คนสามสมอง (ประทับใจการแปลภาษาที่ศาลโลก..ตอน ๒)



ดังที่ผมเล่าในตอน ๑ แล้วว่า พอผู้แถลงพูดด้วยภาษาฝรั่งเศสผมก็ฟังช่องแปลอังกฤษ เพราะทนฟังช่องแปลไทยที่แสนตะกุกกักไม่ไหวการแปลฝรั่งเศสเป็นอังกฤษอย่างราบรื่นแปลยาวๆ เป็นประโยคหรือบางทีสองสามประโยคต่อกันเป็นเนื้อความเดียวกัน...ถามว่าเขาทำได้ไง


ลองคิดดูนะครับแสดงว่าเขาต้องฟังให้จบประโยคเสียก่อน หรือ บางที่จบสอง สามประโยค พอได้ใจความเขาถึงจะแปลให้พรั่งพรูออกมาเป็นภาษาอังกฤษแต่.ในขณะที่ปากเขาแปลอยู่นั้นผู้แถลงการณ์ก็พูดไปเรื่อย แถมบางคนพูดเร็วเสียด้วย...นี้แสดงว่าผู้แปลนั้นเขาต้องพูดไป และฟังไปพร้อมกัน...พูดนานๆ ฟังนานๆ เสียด้วยสมองส่วนหนึ่งคิดแปลส่วนหนึ่งพูดอีกส่วนหนึ่งฟัง พร้อมกันไปเลย

แสดงว่าเขามีสมองที่ถูกฝึกมาให้มีสามฝ่ายฝ่ายหนึ่งพูด ฝ่ายหนึ่งฟัง อีกฝ่ายหนึ่งคิด เชื่อมโยงระหว่างทั้งสองมันเป็นทักษะพิเศษจริงๆคงต้องฝึกกันนานมากกว่าจะเป็นนักแปลที่ดีได้

อุปมากับปากกินข้าว หูฟังข่าวตาอ่านหนังสือพิมพ์ไปพลาง

การแปลที่ดีไม่ใช่ว่าต้องเก่งทั้งสองภาษา แต่ต้องมีวาทะศิลปะ ลีลาแห่งภาษาของการนำเสนอต้องมีน้ำเสียงที่ดีและที่สำคัญคือต้องมีความรู้ มีความเข้าใจบริบทของเนื้อหาแห่งการทะเลากันของทั้งสองฝ่ายโดยการติดตามข่าวของทั้งสองฝ่ายมาก่อนหน้านี้อย่างถี่ถ้วน

ผมว่าผู้แปลที่เก่งจริงๆ นั้นสามารถเดาทางล่วงหน้าได้เลยว่า ประโยคต่อไปผู้แถลงจะพูดว่าอะไร...แบบนี้ยิ่งทำให้แปลได้ไหลรื่นกว่าปกติ


...คนถางทาง (๒๒ เมษายน ๒๕๕๖)


หมายเลขบันทึก: 533611เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2013 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 เมษายน 2013 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แต่ผมเดาว่าเขาทำกันเป็นทีมนะครับ คนเดียวไม่น่าจะ multitasking ได้ขนาดนั้นครับ แต่ที่แปลได้ดีก็แสดงว่าทีมทำงานเข้าขากันมากครับ

ผมก็คิดแบบเดียวกัน ว่าคนแปลนี่เก่งมาก ทำงานเป็นทีมก็คงไม่ช่วยมาก เพราะการแปลแบบต่อเนื่อง มันไม่มีเวลาให้ใครมาเขียนคำอ่านให้อ่านได้ทันเพราะมันเร็วมาก ต้องใช้ทักษะของคนแปลล้วนๆ ที่ต้องทั้งฟัง ทั้งแปล ทั้งคิด ไปในเวลาเดียวกัน


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท