วิชญธรรม
ผศ. ดร. สิริวิชญ์ เตชะเจษฎารังษี

9 วันที่ยึดติด (3)


ต่อ...... (ให้จบ (จบ))

19 - 25 ก.พ. 2556 วันมาฆบูชา   .......  

ตลอดเวลานับตั้งแต่มาสัมผัสคำสอน แง่คิด การฝึกจิต ปฏิบัติธรรม ในพุทธศาสนา นับเป็นโชคดีท่ามกลางโชคร้าย ที่ผมได้หลักยึดความคิด โดยเฉพาะจากความเมตตาของครูบาอาจารย์ ผู้รู้ ที่คอยเฝ้าดูแลเราไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง 

"นักภาวนาใจต้อง ว่าง....."

"มรรค ก็คือ ทาง  ..... ทางกลางๆ วางๆ ไม่รัก-ไม่เกลียด ไม่สุข-ไม่ทุกข์......"

" .ทุกคน. ก็เป็นธาตุ เขาเกิดมาเราก็ไม่ได้ไปปรุงแต่ง เขาก็เป็นของเขาตาม ธรรมชาติ...... ถ้าพิจารณาดูดีๆ...... เขาก็หายใจของเขาเองเราไปบังคับเขาไม่ได้....."

" อธรรมก็เป็น ธรรม แต่เป็น อกุศลธรรม "

หลวงปู่เหมือนท่านรู้ว่าผมสับสน........... ท่านให้ผมติดตามท่านตลอดเวลา ............

ก่อนหน้านี้หลวงปู่จะสอนให้เราเสียบสติไว้กับงานที่ทำเฉพาะหน้า.......อยู่วัดอย่านั่งเฉยๆ หางานมาจับมาทำ อย่าให้ตัวเองว่างงาน เพราะงานคือสติ สติในการงาน  เมื่อสติจดจ่อกับงาน จิตเราก็ว่างจาก "ความคิด" คือ " ทำงานทุกชนิด ให้จิตว่าง 

แต่มาคราวนี้ หลวงปู่สั่งให้ โยม พระ ชาวบ้าน ให้ย้ายกองหินกองโตที่รถหินเทลงผิดที่ไปบริเวณ หน้างานที่กำลังทำถนน ให้เสร็จในคืนนี้...... ผมก็เข้าไปช่วย....... สักพัก หลวงปู่เรียกผม ..........

" ด็อกเตอร์ บ่ต้องไปเฮ็ดหรอก งานทางโลก .... บ่อยให้เขาทำไป....  เฮาไปหาภาวนาก่อน.........ไปหาภาวนาเดินจงกรม........ "

ความคิดที่ไม่เป็นทิศทางของผม ใจที่ไม่อยู่กับงานที่ทำ.......  ทำให้ผมต้องย้อนกลับมา เสียบ สติกับการเดินจงกรม จะดูง่ายกว่า..................(ท่านคงเห็นสภาพ ลูกศิษย์ ที่กำลังแย่....)

ผมเดินไป เดินไป ๆ ๆ ๆ ๆ   ..............  มีอยู่ช่วงที่หยุดความคิดตัวเองไม่ไหว...... ถึงกับต้อง ถอนหายใจแบบท้อๆ ดังๆ ในกลางค่ำคืน  ...... หลวงปู่ก็มีเหตุให้เดินผ่านมาข้างๆเราพอดี...............ทั้งๆที่ผมก็เข้าใจว่า หลวงปู่จำวัดไปแล้วในกุฏิท่าน.................  ทำให้รู้ว่าครูบาอาจารย์เราเขาไม่ได้ทิ้งเราไปไหน ท่านเฝ้ามองเราๆอยู่......  หลายครั้งหลวงปู่หัวเราะขึ้นมาลอย........  ท่านคงสงสารสัตว์โลกอย่างเราๆ ที่ยังไม่เห็น "ธรรม" ซะที่  (อาย ครูบาอาจารย์มากเลยครับตอนนั้น :):) ไอ้ลูกศิษย์คนนี้สอนยากจริงๆ 555) 

การยึดติดที่ เพียงแค่ ปล่อย ก็ยากที่จะเห็น จะเป็น...............

ผลที่ได้ผมบรรยายด้วยภาพนะครับ...........................   




ประตูทางออกที่ ครูบาอาจารย์ต้องเดินผ่านไป ไม่ใช่เรื่องง่าย .............  แต่ท่านก็บอกว่าไม่ใช้เรื่องยากเช่นกัน.....


ศรัทธา...  ศีล .....  เป็นตัวขับเคลื่อน พละ...กำลัง ในใจเราให้เข้มแข็ง......   

.สู้ได้อยู้. ครับหลวงปู่.....:):)

สรุป:  

ศรัทธา ความเชื่อในหลักคำสอน และข้อปฏิบัติ (ก็คือศีล) ที่แนาวแน่ จะเป็น พลังเริ่มต้นที่จะดึงดูดให้เรา มีจิตใจที่มุ่งมั่นในทางสายกลางๆ  เข้าถึงการกำหนดจิตใจ ........

แต่ที่ข้าน้อย.....บันทึกในฐานะมือใหม่.........  การปฏิบัติที่หนักหน่วงแต่ไม่สามารถพิจารณา หรือภาวนา ให้เกิดความสงบในใจได้ เขาเรียกกันว่า ...... ความเพียรหัวตอ (ผมตั้งเองอันนี้ 555 จริงๆที่เคยได้ยินคือ สมาธิหัวตอ) คือ นั่งสมาธิ หรือ เดินจงกรม หรือการภาวนา ที่สงบเฉพาะท่าทางภายนอก แต่ในใจอาจสงบ หรือวุ่นวาย ก็ได้ แต่ไม่ได้ใช้ .สติ. ในการภาวนา ............นั่ง (เดิน) ก็นั่งนิ่งๆไปอย่างนั้น................ก็ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ  จะเดินให้ขาหลุดก็ไม่เกิดปัญญา...... อันนี้เราต้องระวัง สำหรับมือใหม่อย่างผม...................


######################################################################  

พละ หรือ พละ 5 คือ กำลัง ห้า ประการ[1] ได้แก่

  1. ศรัทธาพละ ความเชื่อ กำลังการควบคุมความสงสัย
  2. วิริยะพละ ความเพียร กำลังการควบคุมความเกียจคร้าน
  3. สติพละ ความระลึกได้ กำลังการควบคุมความประมาท การไม่ใส่ใจ ใจลอย ไร้สติ
  4. สมาธิพละ ความตั้งใจมั่น กำลังการควบคุมการวอกแวกเขว่ไขว่ ฟุ้งซ่าน
  5. ปัญญาพละ ความรอบรู้ กำลังการควบคุมเพิกเฉยไม่สนใจ หลงงมงาย

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%95


อินทรีย์ หรือ อินทรีย์ 5 คือ ความสามารถหลักทางจิต ห้า ประการ[1] ได้แก่

  1. สัทธินทรีย์ คือ ความศรัทธา ในโพธิปักขิยธรรม
  2. วิริยินทรีย์ คือ ความเพียร ในสัมมัปปธาน
  3. สตินทรีย์ คือ ความระลึกได้ ในสติปัฏฐาน
  4. สมาธินทรีย์ คือ ความตั้งมั่น ในญาณ
  5. ปัญญินทรีย์ คือ ความเข้าใจ ในอริยสัจ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%95




หมายเลขบันทึก: 533586เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2013 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2013 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

เท้าแตกเลยครับ เดินไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็ชินครับ 555

สงสัยถ้าเดินไปเรื่อยๆๆๆๆๆๆ   ตอนนี้ คงจะหนาทนแดดทนฝนไปแล้วครับ ....555

อนุโมทนาบุญด้วยนะคะ

การปฏิบัติธรรมคือการเพียรต่อสู้กับ กิเลส ในตัวเรานี่เอง

ปฏิบัติมากๆ เห็นทุกข์มากๆ ปัญญาก็จะเกิดตามมาค่ะ  :)

อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ

อาจารย์...เพียรจนเท้าแตกเลยหรือคะ?

โอวว สาธุ

Ico48 ผมเพียงจะสื่อสาร ว่าการปฏิบัติ ไม่ใช่ จะใช้ความเพียรเพียงอย่างเดียว เพราะจะไม่เกิดประโยชน์เท่าใดนักอย่างที่ผมทำ....

เพิ่มเติม......ในบันทึก

ศรัทธา ความเชื่อในหลักคำสอน และข้อปฏิบัติ (ก็คือศีล) ที่แนาวแน่ จะเป็น พลังเริ่มต้นที่จะดึงดูดให้เรา มีจิตใจที่มุ่งมั่นในทางสายกลางๆ  เข้าถึงการกำหนดจิตใจ ........

แต่ที่ข้าน้อย.....บันทึกในฐานะมือใหม่.........  การปฏิบัติที่หนักหน่วงแต่ไม่สามารถพิจารณา หรือภาวนา ให้เกิดความสงบในใจได้ เขาเรียกกันว่า ...... ความเพียรหัวตอ (ผมตั้งเองอันนี้ 555 จริงๆที่เคยได้ยินคือ สมาธิตัวตอ) คือ นั่งสมาธิ หรือ เดินจงกรม หรือการภาวนา ที่สงบเฉพาะท่าทางภายนอก แต่ในใจอาจสงบ หรือวุ่นวาย ก็ได้ แต่ไม่ได้ใช้ .สติ. ในการภาวนา ............นั่ง (เดิน) ก็นั่งนิ่งๆไปอย่างนั้น................ก็ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ  จะเดินให้ขาหลุดก็ไม่เกิดปัญญา...... อันนี้เราต้องระวัง สำหรับมือใหม่อย่างผม...................


สาธุคร้าบ 

ตอนนี้สงบไม่ได้ คร้าบ กำลังต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมทางวิชาชีพ อยู่  

แฮ่ม !!!  ใกล้  game over ล่ะ 

Ico48101 มาช่วยลุยแถว ม.ข. ให้หน่อยซิ.......  555

  ขอบคุณครับ......................   การปฏิบัติก็ต้องสม่ำเสมอด้วย........   เพราะพอผมออกมาไกลหลวงปู่ ไกลวัดหน่อย............. การปฏิบัติก็หย่อนยาน ละเลย จะไปปฏิบัติเข้มข้นเฉพาะอยู่ที่วัด ก็ไม่เกิดประโยชน์เช่นกัน (โดนพี่ผมดุประจำ 555)

มาเป็นแมวมอง .. แต่สนใจจริงๆ นะคะ

สาธุ ...อนุโมทนา

สาธุ หลวงปู่ท่านรู้ด้วยญาณ

อนุโมทนา กับความเพียรของท่าน

ขอบคุณธรรมแบ่งปัน..ขอบคุณค่ะ และขอให้สำเร็จๆในธรรมไวๆค่ะ

Ico48   มาเป็นมือใหม่ทางธรรม กันได้เลยครับ.......

วันที่ยึดติดในโลกธรรม  อาจเห็นบางคนในสังคมที่ บุญมีแต่กรรมบัง  

อาจเห็น  สิ่งที่ซ่อนอยู่ในจิตใจของใครๆ โดยไม่ได้เจตนาไปมอง  ดุจ  เมตตา คู่ อุเบกขา

ทุกข์ สมุทัย นิโรค มรรค  และมรรค8  ต้องมีวิธีคิดในการจัดให้สมดุล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท