หลักง่ายๆในการแยกพระกรุเนื้อโลหะออกจากพระโรงงาน


ตั้งแต่ผมหัดส่องพระเนื้อโลหะ
ผมได้ยินคนพูกันว่าโลหะโบราณต่างจากโลหะสมัยใหม่
แต่ก็ไม่มีใครที่อธิบายได้ชัดๆว่าทั้งสองอย่างนี้ต่างกันอย่างไร

ทำให้ผมที่ แม้จะพอรู้คร่าวๆ แต่ก็ไม่มีคำตอบที่ชัดเจน
จึงได้แต่ครุ่นคิดทุกครั้งที่ส่องพระเนื้อชินแบบต่างๆ

 

ด้วยความสงสัยถึงความลี้ลับข้อนี้
ผมจึงได้พยายามสืบค้นข้อมูลของเทคนิคการถลุงแร่ต่างๆในสมัยโบราณในหลายแห่งทั่วโลก
ก็ได้ข้อมูลสำคัญว่าในการทำเหมืองถลุงแร่เงินในสมัยโบราณนั้น
เขาจะใช้ตะกั่วเป็นตัวดึงเงินออกจากหินแร่ที่มีแร่เงินเป็นองค์ประกอบ

 

จึงทำให้โลหะไม่ว่าจะเป็นตะกั่วหรือเงินที่ถลุงได้
จะมีตะกั่วกับเงินปนกันเสมอ ไม่มากก็น้อย ที่ต้องมาทำการคัดแยกอีกหลายรอบ
จนบริสุทธิ์มากขึ้นเรื่อยๆ

เทคนิคในการคัดแยกในสมัยโบราณนั้นจะทำได้ไม่ดีนัก
เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ดังนั้น เงินโบราณจึงมักมีตะกั่วปนมาแต่เดิม

เมื่อนำเงิน หรือตะกั่วเหล่านั้นมาทำเป็นพระ
คาดว่าคงจะไม่เน้นการทำเงินหรือตะกั่วให้บริสุทธิ์มากนัก คงจะมีการปะปนมาพอสมควร และพระเนื้อตะกั่วก็อาจจะมีโลหะเงินปนอยู่เช่นกัน

 

นี่คือหลักการที่จะใช้แยกความแตกต่างของโลหะใหม่ที่ใช้ทำพระโรงงานที่มักมาจากโลหะที่ค่อนข้างบริสุทธิ์
และการผสมแบบใหม่เนื้อก็จะเข้ากันดี ไม่แยกกันอยู่เหมือนการหล่อแบบโบราณ

 

แต่ถึงแม้จะพยายามทำเลียนแบบโลหะโบราณ
ก็จะมีปัญหาการเกิดสนิมของตะกั่วที่พัฒนาได้ค่อนข้างช้า
ทำยังไงก็จะยังไม่เกิดสนิมไข หรือสนิมแดงแบบพระโบราณ



และความพยายามของช่างที่จะทำสนิมเลียนแบบตะกั่วก็จะต้องใช้กรดกัดโลหะให้เกิดขุมสนิม
ก็จะเป็นสนิมแห้งๆ ไม่ฉ่ำแบบสนิมไขและสนิมแดง

 

ยิ่งถ้าพยายามจะใช้สีโปะแทนสนิม
ก็จะดูสีเพี้ยนๆ ไม่ฉ่ำ ไม่หลากอายุอยู่ดี


สนิมไข สนิมแดง และสนิมตีนกา ในพระเนื้อเงิน

สนิมไขอยู่ในขุม

สนิมหลากหลายในพระเนื้อเงิน

สนิมแดงบนผิวพระเนื้อเงิน

 

ความแตกต่างเหล่านี้เอง ทำให้ผมคิดได้ว่า
ต้องพยายามสังเกตสนิมแดง และสนิมไขของตะกั่ว ในพระเนื้อเงิน
ที่จะต้องมีสนิมตีนกาดำๆ เป็นหลัก ที่ก็ทำยากพอสมควรอยู่แล้ว
และยังต้องสร้างขุมสนิมฉ่ำๆ และสนิมแดงหลากอายุไปพร้อมๆ และกลมกลืนกัน
จึงน่าจะเป็นงานที่ยากและซับซ้อนสำหรับช่างทั่วไป
ที่น่าจะมีน้อยที่ทำได้เนียนจริงๆ หรืออาจไม่มีเลยก็ได้ เพราะยังต้องแต่งขอบ
แต่งพิมพ์อีกหลายจุด



ดังนั้น ถ้าเราใช้หลักเกณฑ์นี้ในการส่อง
น่าจะมีความปลอดภัยสูงมากทีเดียวที่จะก้าวข้ามพระเก๊จากโรงงานไปหาพระกรุเนื้อโลหะแท้ๆได้



เมื่อได้หลักการนี้ ผมจึงไปไล่ส่องพระเพื่อการฝึกอ่านเนื้อให้เป็น



ทั้งเนื้อเงิน เนื้อตะกั่ว
และเนื้อสำริดที่มีเงินเป็นองค์ประกอบ และนำมาปรับใช้ในการดูเนื้อพระโลหะเก่าๆ แบบ
"พระกรุโบราณ" โดยการสังเกตความเหี่ยวของเนื้อเงินจากการกร่อนและการเกิดสนิม



และมีโลหะหลากชนิด ก็จะทำให้การเกิดสนิมหลากหลาย
ทับซ้อน หลากระดับของโลหะผสมเดิมๆแบบโบราณ ของ พระกรุโบราณที่จะมีร่องรอยการกร่อนในกรุ
และการกร่อนนอกกรุ พระองค์ใดที่มีผิวเป็นโลหะชนิดเดียว เดี่ยวๆ สนิมลอยๆ บนผิว
มักเป็นพระเก๊แต่งผิว



และในทางกลับกัน พระเนื้อตะกั่วก็มักจะมีโลหะเงิน(ดูที่สนิมตีนกา)ผสมอยู่อย่างกลมกลืนกัน
และฝังอยู่ในเนื้อ จึงจะมั่นใจได้มากกว่า สนิมลอยๆมา โอกาสเก๊สูงมากเพราะเป็นวิธีการของการทำพระโรงงาน



สำหรับวิธีการดูจากระยะไกลนั้น อาจใช้หลักการดูพระแท้ “เหี่ยว ฉ่ำ
นวล” ก็ยังใช้ได้ครับ



แค่นี้เอง



หลักการส่องแบบนี้น่าจะรอดจากพระเก๊ได้โดยง่ายครับสนิมตีนกาและสนิมแดงปะปนกัน เห็นเมื่อไร
รีบหยิบทันที



แต่ในกรณีพระเนื้อสำริดแก่เงิน
หรือมีเงินมากพอสมควรนั้น ผิวพระจะมีสนิมตีนกา สนิมหยก และสนิมน้ำหมากให้เห็น



ที่เราจะต้องพยายามอ่านเนื้อให้ออกก่อนการหยิบอ่านออกแล้ว
ก็หยิบได้ อ่านไม่ออกวางเลยครับ



ง่ายๆแค่นี้เอง ครับผม



นี่คือหลักของการใช้หลักการอ่านส่วนผสม
ผ่านสิ่งที่มองเห็นในเนื้อพระครับ



ถ้าลองอ่านพระที่ท่านมีอย่างที่ผมแสดงให้ดู
แล้วจะเข้าใจ และชำนาญขึ้นโดยลำดับครับ



เวลาลงสนามจะคล่องครับ



หมายเลขบันทึก: 534123เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2013 22:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2013 00:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บทความนี้ชัดเจนมากครับ ภาพชัดเจน รู้ว่าไหนคือสนิมตีนกา สนิมแดง สนิมไขในหลุม สุดยอดครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท