บทความวิจัย ผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ตามแนวพุทธ


คุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์

ตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาท

The  Characteristics of The Desirable  Political  Leader in The  Globalization  Era  According  to  The Theravada Buddhism.

ดร.ณัฏฐวัฒน์ สุดประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อคือ ๑.เพื่อศึกษาแนวคิดคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ในแบบตะวันตกและตะวันออก ๒.เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิดคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๓.เพื่อศึกษาคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาท

ข้อแรกพบว่าคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ในตะวันตกและตะวันออกมีส่วนที่เหมือนกันคือ ๑.มุ่งตัวผู้นำทางการเมืองการปกครองเป็นสำคัญใส่ใจกับการเข้าสู่อำนาจ ใช้อำนาจ และสืบต่ออำนาจ ๒.ส่งเสริมให้มีการฝึกฝนและทดสอบผู้ที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำทางการเมือง ส่วนที่ต่างกันคือ ๑.ตะวันออกเน้นจริยศาสตร์มากกว่าตะวันตก จริยธรรมสำหรับผู้นำทางการเมืองมีถึง ๑๘ ประการ ตะวันตกมีเพียง ๖ ประการ ๒.ตะวันออกกล่าวการขัดเกลาภายในของมนุษย์ไว้อย่างเป็นระบบ ในขณะที่ตะวันตกกล่าวการจัดระเบียบภายนอกไว้อย่างเป็นระบบ

  ข้อสองพบว่า แนวคิดคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่ได้จากพระไตรปิฎกมี ๖ ประการคือ

๑.ผู้นำทางการเมืองผ่านการเตรียมพร้อมก่อนเป็นผู้นำทางการเมืองคือ ฝึกตนด้วยการศึกษาศีล สมาธิ และปัญญา การเจริญกัมมัฏฐาน เจริญสติในชีวิตประจำวัน และมีความปรารถนาที่จะเป็นผู้นำที่ทำเพื่อผู้อื่น ทำให้สามารถเป็นคนดีที่ปกครองดี

๒.เมื่อใช้อำนาจทางการเมืองคือ สอนและเผยแพร่ศีล ๕ รักษาศีลอุโบสถในวันพระใหญ่ ปฏิบัติจักกวัตติวัตร ๕ คือยุทธศาสตร์สร้างคนดี ดูแลชีวิตตน ช่วยคนอื่น

๓.เมื่อลงจากอำนาจทางการเมือง ให้บวชเป็นพระภิกษุปฏิบัติกัมมัฏฐาน เผยแผ่พุทธธรรมและเป็นที่ปรึกษาของผู้นำทางการเมืองรุ่นต่อไป

๔.การแก้ปัญหาที่สาเหตุที่แท้จริงคือ ถ้าสาเหตุที่แท้จริงคือความยากจน ผู้นำทางการเมืองแก้ความขาดแคลนของประชาชนได้ แต่แก้ความอยากรวยของประชาชนไม่ได้

๕.สร้างทีมงานที่ปรึกษาเป็นนักปราชญ์ทรงความดี

๖.สร้างพรรคการเมืองและเครือข่ายของคนดีให้เต็มพื้นที่ปกครอง เพื่อเป้าหมายคือทำให้ประชาชนเบิกบานในความดีของรัฐบาล คือรัฐบาลที่มีกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการครบถ้วน

ข้อสุดท้าย ผู้วิจัยสร้างเป็นรูปแบบคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาทโดยสร้างเป็นรูปแบบธัมมิกประชาธิปไตยที่ประกอบด้วย ๔ วงจร, ๖ ประเด็น, ๓๘ ตัวชี้วัด, ๒๐ โครงการ, ๓ ระดับ, ๔ ประเมินผล แล้วสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่จะนำไปใช้สอบถามจริงคือ ตัวชี้วัดคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาททั้ง ๓๘ ประการ

คำสำคัญ: ผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์, ตัวชี้วัดคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาท, ธัมมิกประชาธิปไตย, ผู้นำทางการเมืองแบบพุทธ.

ABSTRACT

  This Research is of Three objectives:- 1. To Analytically Study The  Characteristics of The Desirable  Political  Leader in Western and Eastern, 2. To Analytically Study The  Characteristics of The Desirable  Political  Leader in Buddhism, 3 Study Model of The  Characteristics of The Desirable  Political  Leader in The  Globalization  Era  According  to  The Theravada Buddhism.

From the first objective, The  Characteristics of The Desirable  Political  Leader in Western and Eastern in Part of similar are 1. Towards the political leadership is important to focus on the authority, the authority and Inherit the authority, 2. Promote the training and test to the political leadership.The difference are 1. The Eastern to focus on ethicists than the Western. The Eastern Ethics for Political Leaders are 18 reasons, in the Western has 6 reasons. 2. The Eastern is refined in human of Systhemathic while the West is Oganizing a party in a systhemathic way.

From the Second objective, it is found that The Political leadership in Buddhism is of 6 main indicators,namely

1.Political leaders is prepare for Political Leadership. They started with the training precepts, meditation and wisdom, mindfulness in daily life. And the desire to lead others to do so. They can be very good administration.

2.When he was a political power.He teaches and publishes five Precepts,Strategies create the good Man,They take care of their lives and help others.

3.When Down political power. He was ordained as a monk practice Meditation. propagation Buddha dharma, and as a consultant for the next generation of political leaders.

4.To solve the problem at the root cause,If the real cause is poverty. Political leaders to solve the shortage of people.

5. Team building consultant, he is wise and good.

6.Political parties, and building a network of good people to fill administrative regions. The goal is to make people happy in the good of the government with the 10 Kusala-kammapatha.

From the Third objective, Synthesis to Model of The Dhammic Democracy that The  Characteristics of The Desirable  Political  Leader in The  Globalization  Era  According  to  The Theravada Buddhism is 4 cycle, 6 point, 38 indicators, 20 Coverage, 3 levels, 4 evaluation. 38 indicators are The  Characteristics of The Desirable  Political  Leader in The  Globalization  Era  According  to  The Theravada Buddhism.

Key  words: The Desirable  Political  Leader, indicators are The  Characteristics of The Desirable  Political  Leader in The  Globalization  Era  According  to  The Theravada Buddhism, The Dhammic Democracy, The Political  Leader According  to  The Buddhism.

บทนำ

  การวิจัยเรื่องคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาททำให้ได้ภาพอนาคต(Scenario)ของประเทศไทยในแบบพุทธศาสนา ในปัจจุบันมีวิธีลดความขัดแย้งในสังคมด้วยการกำหนดอนาคตร่วมกัน โดยสถาบันพระปกเกล้าเรียกวิธีนี้ว่า ประชาเสวนาหาทางออก โดยมีภาพอนาคตของสังคมไทยเป็นตัวสมมติอยู่ ๔ แบบคือ สังคมยุติธรรม (Justice & Fairness), สังคมแห่งคุณธรรมและธรรมาภิบาล(Morality & Good Governance), สังคมแห่งเมตตาธรรม (Mercifulness), สังคมแห่งสันติธรรม (Just Peace)[1] แบบที่ใกล้เคียงกับพระพุทธศาสนามากที่สุดคือสังคมแห่งคุณธรรมและธรรมาภิบาล แต่ในหนังสือดังกล่าวได้กล่าวถึงข้อดีของสังคมคุณธรรมว่า “สังคมคุณธรรมเป็นสังคมที่นักการเมืองมีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถเหมาะกับอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากประชาชน ทำให้เกิดการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะในกระบวนการเข้าสู่อำนาจ เช่น การเลือกตั้งจะเต็มไปด้วยการแข่งขันที่เป็นธรรม ไม่ซื้อเสียง ไม่ทุจริตในการเลือกตั้ง ประชาชนเองก็ไม่ขายเสียง เมื่อได้รับเลือกก็ทำงานในหน้าที่อย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมสมกับที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน”[2] และกล่าวถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นหรือข้อสังเกตว่า “วัฒนธรรมไทยอาจไม่สอดคล้องกับสังคมที่ยึดหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด เพราะมีระบบอุปถัมภ์ อำนาจนิยม และนับถือคนรวยมากกว่าคนดี คนทำดีไม่ได้รับการยอมรับ ยกย่องในสังคม สังคมคุณธรรม ธรรมาภิบาลเป็นสังคมในอุดมคติที่ไม่มีทางเกิดขึ้นจริง”[3] ถึงแม้ข้อสังเกตข้างบนนี้จะน่าเชื่อถือเพียงไรก็ตาม แต่การสร้างผู้นำทางการเมืองตามแนวพุทธก็ยังเป็นสิ่งที่ควรพยายามทำให้เกิดมีขึ้น สิ่งที่ทำยากไม่ได้หมายถึงทำไม่ได้ ผู้เขียนจะกล่าวถึงรูปแบบธัมมิกประชาธิปไตยที่บอกได้ว่าการสร้างสังคมคุณธรรมควรดำเนินการอย่างไร และกล่าวถึงคุณลักษณะและตัวชี้วัดคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาทไปตามลำดับ

๑.ธัมมาธิปไตยมาเป็นธัมมิกประชาธิปไตย

  จากธัมมาธิปไตยในยุคพระเจ้าทัฬหเนมิในพระไตรปิฎกมาเป็นธัมมิกประชาธิปไตยในยุคปัจจุบัน ประชาธิปไตยที่ประกอบด้วยธรรม ตรงข้ามกับอันธพาลิกประชาธิปไตย ประชาธิปไตยที่เขลาอย่างมืดบอดธัมมาธิปไตยคือธรรมะหรือความถูกต้องเป็นใหญ่ ส่วนธัมมิกประชาธิปไตยแปลว่าประชาชนที่ประกอบด้วยธรรมเป็นใหญ่จึงจะสอดคล้องกับธัมมาธิปไตย สิ่งที่ปรากฏอยู่ในพระสูตรในพระไตรปิฎกเราสามารถเรียกได้ว่า ธัมมิกราชาธิปไตย แปลว่า พระราชาผู้ประกอบด้วยธรรมเป็นใหญ่ คือพระราชาที่มีธรรมเท่านั้นที่ควรเป็นผู้ปกครอง เราจะเห็นความแตกต่างระหว่างธัมมิกราชาธิปไตยกับธัมมิกประชาธิปไตยได้ชัดพอสมควร การสร้างพระราชาผู้มีธรรมเพียงพระองค์เดียว ย่อมทำได้ง่ายกว่าการสร้างประชาชนทั้งประเทศให้มีธรรม บุคคลที่กล่าวเน้นคำว่าธัมมิกประชาธิปไตยนี้คือท่านพุทธทาสภิกขุและมีการกล่าวสืบสานต่อโดยอุบาสิการัญจวน อินทรกำแหง ผู้เขียนจึงสร้างแนวคิดเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้นำทางการเมืองและประชาชน บนระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยเริ่มพิจารณาจากหลักความเจริญทั้ง ๔ คือการศึกษา การใช้ชีวิต การปกครอง และเศรษฐกิจ ปัจจุบันการพัฒนาสังคมมักให้ความสำคัญกับภาวะเฉพาะหน้าจึงคิดพัฒนาที่เศรษฐกิจและการปกครองหรือการเมืองเป็นหลัก ทำให้ละเลยการศึกษาที่เหมาะสม การใช้ชีวิตจึงผิดพลาดไป แล้วการใช้ชีวิตที่ผิดพลาดก็กลับมาทำให้การปกครองกับเศรษฐกิจปั่นป่วนวุ่นวาย

  ปัจจุบันมีความพยายามที่จะสร้างโรงเรียนวิถีพุทธให้เป็นตัวอย่างในทุกจังหวัดของประเทศไทย ผู้เขียนจึงเกิดแนวคิดที่ว่าการศึกษาวิถีพุทธ การเจริญสติในชีวิตประจำวัน การปกครองวิถีพุทธ และเศรษฐกิจตามแนวพุทธตามลำดับ และเรียกระบบนี้ว่า ธัมมิกประชาธิปไตย และเมื่อได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์ตามแนวพุทธแล้วสร้างเป็นรูปแบบคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาทในยุคโลกาภิวัตน์โดยสร้างเป็นแผนภาพธัมมิกประชาธิปไตยที่ประกอบด้วย ๔ วงจร, ๖ ประเด็น, ๓๘ ตัวชี้วัด, ๒๐ โครงการ, ๓ ระดับ, ๔ ประเมินผล ได้ดังนี้

แผนภาพที่ ๑  รูปแบบ“ธัมมิกประชาธิปไตย”


๒.คุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์

ตามแนวทางพระพุทธศาสนา

ในพระไตรปิฎกเช่นจักกวัตติสูตร[4]เป็นต้นได้แสดงให้เห็นว่าการมีผู้นำทางการเมืองที่ไม่พึงประสงค์นั้นทำให้เกิดความทุกข์แก่แว่นแคว้นนั้นได้อย่างกว้างขวางกลายเป็นความทุกข์ในเชิงโครงสร้างส่งผลกระทบไปทั้งสังคมแห่งนั้น ตามหลักแห่งอริยสัจ ๔ สิ่งนี้คือทุกข์ และสาเหตุแห่งทุกข์หรือสมุทัยคือเรามีผู้นำทางการเมืองหรือการปกครองที่ไม่พึงประสงค์ นิโรธจึงหมายถึงการมีผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ ส่วนมรรคคือวิธีการที่ให้ได้มาซึ่งผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ ผู้เขียนจึงสร้างเป็นแนวคิดคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์หรือยุคปัจจุบันตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาทโดยแบ่งเป็น ๓ ระดับคือ ธัมมิกประชาธิปไตยระดับสูงสุด ธัมมิกประชาธิปไตยระดับขั้นกลาง ธัมมิกประชาธิปไตยระดับขั้นต้นและประเด็นแนวคิดคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่ได้จากพระไตรปิฎกมี ๖ ประการคือ

๑.ผู้นำทางการเมืองผ่านการเตรียมพร้อมก่อนเป็นผู้นำทางการเมืองคือ ฝึกตนด้วยการศึกษาศาสตร์ทั้งหลายและปฏิบัติศีล สมาธิ และปัญญา การเจริญกัมมัฏฐาน เจริญสติในชีวิตประจำวัน และมีการเตรียมตัวคือมีความปรารถนาที่จะเป็นผู้นำที่ทำเพื่อผู้อื่น ทำให้สามารถเป็นคนดีที่ปกครองดี

๒.เมื่อใช้อำนาจทางการเมืองคือ สอนและเผยแพร่ศีล ๕ รักษาศีลอุโบสถในวันพระใหญ่ ปฏิบัติจักกวัตติวัตร ๕ คือยุทธศาสตร์สร้างคนดี ดูแลชีวิตตน ช่วยคนอื่น

๓.เมื่อลงจากอำนาจทางการเมือง ให้บวชเป็นพระภิกษุปฏิบัติกัมมัฏฐาน เผยแผ่พุทธธรรมและเป็นที่ปรึกษาของผู้นำทางการเมืองรุ่นต่อไป

๔.การแก้ปัญหาที่สาเหตุที่แท้จริงคือ ถ้าสาเหตุที่แท้จริงคือความยากจน ผู้นำทางการเมืองแก้ความขาดแคลนของประชาชนได้ แต่แก้ความอยากรวยของประชาชนไม่ได้

๕.สร้างทีมงานที่ปรึกษาเป็นนักปราชญ์ทรงความดี

๖.สร้างพรรคการเมืองและเครือข่ายของคนดีให้เต็มพื้นที่ปกครอง เพื่อเป้าหมายคือประชาชนเบิกบานในความดีของรัฐบาล คือรัฐบาลที่มีกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการครบถ้วน

๓. ตัวชี้วัดคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ตามแนวธัมมิกประชาธิปไตย

เมื่อได้ประเด็นทั้ง ๖ จากพระไตรปิฎกมา ผู้เขียนก็นำคุณลักษณะทั้ง ๖ ประการไปสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์ตามแนวพุทธแล้วนำแต่ละประเด็นมาแยกย่อยเป็นตัวชี้วัดได้ ๓๘ ประการดังปรากฏในตารางข้างล่างนี้

ตารางที่ ๑. ตัวชี้วัดคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์

ตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท

ที่

คุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ตามแนวพุทธ

ตัวชี้วัดคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ในยุคโลกาภิวัตน์ตามแนวพุทธศาสนาเถรวาท

๑.

ผู้นำทางการเมืองผ่านการเตรียมพร้อมก่อนเป็นผู้นำทางการเมืองคือ ฝึกตนด้วยการศึกษาศาสตร์ทั้งหลายและปฏิบัติศีล สมาธิ และปัญญาการเจริญกัมมัฏฐาน เจริญสติในชีวิตประจำวันและมีความปรารถนาที่จะเป็นผู้นำที่ทำเพื่อผู้อื่น

๑.ผ่านการเรียนรู้รัฐศาสตร์ตามแนวพุทธ

๒.ผ่านการเรียนรู้งานวิจัยพระไตรปิฎกที่บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่

๓.ผ่านการเรียนรู้กัมมัฏฐานในภาคทฤษฎี

๔.มีปกติช่วยเหลือผู้อื่น รักในงานที่ได้บริการผู้อื่น

๕.ผ่านการฝึกสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานในภาคปฏิบัติ

๖.ผ่านการฝึกสติและศาสตร์ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพเช่นโยคะ และฤาษีดัดตนเป็นต้น

๗.ผ่านการเรียนรู้ศาสตร์ทั้งหลายในระดับบัณฑิตศึกษา

๘.มีศีล ๕ และมีกุศลกรรมบถ ๗ ประการเบื้องต้นอยู่เป็นปกติในชีวิต

๒.

เมื่อใช้อำนาจทางการเมืองคือ สอนและเผยแพร่ศีล ๕ รักษาศีลอุโบสถในวันพระใหญ่ปฏิบัติจักกวัตติวัตร ๕ คือยุทธศาสตร์สร้างคนดี ดูแลชีวิตตน ช่วยคนอื่น

๙.ส่งเสริมให้ประชาชนเป็นคนดีตามศีล ๕ ในขั้นต้น

๑๐.ส่งเสริมให้ประชาชนเป็นคนดีตามกุศลกรรมบถในขั้นกลาง

๑๑.ส่งเสริมและสนับสนุนให้พระภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์และแม่ชีสอนมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นความดีขั้นสูงสุดแก่ประชาชน

๑๒.นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีรักษาศีลอุโบสถในวันพระใหญ่

๑๓.มีความเคารพและยกย่องต่อพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของชาติและพระบรมวงศานุวงศ์

๑๔.มีการผูกมิตรไมตรีกับมิตรประเทศในอาเซียนและประเทศอื่นได้เป็นอย่างดี

๑๕.ดูแลข้าราชการทุกฝ่ายคือฝ่ายการเมือง ฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือนเป็นอย่างดี

๑๖.ดูแลนักปราชญ์ นักวิชาการ นักศึกษา สื่อมวลชน พ่อค้า นักธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นอย่างดี

๑๗.ดูแลพระสงฆ์และผู้มีศีลทั้งปวงในประเทศเป็นอย่างดี

๑๘.ปรึกษาพระสงฆ์และผู้มีศีลอยู่เป็นประจำทุกสัปดาห์

๑๙.ดูแลรักษาเนื้อนก และพันธุ์สัตว์ พันธุ์ไม้ และพันธุ์พืชตลอดถึงทรัพยากรในประเทศทุกชนิดเป็นอย่างดี

๒๐.ดูแลและให้สวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ ผู้เจ็บป่วย คนพิการ ช่วยเหลือและเยียวยาคนยากจนที่มีความพร้อมคือมีความดีตามหลักศีล ๕ และกุศลกรรมบถ ๗ ข้อเบื้องต้น

๒๑.มีความพยายามและสามารถห้ามประชาชนจากอธรรมทั้งหลายเช่นยาเสพติดและสิ่งมอมเมาคืออบายมุขทั้ง ๖ ประการ

๓.

เมื่อลงจากอำนาจทางการเมือง ให้บวชเป็นพระภิกษุปฏิบัติกัมมัฏฐาน เผยแผ่พุทธธรรมและเป็นที่ปรึกษาของผู้นำทางการเมืองรุ่นต่อไป

๒๒.ส่งเสริมร่วมปฏิบัติในโครงการปูชนีย์ชีวีเปี่ยมสุข

๒๓.ส่งเสริมและร่วมทำงานโครงการตามทางพระโพธิสัตว์

๒๔.ส่งเสริมและร่วมทำงานโครงการตามรอยพระอรหันต์

๒๕.ส่งเสริมและร่วมทำงานโครงการล้ออายุ

๔.

การแก้ปัญหาที่สาเหตุที่แท้จริงคือ ถ้าสาเหตุที่แท้จริงคือความยากจน ผู้นำทางการเมืองแก้ความขาดแคลนของประชาชนได้ แต่แก้ความอยากรวยของประชาชนไม่ได้

๒๖.ส่งเสริมโครงการรับรู้ปัญหาเพื่อพัฒนาสังคมไทย

๒๗.มีความพยายามแก้ปัญหาความยากจนอย่างรวดเร็วที่สุด

๒๘.ไม่พยายามทำโครงการการก่อสร้างที่รัฐบาลอยากทำแต่สร้างความยากจนเชิงโครงสร้างแก่ประชาชนในระยะยาว

๒๙.ใช้ทรัพยากรของประเทศให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนให้มากที่สุดโดยทำลายทรัพยากรธรรมชาติให้น้อยที่สุด

๓๐.ส่งเสริมโครงการชีวิตดีเพราะมีพอเพียง

๓๑.รู้จักใช้สื่อโซเชียลมีเดียและเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์มากที่สุด

๕.

สร้างทีมงานที่ปรึกษาเป็นนักปราชญ์ทรงความดี

๓๒.ส่งเสริมและร่วมปฏิบัติเป็นตัวอย่างแก่รัฐมนตรีในโครงการนายกพบประชาชน

๓๓.ส่งเสริมและร่วมปฏิบัติในโครงการนายกปรึกษาคนดี

๓๔.ส่งเสริมให้รัฐมนตรีพบประชาชนและปรึกษาคนดี

๖.

สร้างพรรคการเมืองและเครือข่ายของคนดีให้เต็มพื้นที่ปกครอง เพื่อเป้าหมายคือประชาชนเบิกบานในความดีของรัฐบาล คือรัฐบาลที่มีกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการครบถ้วน

๓๕.ส่งเสริมและร่วมปฏิบัติในโครงการเครือข่ายคนดี

๓๖.ส่งเสริมและร่วมปฏิบัติในโครงการสร้างคนดีเต็มแผ่นดิน

๓๗.ส่งเสริมและร่วมปฏิบัติในโครงการรัฐบาลกุศลกรรมบถ

๓๘.ส่งเสริมให้เกิดมีพรรคการเมืองที่มีนโยบายสอดคล้องกับธัมมิกประชาธิปไตย

อย่างไรก็ตาม แม้ตัวชี้วัดจะทำไว้เป็นระดับเดียวแต่การจะนำแนวคิดธัมมิกประชาธิปไตยนี้ไปใช้อย่างเต็มสูตรย่อมเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดขึ้นจริงได้ยาก ผู้เขียนเห็นว่า ควรจัดให้มีระดับขึ้น ๓ ระดับด้วยกันคือระดับสูงสุด ระดับขั้นกลาง และระดับขั้นต้น ในรูปแบบคุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์จะใช้คำย่อว่า ส คือ ขั้นสูงสุด, ก คือขั้นกลาง, ต คือขั้นต้น จะกล่าวถึงระดับสูงสุดเป็นตัวอย่างก่อน ระดับขั้นกลาง และระดับขั้นต้นไปตามลำดับ

ตารางที่ ๒. ธัมมิกประชาธิปไตยระดับสูงสุด

ประ เด็นสำ คัญ

คุณลักษณะผู้นำในตะวันตก

(นิโรธหรือเป้าหมายแบบตะวันตก)

คุณลักษณะผู้นำในตะวันออก

(นิโรธหรือเป้าหมายแบบตะวันออก)

คุณลักษณะผู้นำพุทธในพระไตรปิฎก

(นิโรธแบบพระไตรปิฎก)

คุณลักษณะผู้นำพุทธยุคปัจจุบัน

(นิโรธหรือเป้า

หมายปัจจุบัน)

วิธีการหรือข้อปฏิบัติเป็นโครงการ(มรรคหรือวิธีการปัจจุบัน)

๑.ก่อนเป็นผู้นำทาง การ เมือง

เพลโตกล่าวไว้ ๒ ประการคือ

๑.  เป็นกลุ่มธาตุทองคำ มีลักษณะใฝ่รู้ สนใจศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ใช้เหตุผล มีความสามารถในการวิเคราะห์  เข้าใจคุณธรรม

และจริยธรรม

๒.ได้รับการศึกษาอันเป็นกลไกสำคัญของรัฐ คือการศึกษาที่มุ่งทำให้คนในสังคมมีค่านิยมที่พึงประสงค์และมีคุณธรรมจริยธรรม คือผ่านการศึกษาทั้ง ๓ขั้นตอน

อริสโตเติลกล่าวว่าก่อนรับตำแหน่งต้องได้รับการศึกษาที่สามารถเสริมสร้างให้มนุษย์มีจิตใจที่ดี และร่างกายแข็งแรง  มีคุณธรรมทางปัญญาและทางศีลธรรม มีปัญญา เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมเกี่ยวกับความดี เพื่อเป้าหมายแห่งความสุขในชีวิตมีศีลธรรม  เกิดจากกระบวนการอบรม บ่มเพาะให้คนประพฤติดี ปฏิบัติดี

เล่าจื้อต้องการให้ปราชญ์ผู้เข้าถึงธรรมชาติคือเต๋ามาเป็นผู้ปกครอง เท่ากับเล่าจื้อต้องการให้นักปราชญ์ผู้เข้าถึงสัจธรรมกับนักปกครองเป็นคนเดียวกัน

ขงจื้อกล่าวไว้ ๔ข้อ

๑.อบรมตนให้มีคุณธรรมความดี

๒. แสวงหาวิทยาการความรู้เพิ่มเติม

๓.ประสบความชอบธรรมแล้วต้องอนุวัตรตามความชอบธรรมนั้น  ๔. ละความผิดพลาดด้วยการปรับปรุงตนใหม่ได้เสมอ ไม่ถือรั้นเดินทางผิด การละอายบาปทำให้องอาจ

๑.เตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่อำนาจด้วยการศึกษาจนกระทั่งมีทั้งความรู้ และนิสัยประกอบด้วยคุณธรรม

๑.ผู้นำทางการเมืองผ่านการตรียมพร้อม

ก่อนเป็นผู้นำทางการเมือง

คือ ฝึกตนด้วยการศึกษาศาสตร์ทั้งหลายและปฏิบัติศีล สมาธิ และปัญญา การเจริญกัมมัฏฐาน

และเจริญสติในชีวิตประจำวัน

๑.โครงการเรียนสิ่งดีวิถีพุทธ๓๐ วัน

๒.โครงการอบรมกัมมัฏฐาน ๔๕ วัน

๒.ขณะเป็นผู้นำทาง การ เมือง

เพลโตกล่าวไว้ ๓ ประการ

๑.  เป็นผู้เสียสละ อุทิศตนและใช้อำนาจในการปกครองเพื่อประโยชน์ของสังคมและประชาชน คุณธรรมคือความเสียสละต้องมีตลอดเวลา

๒.  ไม่ควรมีทรัพย์สินและครอบครัว เพราะจะทำให้เกิดความโลภและเมื่อไม่มีครอบครัวจะทำให้มีอิสระในการอุทิศ ทุ่มเทในการทำงานให้กับประชาชนต่อมาข้อนี้ได้ผ่อนปรนเพียงให้มีกฎหมาย

๓.  ผู้ปกครองที่เป็นปราชญ์ สามารถตัดสินปัญหาต่างๆ โดยใช้ดุลพินิจได้ จึงไม่จำเป็นต้องใช้กฎหมาย เพราะต้องมาทำการตีความวุ่นวาย

อริสโตเติลกล่าวว่าขณะดำรงตำแหน่งใช้อำนาจในการปกครองเพื่อประโยชน์ของสังคม ถือว่าเป็นนักปกครองที่ดี

เล่าจื้อกล่าวว่า

๑.บริหารงานโดยไม่กระทำสิ่งที่ฝืนธรรมชาติและไม่กระทำเพราะเห็นแก่ตัว  ๒.อบรมสั่งสอนด้วยการไม่พูดคือไม่มีกฏกติกามากมาย

๓.ปล่อยให้ทุกสิ่งดำเนินไปโดยไม่ครอบงำ ๔.มีเวลาว่าง ไม่มีงานมาก ๕.ใช้คนและสิ่งของทุกอย่างให้เกิดประโยชน์ ๖.ไม่ใช้กำลังอำนาจปกครองบ้านเมือง ๗.ตัดใจจากความฟุ่มเฟือย อวดมั่งมีและการทำเกินกว่าเหตุ ๘.รักษาแก้วสามดวงคือ เมตตา ประหยัด ทำอะไรอย่าเอาเด่นล้ำหน้าประชาชน ๙.เจ้านครใหญ่อ่อนน้อมต่อนครเล็ก และเจ้านครเล็กไม่เรียกร้องจนเกินกว่าเหตุต่อนครใหญ่

ขงจื้อกล่าวว่า

๑.มองในมุมมองเดียวกับประชาชน

๒.เพียรพยายามปฏิบัติตามความรู้อย่างอ่อนน้อม เอื้อเฟื้อ  ซื่อสัตย์ต่อประชาชน จริงจังต่อหน้าที่ สร้างพระคุณต่อประชาชน

๒.เมื่ออยู่ในอำนาจก็บำเพ็ญจักกวัตติวัตรครบ ๕ ประการ สอนศีล ๕ แก่เมืองใกล้เคียงรักษาศีลอุโบสถในวัน ๑๔ หรือ๑๕ ค่ำ

๒.เมื่อใช้อำนาจทางการเมืองคือ สอนและเผยแพร่ศีล ๕ รักษาศีลอุโบสถในวันพระใหญ่ปฏิบัติจักกวัตติวัตร ๕ คือยุทธศาสตร์สร้างคนดี ดูแลชีวิตตน ช่วยคนอื่น

๑.โครงการอบรมกัมมัฏฐาน ๑๕ วัน(ทุกปีที่ยังดำรงตำแหน่ง)

๒.โครงการนายกอยู่อุโบสถในวันพระใหญ่

๓.โครงการรักป่า รักน้ำ รักษ์ชีวิต

๔.โครงการศีล ๕ ทั่วแผ่นดิน

๕.โครงการสวดมนต์ทั้งแผ่นดิน

๖.โครงการอานาปานสติทั้งแผ่นดิน

๓.ลงจากการเป็นผู้นำทาง การ

เมือง

เพลโตและอริสโตเติลไม่ได้กล่าวถึงประเด็นนี้

เล่าจื้อและขงจื้อไม่ได้กล่าวถึงประเด็นนี้

๓.เมื่อลงจากอำนาจถ้าไม่มีพระพุทธเจ้าก็บวชเป็นพระฤาษี ถ้ายุคนั้นมีพระพุทธเจ้าก็บวชในสำนักของพระพุทธเจ้า

๓.เมื่อลงจากอำนาจทางการเมือง ให้บวชเป็นพระภิกษุปฏิบัติกัมมัฏฐาน เผยแผ่พุทธธรรมและเป็นที่ปรึกษาของผู้นำทางการเมืองรุ่นต่อไป

๑.โครงการปูชนีย์ชีวีเปี่ยมสุข

๒.โครงการตามทางพระโพธิสัตว์

๓.โครงการตามรอยพระอรหันต์

๔.โครงการล้ออายุ

๔.การแก้ ปัญ หาของ สัง

คม

เพลโตกล่าวว่า รัฐที่เหมาะกับการค้าขายติดต่อควรอยู่ริมทะเล

อริสโตเติลกล่าวว่า

๑.ผู้นำที่ดีขึ้นอยู่กับรัฐที่ดี 

๒.รัฐที่ดีต้องปกครองด้วยกฎหมาย

เล่าจื้อกับขงจื้อกล่าวให้วิธีการแก้ปัญหาไว้เหมือนกับประเด็นที่ ๒ คือขณะเป็นผู้นำทางการเมือง

๔.แก้ปัญหาที่สาเหตุที่แท้จริง

๔.การแก้ปัญหาที่สาเหตุที่แท้จริงคือ ถ้าสาเหตุที่แท้จริงคือความยากจน ผู้นำทางการเมืองแก้ความขาดแคลนของประชาชนได้ แต่แก้ปัญหาความอยากรวยของประชาชนไม่ได้

๑.โครงการรับรู้ปัญหาเพื่อพัฒนาสังคมไทย

๒.โครงการชีวิตดี เพราะมีพอเพียง

๕.มีคนดีเป็นที่ปรึก ษา

เพลโตเน้นให้นักปราชญ์คือคนดีมาเป็นนักปกครองอยู่แล้ว

อริสโตเติลเน้นว่าผู้นำดีเกิดในรัฐที่ดี

แต่ทั้งสองไม่ได้กล่าวประเด็นนี้ไว้โดยตรง

เล่าจื้อกับขงจื้อกล่าวให้วิธีการแก้ปัญหาไว้เหมือนกับประเด็นที่ ๒ คือขณะเป็นผู้นำทางการเมือง เล่าจื้อ มุ่งให้ผู้นำทางการเมืองปรึกษาผู้เข้าถึงเต๋า ส่วนขงจื้อเน้นให้ให้ปรึกษาผู้เป็นปราชญ์ บัณฑิต วิญญูชนและอริยบุคคล

๕.มีนักปราชญ์ทรงความดีเป็นที่ปรึกษา

๕.สร้างทีมงานที่ปรึกษาเป็นนักปราชญ์ทรงความดี

๑.โครงการปรึกษาคนดี

๖.การสร้างเครือข่ายคนดี

เพลโตและอริสโตเติลไม่ได้กล่าวถึงประเด็นนี้โดยตรง

แต่กล่าวถึงการพัฒนาพลเมืองด้วยการศึกษาให้ดีที่สุด

เล่าจื้อต้องการให้คนเข้าถึงเต๋าโดยไม่จำเป็นเรียนมาก

แต่ขงจื้อกล่าวถึงการพัฒนาประชาชนให้เป็นปราชญ์และวิญญูชน

๖.สร้างทีมงานและเครือข่ายคนดีเต็มพื้นที่ปกครอง

๖.สร้างพรรคการเมืองและเครือข่ายของคนดีให้เต็มพื้นที่ปกครอง เพื่อเป้าหมายคือประชาชนเบิกบานในความดีของรัฐบาล คือรัฐบาลที่มีกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการครบถ้วน

๑.โครงการเครือข่ายคนดี

๒.โครงการสร้างคนดีเต็มแผ่นดิน

๓.โครงการรัฐบาลกุศลกรรมบถ

๔. ข้อเสนอแนะ

  เสนอให้มีการปฏิรูปทั้ง ๔ ส่วน คือ การศึกษา การดำเนินชีวิต การปกครอง และเศรษฐกิจ ตามลำดับดังนี้ ในส่วนของการศึกษาควรพิจารณาใน ๓ ประเด็นคือ

  ๑.รัฐบาลควรจัดให้ประชาชนได้ศึกษาวิชาทั้ง ๙ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยแบ่งเป็นวิชาเกี่ยวกับปรัชญา ๔ วิชา คืออภิปรัชญา ญาณวิทยา จริยศาสตร์ และตรรกศาสตร์ วิชาเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ ๒ วิชาคือรัฐศาสตร์พื้นฐานกับรัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์ และวิชาที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์๒ วิชาคือเศรษฐศาสตร์พื้นฐานกับเศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธ และวิชาที่ ๙ คือพุทธธรรมประยุกต์ โดยวิชาทั้ง ๙ นี้มีผลอย่างสำคัญต่อการเป็นพื้นฐานของนักปราชญ์ ก่อให้เกิดพลเมืองคุณภาพ สร้างรากฐานให้การเมืองภาคพลเมือง และส่งเสริมให้คนไทยมีวิจารณญาน ประชาชนที่สอบผ่านความรู้ทั้ง ๙ วิชานี้ ให้ถือเสมือนว่าเขามีภูมิรู้ในระดับปริญญาตรี

  ๒.การศึกษาควรแบ่งความสำคัญให้พอดีกับเวลาของเยาวชน นอกจากเรียนภาษา วิทยาศาสตร์ และศาสตร์ทั้งหลายควรเพิ่มเวลาของการปลูกและดูแลพืชสีเขียวให้มากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรปลูกข้าว ในวัยเด็กควรให้ท่องก่อนทานข้าวว่า “ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า ชาวนาเหนื่อยยาก ลำบากนักหนา ปลูกข้าวขึ้นมา ให้เราได้กิน แสงแดดจากฟ้า ข้าวมาจากดิน เหลืออยู่เหลือกิน ฟ้าดินแบ่งปัน” เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่าของการทำนาแบบปราชญ์ผู้เข้าใจฟ้าดิน มิใช่ทำนาเพราะไม่มีอาชีพอื่นให้ทำ

  ๓.เพิ่มการฝึกสติในระดับง่ายเช่นการสวดมนต์บางบทเป็นต้น เมื่อโตขึ้นควรเพิ่มการดำเนินชีวิต เพิ่มเรื่องการดูแลชีวิตเช่นดูแลกายด้วยโยคะและการออกกำลังกาย ดูแลจิตใจด้วยการฝึกกัมมัฏฐานทั้งสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน

  ผู้เขียนเห็นว่า การปกครองในจักกวัตติสูตร ขณะมีจักรแก้วนั้นภายในประเทศไม่มีคนยากจนเลย แสดงถึงว่ารัฐที่ดีที่สุดมีลักษณะคล้ายกับรัฐสวัสดิการในปัจจุบัน รัฐบาลไทยควรแสวงหาหนทางวางแผนเพื่อจะให้เกิดรัฐสวัสดิการขึ้นในสังคมไทย ผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลที่ดีขึ้น ในปัจจุบันบริษัทประกันชีวิตทั้งหลายพากันประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อว่าให้ผู้สูงอายุทำประกันแล้วจะอุ่นใจในวัยชรา ย่อมแสดงถึงรัฐบาลไม่อาจให้ความอุ่นใจแก่ผู้สูงวัยทั้งหลายอย่างเพียงพอ

บรรณานุกรม

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฏกภาษาบาลี  ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๐๐.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

มหามกุฎราชวิทยาลัย. พ &

หมายเลขบันทึก: 533157เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2013 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กันยายน 2013 09:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับ ครูอิงจันทร์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท