เหตุแห่งปัจจัยให้ประสบความสำเร็จในทุกอาชีพ


เรื่อง เหตุปัจจัยให้ประสบความสำเร็จในทุกอาชีพ

อ้างอิงจาก

ชื่อหนังสือ ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู

โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว)

พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2553 หน้า 181-198

  เหตุปัจจัยให้ประสบความสำเร็จในทุกอาชีพ ไม่ว่าการทำงานทุกประเภททุกอาชีพนั้นจำเป็นที่จะต้องให้ศาสตร์เฉพาะทางของอาชีพนั้นแต่จะใช้ศาสตร์หรือความรู้เฉพาะทางหรือเกี่ยวกับอาชีพที่ปฏิบัติเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ จำเป็นจะต้องนำศิลป์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ยกตัวอย่างง่าย ๆ อาทิเช่นการทำอาหารขายซึ่งถือเป็นอาชีพหนึ่งที่จำเป็นมากในสังคม มี แม่ค้าขายข้าวแกงอยู่ 2 คน ซึ่งอาหารที่ทำขายก็จะเป็นจำพวกแกงต่าง ๆ มากมาย แต่ 1 ในแกงที่แม่ค้าจะทำขายเหมือน ๆ กัน คือแกงส้ม ซึ่งเครื่องปรุงก็ครบ มีปริมาณการใส่ที่เท่ากัน มีคุณภาพเหมือน ๆ กันทุกประการ แต่ผลที่ได้ออกมาคือ แกงส้ม 2 หม้อนั้นมีรสชาติที่แตกต่างกัน คือ หม้อที่ 1 รสชาติดี และไม่มีกลิ่นคาวปลาเลย แต่อีกหม้อ รสชาติไม่ดีเพราะมีกลิ่นคาวปลารุนแรงจนไม่มีใครซื้อไปรับประทาน นี่เป็นแค่ตัวอย่าง เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ยกมาเล่าให้ฟัง

   จะขอยกอีกหนึ่งอาชีพที่ถือได้ว่าจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ควบคู่กันไป คือ อาชีพความเป็นครู ขึ้นชื่อว่า “ครู” แน่นอนนักเรียนทุกคนจะต้องคิดว่าครูจะต้องมีความรู้มากมายต้องรู้ไปหมดทุกเรื่องและสามารถตอบคำถามที่นักเรียนถามได้ทุกอย่าง แต่แท้จริงแล้วครูไม่ได้รู้ไปทุก ๆเรื่อง แต่ครูจะต้องหมั่นหาความรู้ให้มากถึงมากที่สุด เช่น มีครู 2 คน สอนในรายวิชาเดียวกัน ครูคนที่ 1 สอนโดยใช้ความรู้จากหนังสือเป็นหลัก โดยให้นักเรียนเรียนรู้จากหนังสือเท่านั้น ทำให้นักเรียนเกิดความสับสน เพราะไม่มีตัวอย่างประกอบใด ๆ แต่ครูอีก 1 คน สอนโดยใช้หนังสือเหมือนกันแต่ครูคนนี้ใช้วิธีการวาดภาพบนกระดานให้นักเรียนดูและอธิบายเพิ่มเติม ยกตัวอย่างที่นอกเหนือจากหนังสือที่ให้มาทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นกว่าการที่ครูใช้หนังสือเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ครูจะต้องมีความรู้ในรายวิชาที่สอนอย่างแม่นและต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่ในการสอนนักเรียนแต่ละครั้งนั้นครูจะใช้แต่ศาสตร์ที่มีในหนังสืออย่างเดียวคงไม่เพียงพอ ครูจะต้องนำศิลป์ที่ดีพอมาใช้มาแสดงให้เด็กได้เห็นและสามารถปฏิบัติตามเป็นแบบอย่างได้ เช่น การสอนในหนังสือเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอน่าจะนำศิลป์อื่น ๆ มาใช้ประกอบการสอน เช่น การใช้การแสดงมาประกอบ หรือ ใช้ท่าทาง การนำเอาพฤติกรรมมาแสดงให้เด็กได้เห็น ให้เกิดความกล้าแสดงออก และเด็กก็จะปฏิบัติตาม หรือการทำสิ่งใดก็ตามที่แตกต่างไปจากที่หนังสือมี มาจากความคิดที่คิดขึ้นมาเพื่อแสดงให้นักเรียนได้เกิดความสนใจ และเกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น

  จึงกล่าวได้ว่า ศิลป์ที่แสดงออกมานั้นถือได้ว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่แสดงออกมาแล้วทำให้ผลที่ได้รับแตกต่างกันทำให้เกิดผลดีขึ้นกว่าการที่เราใช้เฉพาะศาสตร์เพียงอย่างเดียว ดังตัวอย่างข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นแม่ค้าทั้ง สองคนที่ผลิตอาหารออกมาแล้วผลผลิตแตกต่างกัน หรือครูทั้งสองคนที่สอนหนังสือเด็กแต่ผลที่นักเรียนได้รับแตกต่างกันก็ตาม ดังนั้น การทำงานทุกอย่างจะเกิดผลสำเร็จเป็นอย่าดีก็เพราะผู้ทำมีคุณสมบัติสมบูรณ์พร้อมทั้งศาสตร์และศิลป์ ดังนั้น ครูผู้ได้ชื่อว่า ปูชนียาจารย์ ก็ต้องมีคุณสมบัติสมบูรณ์พร้อมทั้งศาสตร์และศิลป์ด้วยเช่นกัน

   

                                                                                                         นางสาวรุ้งมณี  พันธุ์พฤกษ์ชาติ

                                                                                                     สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจและวิชาชีพ


คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 534239เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2013 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2013 09:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท