลน"


เราคงทึ่งถึง Iphone และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นรอบตัวเราในปัจจุบัน รวมทั้งที่กำลังจะตามมาในอนาคต จริงๆแล้ว ว่ากันตามประวัติศาสตร์ เราก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากๆ แบบก้าวกระโดด ก็ตั้งแต่เจมส์ วัตต์คิดเครื่องยนค์ไอน้ำสำเร็จเมื่อปี 1781 นับจากนั้นมาจนถึงปีนี้ 2013 คือ 232 ปี เราก็มี Iphone ใช้ ไปไหนก็สะดวก เรากำลังจะไปดาวอังคารราวๆ ปี 2023 ครับ ผมเชื่อว่าถ้าผมยังมีชีวิตอยู่ จนอายุถึง 80 ปี คงได้เห็นอะไรน่าทึ่งอีกมาก

จริงแล้ว ถ้าย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ 2000 ปีก่อน  ในเมืองอเล็กซานเดรีย มีนักวิทยาศาสตร์ยุคโบราณ เชื่อ ฮีโร่ (Hero of Alexandria) ท่านมีชีวิตอยู่ระหว่างค.ศ. 10-70  ท่านผู้นี้เคยประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำได้ครับ ทำมาหลายอย่าง คนๆนี้เป็นคนเดียวกันกับคนที่คิดสแควร์รู๊ท  ท่านคิดไว้หลายอย่าง มีปั๊มด้วย สมัยนั้นเอามาทำเป็นกลไกเปิดประตูวิหาร มีการเอามาประยุกต์ จนกลายเป็น “เครื่องหยอดเหรียญ” เครื่องแรกของโลก ใช้สำหรับเป็นเครื่องซื้อตั๋วหน้าโรงละครกรีก

                   

                          Cr: http://www.yannminh.org/french/CtTempleHeron.html


น่าแปลกใจที่กลไกดังกล่าวสูญหายไป นับพันปี จนมีการค้นพบอีกครั้งเมื่อ 1781 ส่งผลให้เรามี Iphone ในทุกวันนี้

ในมุมมองของผมจริงๆ แล้ว ถ้าเราคิดแบบบัญญัติไตรยางค์ เอาเป็นเรื่องดวงจันทร์ดีกว่า ถ้าเราสามารถขึ้นไปดวงจันทร์ได้  ราวๆ 200 ปีหลังการสร้างเครื่องจักรกลไอน้ำของเจมส์ วัตต์  ถ้าสมัยโบราณ คนสมัยนั้นเห็นความสำคัญของเครื่องจักรไอน้ำ เราน่าจะได้ขึ้นดวงจันทร์ไปตั้งแต่ คศ. 200 ก่อนอาณาจักรโรมันจะล่มสลาย

และปัจจุบันผมคงอยู่ในจักรวาลที่ไหนซักแห่ง เพราะผมไปเป็นอาจารย์รับเชิญที่กาแล็กซี่ แอนโดรมีด้า ผมคงมีเพื่อนเป็นมนุษย์ต่างดาวตาโต ที่นัดกันไปกินกาแฟ ที่จุดนัดพบบนดาวยูโรป้า ของดาวเสาร์ เป็นประจำ เพราะมีร้านกาแฟดังที่สุดในจักรวาลที่นั่น เพื่อบอกเพื่อนว่าสัปดาห์ต่อไป จะมาไม่ได้ เพราะต้องพาลูกไปเข้าค่ายปฏิบัติธรรมที่กาแล็กซี่อัลฟ่า เซ็นจูรี่ย์ (จักรวาลที่ไกล้กับจักวาลทางช้างเผือกของเรามากที่สุด)  ที่นั่นมีชื่อมาก และไม่ไกลด้วย (ลูกสาวพึ่งจะเดินทางข้ามจักวาลครั้งแรก เลยไม่กล้าให้ไปไกลนัก)

คำถามคือทำไมผมยังมาสอนอยู่ในกรุงเทพ ในขอนแก่น แทนที่จะเป็นเดินทางไปสอนในจักรวาลอื่น ทำไมยังมานัดเพื่อนที่ Starbucks แทนที่จะเป็นร้านกาแฟชื่อดังที่ยูโรป้า ดวงจันทร์ของดาวเสาร์


                           

                         Cr: http://oinkandjibber.com/whos-up-for-a-one-way-trip-to-mars/


คำตอบคือการพัฒนาเทคโนโลยีต่อเนื่องจากเครื่องจักรไอน้ำยุคนั้นมันหยุดไปครับ แล้วสาเหตุที่เทคโนโลยีนี้สูญหายไปก็คือ สมัยนั้นมีแรงงานเหลือเฟือครับ เรามีระบบทาสที่รองรับทุกอย่าง ผู้ปกครอง หรือผู้มีอำนาจยุคนั้นเลยไม่สนับสนุนครับ เครื่องจักรไอน้ำกลายเป็นเพียงของเล่น ไม่มีใครจริงจังกับมันมากนัก ที่สุดมันก็สูญหายไป

เหตุผลง่ายๆ คือ เรามีแรงงานเหลือเฟือ พูดง่ายๆ เกือบฟรีครับ แถมไม่มีปากมีเสียงอีก 

กลายเป็นว่า ความอุดมสมบูรณ์ของเราเมื่อยุคนั้น ทำให้เราไม่สามารถสร้างปาฏิหารย์ได้ครับ

ต่อมาแรงงานหายากมากขึ้น ไม่ฟรี มีปากมีเสียง การพัฒนาเครื่องทุ่นแรง กลายเป็นสิ่งที่ผู้มีอำนาจทางการเงินกับการเมืองสนับสนุนครับ ที่สุดเราจึงได้ไปดวงจันทร์ (ช้าไปเกือย 2,000 ปี)

เมื่อราวๆปี 90 เริ่มมีนักวิชาการของโลก มองเรื่องนี้ครับคือท่านศาสตราจารย์ไมเคิล อี. พอร์ทเตอร์ มองว่า “ความเสียเปรียบ จริงๆ คือความได้เปรียบ”  ครับ

ท่านเริ่มสังเกตเห็นว่าหลายประเทศที่เป็นผู้นำอุตสหากรรมด้านใดด้านหนึ่ง มักเติบโตมาจาก “ความเสียเปรียบ (Disadvatnage)” เช่นอเมริกา เป็นประเทศที่มีภูมิประเทศหลากหลาย แถมซับซ้อน มีเหว มีห้วยเยอะ กลายเป็นความเสียปรียบ แค่ที่สุดก็ธุรกิจก่อสร้างของอเมริกา ก็สามารถพัฒนาโครงการที่ซับซ้อนเพื่อเอาชนะความขาดแคลน หรือความเสียเปรียบนั้น จนกลายเป็นผู้นำด้านการก่อสร้าง ที่ส่งออกเทคโนโลยีไปทั่วโลก

สิงค์โปร์ ไม่มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ของตัวเอง จึงต้องนำเข้าน้ำจากมาเลเซีย ที่ก็น่ากลัวเพราะไม่ค่อยถูกกัน ถ้าถูกตัดน้ำนี่ตายทันที จึงขาดแคลนและเสียเปรียบมากๆ จึงพยายามพัฒนาเครื่องกรองน้ำทะเลของตนเอง ทำไปทำมาตอนนี้ถ้าคุณไปแถบประเทศอาหรับ คุณจะเจอบริษัทสร้างเครื่องกรองน้ำจากน้ำทะเลระดับโลก ที่มาจากประเทศสิงค์โปร์ จะเห็นว่าด้วยความว่าประเทศนี้ต้องเอาชนะความขาดแคลนของตนเอง จนก้าวไกลทางเทคโนโลยี่ได้ในที่สุด

นี่คือสองตัวอย่างที่เห็นครับ ที่เห็นได้ชัดว่าจริงๆ แล้วความขาดแคลนคือความได้เปรียบ  

ความขาดแคลนสร้างปาฏิหารย์ เราไม่ได้ไปดวงจันทร์ตั้งแต่ 2,000  ปีก่อนก็เพราะเรา “ไม่ขาดแคลน” ครับ เราจึงสร้างปาฎิหารย์ไม่ได้

ฟังแล้วรู้สึกดีไหมครับ ผมจะมาเล่าเรื่องความขาดแคลนให้ฟังในมิติอื่นๆ อีก ตรงนี้เป็นภาพใหญ่ ที่สำคัญมีภาพเล็กๆ ในระดับบุคคล ที่สะท้อนว่าแนวคิด ความขาดแคลน เป็นที่มาของสิ่งที่ยิ่งใหญ่จำนวนมาก

ตอนนี้จุดอ่อน ภัยคุกคาม จึงเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากๆ ที่เราจะหันหลับมาพัฒนาให้เกิดเรื่องดีๆ ที่บางครั้ง (ในภาษาธุรกิจ) เราเรียกว่า ความสามารถในการแข่งขันได้ ไม่ว่าจะอะไรก็ตามครับ

แล้วเราจะพบ “ปาฏิหารย์จากความขาดแคลน” จริงๆครับ

อ้างอิง

     http://en.wikipedia.org/wiki/Steam_engine

     http://en.wikipedia.org/wiki/Hero_of_Alexandria

     http://hbr.org/1990/03/the-competitive-advantage-of-nations/ar/1



หมายเลขบันทึก: 534627เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2013 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2013 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรียนอาจารย์ ในความขาดแลน มีโอกาสพัฒนารออยู่ 

สวัสดีครับพี่

เป็นอะไรที่ดีมากๆครับ วันหลังจะเขียนต่อในแง่ของความคิดสร้างสรรค์ รู้สึกว่าตรงกันทั้งในระดับมหภาคและระดับปัจเจกครับ


ผมเคยศึกษาเรื่องการทำให้ ต้นมะนาวออกผลนอกฤดู 
ในทางทฤษฎี บอกว่า เราต้องทำให้ต้นมะนาวรู้สึกว่าตัวมันกำลังจะตาย
ดังนั้นในทางปฏิบัติ เราจึงต้องงดน้ำ และรมควันต้นมะนาวเพื่อให้มันรู้สึกว่ากำลังจะตาย 

แล้วมันจะรีบออกผล เพื่อดำรงเผ่าพันธ์มันไว้

ผมคิดว่าทฤษฎีความขาดแคลนของอาจารย์เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากทีเดียว


คุณสกุลวัฒน์

คนคิดทฤษฎีนี้คือ Michael E. Porter นั่นเองครับ จริงๆเป็นองค์ประกอบหนึ่งของ Diamond Model ที่ต่อยอดมาจาก Five Force อีกที

ลองดูเพิ่มเติมในหนังสือ The Competitive Advantage of the Nation 

ที่ห้องสมุด MBA ก็มีครับ 


ขอบคุณอาจารย์สำหรับ sharing ดีๆนี้เกี่ยวกับปาฏิหารย์ของความขาดแคลน เป็นตัวอย่างที่น่าจะสร้างแรงบันดาลใจ และให้เราเปลี่ยนมุมมอง (Paradigm shift) จากที่มองว่าเรามีแต่จุดอ่อน ให้กลายเป็นโอกาส เป็นกำลังใจอาจารย์ให้เขียนแชร์เรื่องดีๆอีกนะคะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท