คุณหมออรุณ (URSULA LOWENTHAL)


                                                    

 

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หมออรุณ (URSULA LOEWENTHAL) PUBLIC HEALTHOFFICE IN NONG BUA : HISTORY OF MY
LIFE AND SERVICE,TUE  19 AUG 2008 21:33:45 +0100

สมหมาย  ฉัตรทอง : แปลเรียบเรียงเรื่องจากการติดต่อกับหมออรุณ ทาง E mail โดยตรง ที่ประเทศอังกฤษ ได้รับ

                              Email Addressของคุณหมออรุณ จากคุณอรุณ โลหะเวช ข้อมูลนี้จึงเป็นข้อมูลเบื้องต้น

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

       ชาวไทยโดยเฉพาะชาวหนองบัวรู้จักฉันในชื่อว่า หมออรุณ ฉันมีชื่อจริงว่า Ursula Loewenthal เกิดเมื่อวันที่  30 สิงหาคม  พ.ศ. 2470  คุณพ่อและคุณแม่เป็นยิว  เกิด ณ เมือง BRIEG รัฐ SILESIA ในสมัยนั้นเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมัน  ในปี พ.ศ. 2488 (1945)  หลังสงครามโลกครั้งที่ 2  กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศโปแลนด์ 
ครอบครัวฉันหนีสงครามล้างเผ่าพันธ์ของเผด็จการฮิตเลอร์ไปอยู่ประเทศอังกฤษ  ในปี พ.ศ.
2481 (1938)

       ฉันเรียนหนังสือที่ประเทศอังกฤษ เมื่อจบไฮสคูลแล้วเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2488 (1945)  ศึกษาภาษาฝรั่งเศสในกรุงลอนดอน  ระหว่างศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยปีที่ 1  มีความรู้สึกเรียกร้องให้ฉันเรียนหมอเพื่อจะออกไปทำงานกับมิชชั่นนารี หลังจากนั้นฉันจึงศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ที่วิทยาลัยเทคนิค (TECHNICAL
COLLEGE)  และไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล  จนกระทั่งจบการศึกษาเป็นแพทย์ในเดือนมิถุนายน 2496 (JUNE,1953)  ได้รับปริญญา M.B,Ch.B.

       ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 (1955)  เดินทางจากประเทศอังกฤษในฐานะสมาชิกของสมาคมมิชชันนารีโพ้นทะเล  ซึ่งมิชชั่นนารีคณะนี้ มาถึงครั้งแรก ณ สำนักงานใหญ่ ที่ประเทศสิงค์โปร์ หัวหน้ามิชชั่นนารีเป็นผู้ตัดสินใจว่าฉันควรไปประเทศใดและตัดสินให้ฉันมาประเทศไทย

       ฉันเริ่มศึกษาภาษาไทยที่นั่น  จากนั้นจึงเดินทางมาถึงประเทศไทยในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2499 (APRIL 
15 th, 1956)  อยู่ในกรุงเทพฯ ประมาณ 1 เดือน  และอีก 2 เดือนที่จังหวัดอุทัยธานี 
ก่อนสอบเพื่อรับใบประกอบโรคศิลปะที่กระทรวงสาธารณสุข  สอบได้ใบประกอบโรคศิลปะ ว.
1958  ลงวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2499 (AUGUST 1956)

       ปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958)  ฉันได้ย้ายไปปฏิบัติงานที่คลีนิคคริสเตียน
อำเภอวิเศษชัยชาญ  จังหวัดอ่างทอง แต่ต้องไปช่วยปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลคริสเตียนมโนรมย์  และคลีนิคคริสเตียนที่อำเภออินทร์บุรี  จังหวัดสิงห์บุรีเป็นครั้งคราวด้วย 

       ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2501 (December 1958) ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2503 (May 1960) ได้ย้ายไปอยู่ภาคใต้ของประเทศลาวเพื่อไปดูแลชนกลุ่มน้อยที่นั่น  แล้วเดินทางกลับประเทศอังกฤษ  เพื่อรายงานผลต่อศาสนจักร  ระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2503  ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2504 (May 1960 – May 1961) 
ในระยะนั้นคอมมิวนิสต์จากประเทศเวียตนามเริ่มรุกรานประเทศลาว  ฉันใช้เวลาในกรุงเทพฯ  เพื่อขอวีซ่าไปประเทศลาว ดังนั้นจึงใช้เวลาหลายสัปดาห์ช่วยงานแพทย์ที่โรงพยาบาลคริสเตียนมโนรมย์  ก่อนที่จะกลับไปประเทศลาว  ในเดือนสิงหาคม  พ.ศ. 2504  (August 1961)  และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2505 (March, 1962)  ถูกเรียกตัวกลับมาโรงพยาบาลคริสเตียนมโนรมย์ ทำหน้าที่ในคณะรักษาพยาบาลในช่วงโรงพยาบาลขาดแคลนแพทย์และตัดสินใจที่จะอยู่ในประเทศไทยตลอดไป

       ในห้วงเวลานี้คณะมิชชั่นนารีมีนโยบายที่จะเปิดคลีนิค  เพื่อขยายเป็นโรงพยาบาลที่หนองบัว  จังหวัดนครสวรรค์ และได้เปิดคลีนิคอย่างเป็นทางการ  เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 (FEBURARY 1963) โดยเช่าห้องแถว 5 ห้องที่สี่แยกริมถนนในตลาดหนองบัว จนกระทั่งสร้างโรงพยาบาลคริสเตียนหนองบัว 
บนที่ดินที่มีผู้อุทิศให้
7 ราย แล้วเสร็จ  ตั้งอยู่ห่างจากตลาดไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1,500  เมตร  จึงได้ย้ายไปดำเนินการในสถานที่ใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2511

       ในระยะแรกหมอจอห์น  ตูป (DR. JOHN TOOP) มีหน้าที่รับผิดชอบ และฉันเป็นผู้ร่วมงานด้วย หลังจากนั้นสองสามสัปดาห์ต่อมาคุณหมอจอห์น ตูป  ย้ายไปอยู่โรงพยาบาลสายบุรี  จังหวัดปัตตานี  ฉันจึงอยู่รับผิดชอบคนเดียว  ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2506(JUNE 1963)  เป็นต้นมา

        พ.ศ. 2508  ถึงธันวาคม พ.ศ. 2509  (DECEMBER 1965 – DECEMBER 1966) ฉันกลับไปประเทศอังกฤษอีก  มีคุณหมอ 2 คน  คือ คุณหมอจอห์น และคุณหมอแอนนี่  ทาวน์เซ่น (DR. JOHN AND DR. ANNE  TOWNSEND) มาปฏิบัติงานแทนในห้วงเวลานั้น

       ปี พ.ศ 2510 (ค.ศ. 1967)  มีการก่อสร้างอาคารสถานใหม่ของโรงพยาบาลคริสเตียนหนองบัว  ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2510  คุณหมอ  RACHEL HILLIER  มาช่วยปฏิบัติงานในฐานะหมอคนที่สอง  และเปิดใช้เป็นโรงพยาบาลใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2511 (FEBRUARY 1968)    (ฉันคิดว่าพิธีเปิดน่าจะเป็นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511)

        ในปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) หมอฮิลเลอร์และครอบครัวเดินทางกลับอังกฤษ

        ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2514  (APRIL 1971) ฉันก็กลับประเทศอังกฤษ  ต่อมาอีก 1 ปี O.M.F. ส่งหมอสองคนมาปฏิบัติงานต่อ  ชื่อคุณหมอ ASHTON และคุณหมอ GURTLER

         ฉันครบกำหนดกลับมาเมืองไทยในเดือนเมษายน พ.ศ. 2515 (APRIL 1972)  ต้องการที่จะกลับมาหนองบัว  แต่ O.M.F.  ต้องการให้ฉันอยู่ที่โรงพยาบาลมโนรมย์ฉันจึงปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลมโนรมย์แล้วไปอยู่โรงพยาบาลสายบุรี  อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี  ระหว่างกรกฎาคม  พ.ศ. 2515 (JULY 1972)  ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2516  (NOVEMBER 1973)

        ต่อมา O.M.F. ตัดสินใจให้ฉันไปปฏิบัติงานที่หนองบัว  และส่งคุณหมอ GRAHAM ROBERTS มาเป็นคุณแพทย์ร่วมคนที่ 2ระหว่าง 9-10 ปีต่อมา ฉันเดินทางกลับไปอังกฤษอีกเป็นระยะเวลาสั้นๆ  เช่นเป็นเวลา 3 เดือน ในกลางปี พ.ศ. 2519  (ค.ศ.1976)  และในปี พ.ศ. 2523  (ค.ศ. 1980)

        ประมาณปี พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982)  หัวหน้า O.M.F. มองเห็นปัญหาของผู้ปฏิบัติงานโรงพยาบาลซึ่งกลายเป็นสิ่งที่ลำบากยิ่งขึ้นสำหรับคณะมิชชั่นนารีเกี่ยวกับการตรวจสอบของรัฐบาล  และกระทรวงสาธารณสุข  ที่ไม่พอใจเกี่ยวกับการให้พยาบาลต่างชาติมีสิทธิสอบให้สามารถทำงานในประเทศไทย ทางคณะของผู้นำจึงตัดสินปัญหา  โดยยกโรงพยาบาลคริสเตียนหนองบัวให้รัฐบาลไทย และจัดการให้มีคณะปฏิบัติงานเป็นคนไทยที่โรงพยาบาลมโนรมย์มากขึ้น

       โรงพยาบาลคริสเตียนหนองบัว  จึงปิดลงในเดือนมิถุนายน พ.ศ 2526  (JUNE 1983) ในโอกาศเดียวกันโรงพยาบาลรัฐประเภท 10 เตียงได้เปิดดำเนินการในบริเวณใกล้เคียงกับศูนย์ราชการอำเภอหนองบัว  ในฐานะที่ทำงานอยู่กับพี่น้องชาวหนองบัวและพี่น้องในพื้นที่ใกล้เคียงเป็นเวลาถึง 20 ปี ฉันเสียใจกับการปิดโรงพยาบาลคริสเตียนหนองบัว  จึงยื่นใบลาออกจาก  O.M.F. เฝ้ารอเวลาอนุมัติใบลา  6 เดือน เมื่อมีผลแล้วฉันก็กลับไปประเทศอังกฤษในเดือนกันยายน พ.ศ. 2526  (SEPTEMBER 1983)  ได้ใช้เวลาศึกษาหาความรู้ด้านการศาสนาที่เริ่มต้นไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 (1971)  จนจบหลักสูตร

        กลับมาประเทศไทยในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984)
ฉันได้รับเชิญไปทำงานกับหมอคริสเตียนชาวไทย  ซึ่งมีโรงพยาบาลส่วนตัวที่จังหวัดกาฬสินธุ์ แต่ฉันไม่สนุกกับการทำงานในตัวเมืองเช่นตัวจังหวัด  ซึ่งมีโรงพยาบาลรัฐดีๆ  แต่เรียกค่ารักษาพยาบาลแพงกว่า  จึงลาออกจากโรงพยาบาลแห่งนี้ เป้าประสงค์คือต้องการช่วยเหลือคนเจ็บไข้ได้ป่วยผู้ต้องการความช่วยเหลือมากๆ  ฉันจึงทำงานที่จังหวัดกาฬสินธุ์เพียง 13  เดือน  และมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย (WVFT) ต้องการได้ฉันไปทำงานในโครงการพิเศษกับชนกลุ่มน้อยในภาคเหนือของประเทศไทย  และยังมีความต้องการเช่นนั้นตลอดมา

         ดังนั้นในปลายเดือนกันยายน  พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985)  ฉันเดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่ ทำงานกับ WVFT ร่วมมือกับองค์กรหลากหลายและโครงการของในหลวง  เราให้ความรู้แก่ชาวเขา (TRIBALVILLAGERS)  และโดยเฉพาะพวกหัวหน้า เกี่ยวกับการป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพพื้นฐาน  ซึ่งอันจะพาไปสู่ปัญหายาเสพติด  ในเวลานั้นคือฝิ่น และเฮโรอีน  ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของไทยและโครงการในชื่อต่างๆ  เรามี 27 แคมพ์ เพื่อให้คำแนะนำการเลิกยาเสพติดในหมู่บ้านต่างๆ เวลาเดียวกันในแต่ละแคมพ์ WVFT  จัดสรรงบประมาณส่วนใหญ่และเครื่องมือให้ รัฐบาลไทยสนับสนุนผู้พยาบาลและหน่วยป้องกันให้ เราทำหน้าที่แบบไม่ใช้เป็นเครื่องชักจูงเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา  แต่ปัญหาต่างๆก็เกิดขึ้น  เช่น การหละหลวมในระบบความปลอดภัย ติดตามด้วยความขาดแคลนสิ่งต่างๆ ผลลัพธ์จึงไม่เป็นที่พอใจแก่คณะทำงาน

       ขณะเดียวกันฉันได้รับเชื้อเชิญร่วมงานกับคณะผู้สอนศาสนาที่จังหวัดพะเยา(PHAYAO BIBLETRAINING CENTER) ชื่อนี้ได้เปลี่ยนเป็น PHAYAO BIBLE  COLLEGE ในปีพ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995)  และเป็น PHAYAO BIBLE  SEMINARY 2008  และฉันมีคุณสมบัติทางด้านนี้ที่ได้ศึกษามาเพิ่มเติมเมื่อครั้งปิดโรงพยาบาลคริสเตียนหนองบัวแล้วกลับประเทศอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2526(ค.ศ. 1983)

        สุดท้ายได้ตอบรับเชิญกับคณะผู้สอนศาสนาจังหวัดพะเยา  ฉันใช้เวลา 1 ปี ที่ยื่นใบลาออกจาก WVFT  และในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991)ได้  ย้ายไปอยู่จังหวัดพะเยา  สำหรับ 17 ปีสุดท้ายแห่งชีวิต  ฉันได้สอนนักศึกษาที่นั่น เมื่อพวกเขาจบจากการฝึกอบรมที่นี่จะออกไปเป็นผู้นำโบสถ์  และทำงานให้แก่ศาสนาคริสเตียน

      ฉันยังมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการบัญชีและการเงิน  และใน 6 ปีสุดท้ายฉันได้รับตำแหน่งอธิการของโรงเรียน

      ในเดือนเมษายน พ.ศ 2551(APRIL 2008) ฉันได้เกษียณอายุตนเองในวัย 80 ปี  กลับสู่ประเทศอังกฤษ  ประเทศที่ฉันอาศัยอยู่อย่างสงบในบั้นปลายชีวิต

                                               

 สิ่งที่ประทับใจในความทรงจำที่มาอยู่หนองบัว

       สิ่งที่ประทับใจฉัน  คือ หัวหน้าคณะสำรวจพื้นที่อำเภอต่างๆ  สำรวจดูว่าอำเภอใดขาดโรงพยาบาล  ทางชาวอำเภอหนองบัว ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเชื้อเชิญให้มาตั้งสถานพยาบาล  โดยมีเจ้าของที่ดิน 7 รายรวมกันถวายที่ดินประมาณ39 ไร่ สำหรับสร้างโรงพยาบาลในอนาคต และจัดเตรียมอาคารบริเวณสี่แยกในตลาดเป็นห้องแถวของเฒ่าแก่ย่งเตี๊ยะ  แซ่จึง ให้เช่าและใช้เปิดเป็นคลีนิคก่อน โดยทำการดัดแปลงบ้างให้เหมาะกับความต้องการ ขอให้ตั้งหอถังน้ำสูงพร้อมปั๊มน้ำให้สูบน้ำจากสระกลางตลาดคิดว่าเป็นแห่งเดียวที่สูบน้ำเช่นนี้ได้และสถานพยาบาลมีสิทธิ์ขอให้เปิดไฟฟ้าถ้ามีเหตุฉุกเฉินกลางคืน (สมัยนั้นการไฟฟ้าภูมิภาคมีโรงปั่นไฟฟ้าใช้ได้แค่หัวค่ำและเช้ามืด)      

       อนึ่งคุณหมอถนิม ผดุงครรภ์อนามัยซึ่งเป็นขวัญใจชาวหนองบัวให้ความร่วมมืออย่างดีโดยตลอด

       ปีแรกใน พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963)  ทางคมนาคมลำบากมากจำได้ว่าอาจารย์ประจำอำเภอชุมแสง  นำยาและอุปกรณ์มาให้ที่อำเภอหนองบัว  จากสถานีรถไฟในเดือนสิงหาคม  ต้องใช้เวลาเดินทางเกือบทั้งวัน  อาศัยรถจี๊ป 2 ตอน  เรือ 2 ตอน และเกวียนบ้าง แม้ในฤดูร้อนรถจี๊ปซึ่งเป็นรถโดยสารปกติต้องลงจากถนนขับไปตามริมนาเป็นบางแห่ง

      ส่วนอุปกรณ์ทางแพทย์เตรียมไว้แต่แรกนอกจากx-rayปีแรกใช้อันเล็ก (คือ 12 MILLIAMP เท่านั้น)  แล้วไม่ได้มาจนเดือนธันวาคม พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963)  ได้มาพอดี หลังจาการผ่าตัดกระโหลกหญิงคนหนึ่งซึ่งได้ถูกปืน  ขณะ x-ray ได้พบว่ามีเม็ดกระสุนเหลือบ้างก็สามารถเอาออกได้อีก  ปีแรกนั้นไม่มีเตียงแบบโรงพยาบาล  มีแต่แบบธรรมดา  จึงจำเป็นต้องประดิษฐ์ขึ้นมาเอง  ขณะรับชายถูกปืนซึ่งกระดูกขาบนหักเกือบ 2 วันก่อน

      การไม่เข้าใจการรักษาพยาบาลที่ทันสมัยขึ้น  จำได้ว่าญาติของคนถูกปืนนั้นถามว่า ต้องดึงขาเช่นนั้นนานเท่าไร”  และไม่ค่อยยอมรับคำอธิบายว่า อย่างน้อย 3 เดือน” แท้จริงชาวบ้าน (รวมข้าราชการคนหนึ่งซึ่งลูกสาวแขนหัก)ไม่เข้าใจการเข้าเฝือกให้กระดูกมีโอกาสติดกัน

       จำได้ว่ามีชายคนหนึ่งมีฝีผิวหนังตรงข้อมือ  น่าจะเจาะให้หนองออก  แต่เขาไม่ยอม และไม่ยอมฉีดยารักษาด้วย (คิดว่าเป็นญาติกำนันเสียด้วย)  สาเหตุคือ พวกเขากลัวว่าเป็น ฝีมะลำมะลอก” (คงหมายถึง ANTHRAX) เขาคิดว่าถ้าฉีดยาแล้วจะตายแน่ คิดเช่นนั้นเพราะในอดีตอาจมีคนถูกฉีดยารักษากับหมอบ้านนอกแล้วแพ้ยาเพนนิซิลินตาย แท้จริงยานี้ตรงกับโรคเพียงต้องพร้อมจัดการถ้าแพ้ยา  สุดท้ายยายคนแก่ๆชักชวนให้คนนั้นยอมรับการรักษา 
ซึ่งฝีนั้นเป็นฝีธรรมดา

       ทางคมนาคมลำบากมาก  จำเป็นต้องผ่าตัดใน 5 ปีแรกนั้น  ไม่มีห้องผ่าตัดเฉพาะ  จึงจำเป็นทำในห้องฉีดยา  เพราะจะส่งคนไข้ต่อไปไม่ได้  เช่น ภรรยาข้าราชการตั้งครรภ์นอกมดลูก  โลหิตออกในช่องท้อง  เด็กหญิงใกล้ตลาดอายุประมาณ 12 ปี เป็นไทฟอยด์ และรักษากับคนซึ่งไม่ใช่แพทย์จริง 2 อาทิตย์กว่า  ญาติพามาหาเพราะโลหิตออกในลำใส้  วันต่อมาแผลลำใส้ทะลุจึงต้องผ่าฤดูฝนมีชาวบ้านนำหญิงป่วยมา ซึ่งอาการแสดงว่าต้องผ่ารังไข่อย่างด่วน โดยเอาคนป่วยห่อแหเป็นเปลหามมา มีคนเอาทารกมา (คิดว่ามาจากห้วยร่วม) ทารกหนัก 2.1กิโลกรัม  พวกเขาใส่กระบุงหาบมาเพราะมันไม่มีรูทวารหนัก

                                         

---------------------------------------------------------------------------

หวังว่านี่พอเป็นคำตอบ กำลังมีปัญหากับคอมพิวเตอร์ในการพิมพ์ไม้เอกทับตัวสระบางตัว  มันออกเป็นจุดดำๆ

 

                                                                   ด้วยความยินดีจากอังกฤษ

                                                                     USULA LOEWENTHAL

                                                   MONDAY,SEPTEMBER 08, 2008 5:27:49 P.M.

หมายเหตุ    เฉพาะ เรื่องสิ่งที่ประทับใจที่มาอยู่หนองบัว
                 เนื่องจากข้อมูลรายละเอียดไม่สมบูรณ์ตรงใจผู้เขียน จึง E mail   สอบถามไปหมออรุณตอบมาเป็น       ภาษาอังกฤษผู้เขียนจึงแปลตามภูมิรู้ที่มีเอาเพียงเท่าที่อ่านกันเข้าใจดังข้างต้นนี้ เรื่องนี้ติดต่อกันเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2551


หมออรุณในมุมมองของข้าพเจ้า

       ข้าพเจ้านายเนียม  แก้วปรีชา  เกิดเมื่อเดือนเมษายน  2484 ที่บ้านจิกยาว ตำบลห้วยใหญ่  อำเภอชุมแสง  (อำเภอหนองบัวในปัจจุบัน)  จังหวัดนครสวรรค์  บิดาชื่อนายไล้  มารดาชื่อนางดอกไม้  จบการศึกษาระดับมัธยมปีที่ 6 (ในระบบการศึกษาสมัยนั้น) จากโรงเรียนราษฎร์ชื่อโรงเรียนชุมแสงวิทยา อำเภอชุมแสง  จังหวัดนครสวรรค์  เมื่อจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  แล้วไม่ได้ศึกษาต่อ  ช่วยเหลือกำนันสวัสดิ์  รอดพล กำนันตำบลห้วยใหญ่ขายกาแฟ ต่อมาน้าชายให้ไปช่วยคุมรถลากไม้ซุงจากป่าหนองบัวไปเข้าโรงเลื่อย  และต่อมาทำหน้าที่ขับรถด้วย

       เมื่อโรงพยาบาลคริสเตียนมโนรมย์  และ O.M.F แห่งประเทศไทย  มีโครงการเปิดโรงพยาบาลคริสเตียนหนองบัว  จึงชักชวนนายวัขระ  อินจันทร์สุขไปสมัครงาน  ได้รับการคัดเลือกไปฝึกงานที่โรงพยาบาลคริสเตียนมโนรมย์  เมื่อโรงพยาบาลคริสเตียนหนองบัวเปิดดำเนินการครั้งแรก  ณ ห้องแถว 5 ห้อง ของนายย่งเตี๊ยะ  แซ่จึง  ในเดือนกุมภาพันธ์  2506 จึงเริ่มทำงานที่โรงพยาบาลนี้เป็นครั้งแรกในเวลา 4 ปีเศษ ไม่ทันได้อยู่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลคริสเตียนหนองบัว  ที่ก่อสร้างเป็นอาคารถาวรและเปิดดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์  2511 เนื่องจากลาออกไปประกอบอาชีพเดินรถร่วมกับบริษัท  ไทยพัฒนกิจ จำกัด  วิ่งรับส่งคนโดยสารเส้นทาง  เชียงใหม่ – ลำปาง  เชียงราย – แม่สาย

        ในห้วงปฏิบัติงาน  ที่โรงพยาบาลคริสเตียนหนองบัว  ณ สถานที่ชั่วคราว 4 ปีเศษ  ได้ทำงานในงานเอ็กซ์เรย์  งานธุรการ และช่วยงานในห้องผ่าตัดในบางโอกาส มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับคุณหมออรุณจึงขอนำมาเล่าสู่กันฟัง  เพื่อฟื้นความหลังความดีงานในอดีตของคุณหมออรุณ  ที่อุทิศตนทั้งกายและใจรับใช้พระเจ้า ตามคำสอนของพระศาสดาพร้อมกับปฏิบัติงานรับใช้ชาวหนองบัวและประชาชนจังหวัดใกล้เคียงโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากมาเกือบ
20 ปี เมื่อพ้นหน้าที่การรักษาพยาบาลแล้วยังได้อุทิศตนนำคำสอนของพระศาสดาชี้นำให้คนไทยปฏิบัติตนเป็นคนดีของประเทศไทยส่วนหนึ่ง  ดังนี้

         บุคลิกลักษณะหมออรุณเป็นคนรูปร่างใหญ่  ล่ำ เดินเร็ว  ทำงานไว  เวลากดกริ่งเรียกให้มาตรวจคนไข้  คุณหมอจะวิ่งลงบันไดทุกครั้ง  หมอเป็นคนมีอัธยาศัยดีต่อคนทุกชั้น  จะให้คำแนะนำกับผู้ร่วมงานตลอดจนญาติคนไข้ 
เมื่อท่านตรวจคนไข้เสร็จท่านจะขึ้นไปอ่านหนังสือทำงานอย่างอื่น  หมอเป็นคนรอบรู้ทุกด้าน  ส่วนอุปนิสัยเป็นคนมีใจโอบอ้อมอารีเป็นคนไม่ถือตัวเพื่อนร่วมงานจะรักท่านมาก ท่านจะให้คำแนะนำกับผู้ช่วยพยาบาลเสมอท่านไม่หวงความรู้  เวลามีคนไข้มาตรวจหมอจะให้คำแนะนำกินยาและปฏิบัติตัว หากคนไข้เป็นโรคร้ายแรงหมอจะไม่บอกคนไข้แต่จะบอกกับญาติเท่านั้น คุณหมอจะรักชีวิตคนไข้เหมือนกับชีวิตของท่านเองหากเวลาผ่าตัดเมื่อผู้ช่วยพยาบาลส่งเครื่องมือผิดท่านจะแสดงอาการไม่พอใจ  ผมเคยถามท่านว่าทำไมคุณหมอจึงดุจัง  ท่านบอกว่าชีวิตคนไข้มีความสำคัญถ้าทำงานช้าไป
4 –5 นาทีคนไข้อาจจะเสียชีวิตได้  คำพูดนี้ก้องหูผมตลอดเวลา หากหมอทุกคนมีความรับผิดชอบเหมือนกับคุณหมออรุณคนไข้จะมีชีวิตรอดมากขึ้น หมอเก่งทุกด้านไม่ว่าจะวิเคราะห์โรคหรือผ่าตัดท่านจะเก่งกว่าหมอทุกคนที่มาประจำสถานพยาบาล ผมเคยสังเกตเวลาหมอผ่าตัดเอาเด็กออกหมอคนอื่นจะใช้เวลาประมาณ 45 นาที  แต่หมออรุณจะใช้เวลา 30 นาทีเท่านั้น เวลาท่านเย็บแผลผูกไหมหมอจะเย็บเร็วกว่าหมอทุก ๆ คน  ผมเคยพูดกับญาติพี่น้องว่า  หากผมเป็นอะไรถ้าคุณหมออรุณรักษา  แม้ผมจะตายผมบอกกับญาติไม่ต้องเสียใจ  ความจริงหน้าที่ของผมคือทำหน้าที่เสมียน ตอนผมไปฝึกงานที่โรงพยาบาลมโนรมย์เขาส่งไปสองคน  คือคุณวัชระ อินจันทร์สุข เข้าไปฝึกห้องจ่ายยา  ส่วนผมฝึกเสมียนและห้องแลบ  พอกลับมาทำงานที่สถานพยาบาลคุณหมออรุณสอน X-ray ให้ ดังนั้นผมเลยกลายเป็นคนจับฉ่ายในสถานพยาบาล  ผมทำงานอยู่สี่ปีกว่า จึงลาออกมีคนไข้เป็นหนี้ทางสถานพยาบาลประมาณสามหมื่นกว่าบาทและส่วนที่ลดให้คนไข้และฟรีประมาณสี่หมื่นกว่าบาทสมัยนั้นดูจะเป็นเงินจำนวนมากทีเดียว ดังนั้นผมจึงมีโอกาสรู้จักผู้ใหญ่บ้านกำนันแทบทุกตำบล เพราะผมจะให้เขารับรองว่าคนไข้คนนั้นยากจนจริงหรือไม่หากกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านรับรองมาผมจะลดหรือฟรีทั้งหมด บางทีวันหยุดท่านนายอำเภออรุณจะพาคุณหมอไปตรวจคนไข้นอกสถานที่ตามตำบลต่างๆเสมอ 

        ท่านจึงเป็นที่รักและขวัญใจของคนหนองบัวและชาวจังหวัดใกล้เคียงที่เจ็บไข้ได้ป่วยในยุคนั้นอย่างแท้จริง  ขอจบเพียงเท่านี้



 

หมายเลขบันทึก: 533991เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2013 19:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

                                     

ผมขอดึงภาพมาประกอบเรื่องมาเสริมให้นะครับ เป็นภาพวาดแสดงที่ตั้งโรงพยาบาลคริสเตียนที่ปรากฏในบันทึกของคุณหมออรุณและท่านรอง ผวจ.สมหมาย ฉัตรทองน่ะครับ ดีใจครับที่ท่านรอง ผวจ.สมหมายมาร่วมบันทึกและเผยแพร่ข้อมูลของหนองบัวอีกหลายมิติ ซึ่งหลายเรื่องท่านและคนหนองบัวที่ร่วมกับท่าน เป็นคนต้นเรื่อง สักระยะหนึ่ง ก็จะสามารถช่วยกันค่อยๆนำข้อมูลกลับมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำเสนอ ขยายความรู้มิติใหม่ของหนองบัว ให้ดียิ่งๆขึ้น เชื่อว่าจะเป็นฐานความคิดและเป็นฐานข้อมูล ให้คนคิดริเริ่มทำสิ่งต่างๆกันได้อีกหลายอย่าง

ได้ทราบว่าท่านรองผวจ.สมหมาย ฉัตรทอง ได้ใช้ความพยายามอุตสาหะอย่างมาก เพื่อที่จะได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับหมออรุณ ทราบว่าได้อาศัยอินเตอร์เน็ทในการหาข้อมูลพร้อมทั้งติดต่อคนหนองบัวที่ใกล้ชิดหมออรุณ อีกทางหนึ่งด้วย จนในที่สุดก็ติดต่อได้ และก็ได้มาซึ่งบทความจากหมออรุณ อำเภอหนองบัวถ้าไม่มีการระบุถึงหมออรุณ ก็จะทำให้ความเป็นหนองบัวพร่องไปอย่างแน่นอน เพราะหมออรุณเป็นผู้มีบทบาทด้านสาธารณะสุขของหนองบัวอย่างสำคัญยิ่ง ก่อนที่จะมีโรงพยาบาลรัฐดังปัจจุบัน

ดังนั้น เลยต้องขอชื่นชมอย่างจริงใจต่อท่านสมหมาย ที่สามารถรวบรวมข้อมูลชุดนี้มาให้คนหนองบัวได้ศึกษาเรียนรู้่ คุณูปการนี้ จะอยู่ในความทรงจำของคนหนองบัวสืบไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท