กองทุนขวัญข้าวน่าน - ขับเคลื่อน


. รับฟังสาระที่ขับเคลื่อนมา และแนวทางดำเนินการชัดเจน พิจารณาระเบียบ เห็นชอบผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และจะติดตาม ประเมินผล ร่วมทั้งให้การสนับสนุนต่อไป

                           สัปดาห์ก่อน  คุณสุภาพฯ โทรประสานนัดหมายประชุมวันนี้ เวลา 13 น.เราได้โทร.ประสาน อ.ราเชนทร์ ๆ ทราบ แต่วันนี้มาไม่ได้  ไปกับนายก อบจ.น่าน ร่วมงานฌาปนกิจศพนายเจตน์ พันธุ์พานิช  อดีต สจ.ที่ อ.เวียงสา

                            เรามีนัดที่เลื่อนจากเช้า  มาเป็น 13 น.เกี่ยวกับงานประจำเลยไปล่วงเวลา  ได้เชิญชวนคุณสุเรียนฯ  มาร่่วมประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับกองทุนฯ ด้วย  เพราะเห็นความประสบการณ์ของเขา น่าจะทำให้ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายออกไป

                           ความจริงที่ปรึกษา คณะกรรมการฯ ได้ประชุมไปก่อนหน้า  ส่วนเราและคุณสุเรียนไปร่วมประชุมช้า ด้วยติดธุระ  มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ต้องปลีกตัวมารับลูกๆ  ไปส่งบ้านญาติอีก  เพราะเขาสอบเสร็จวันนี้  การประชุมปรึกษาหารือกันอย่างเข้มข้นตั้งแต่เวลา 13.00 - 17.55 น. รับฟังสาระที่ขับเคลื่อนมา และแนวทางดำเนินการชัดเจน  พิจารณาระเบียบ  เห็นชอบผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และจะติดตาม  ประเมินผล ร่วมทั้งให้การสนับสนุนต่อไป

                            ก่อนหน้าเคยเขียนไ้ว้เกี่ยวกับที่มากองทุนฯ ในบล็อคนี้ตามลิ๊งค์นี้ครับ  http://gotoknow.org/blog/gotonan/47933

คำสำคัญ (Tags): #กองทุน
หมายเลขบันทึก: 53305เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2006 21:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 09:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แนวทางการดำเนินงานกองทุนขวัญข้าวน่าน

ที่มาและการก่อเกิดกองทุน
 
ด้วยพื้นที่จังหวัดน่านได้เกิดอุทกภัยน้ำท่วมช่วงวันที่ 19-24 สิงหาคม 2549  ทำให้นาข้าวของชาวบ้านได้รับความเสียหายและความเดือดร้อนอย่างมาก จนต้นกล้าข้าวเน่าเสีย ไม่สามารถฟื้นขึ้นมาได้  ในระยะเร่งด่วนชาวนาต้องการพันธุ์ข้าวเพื่อมาปลูกให้ทันฤดูข้าวนี้และมีปัญหาไม่สามารถหาแหล่งพันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์ได้   ดังนั้นศูนย์ประสานงานประชาคมจึงได้ร่วมกับมูลนิธิฮักเมืองน่านในการประสานหาพันธุ์ข้าวเพื่อเป็นจุดช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้านในการหาพันธุ์ข้าว จึงได้เกิดแนวคิดในการจัดตั้งกองทุนขึ้น

โดยกองทุนนี้ได้เริ่มต้นจากกลุ่มบุคคลซึ่งตระหนักถึงความเดือดร้อนแต่เห็นโอกาสจากทุนทางสังคม    
ที่มีอยู่ กลุ่มนักวิชาการท้องถิ่นในจังหวัดน่านและองค์กรพัฒนาเอกชนจึงได้รวมตัวกันที่จะพูดคุยเพื่อหาแนวทางแก้ไขและแบ่งเบาบรรเทาปัญหาเป็นการเร่งด่วน  ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2549 ณ ห้องประชุมประชาคมจังหวัดน่าน ที่ประชุมได้ระดมทรัพยากรในการจัดตั้งกองทุน ได้มีการประสานงานติดต่อบอกบุญไปยังผู้มีจิตใจดีจากที่ต่างๆและได้ความช่วยเหลือจากผู้มีจิตศรัทธาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนถึงองค์ความรู้ของการปลูกข้าวในภาวะที่ไม่ปกติ ภายใต้ปัจจัย เงื่อนไขที่มีอยู่เช่น  ฤดูกาล เวลา แสง น้ำ พื้นที่ การเติบโตของพันธุ์ข้าวแต่ละพันธุ์ รวมถึงพันธุ์พืชหลังนา(หมายถึง พืชที่ปลูกในนาหลังการเก็บเกี่ยว    ข้าวนาปี)ซึ่งเหมาะสมกับพื้นที่และความต้องการของชาวนา ในเบื้องต้นเมื่อมีทุนอยู่จำนวนหนึ่งจึงได้ติดต่อซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวสันป่าตอง 1 จากศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ จำนวน 15 ตัน และได้รับบริจาคพันธุ์ข้าว กข.6 จากสถานีวิจัยข้าวชุมแพ จังหวัดขอนแก่นจำนวน 1.5 ตันโดยการประสานงานของ ดร.บุญรัตน์ จงดี  และจากนั้นมาคณะปฏิบัติการได้ลงพื้นที่สำรวจความต้องการ พร้อมๆกับสร้างกระกระบวนการเรียนรู้ระหว่างนักวิชาการและชาวนาในพื้นที่ต่างๆ คณะทำงานได้ดำเนินการช่วยเหลือชาวนาในพื้นที่ต่างๆเรื่อยมาเพื่อให้การดำเนินการกองทุนเป็นไปตามเจตนารมณ์ ความมุ่งหวังตั้งใจของผู้หวังดีที่ต้องการช่วยเหลือและตรงตามความต้องการผู้เดือดร้อน และเพื่อให้กองทุนขวัญข้าวเป็นรูปธรรมของการเรียนรู้และการจัดการความรู้ระหว่างองค์กรเครือข่ายและประชาชนในจังหวัดน่าน จึงได้มีการยกร่างการจัดการกองทุนขึ้น

1.วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุน
1.1 เพื่อจัดหาพันธุ์ข้าวและพันธุ์พืชแจกจ่ายให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม
1.2 เพื่อฟื้นฟูระบบแปลงนาโดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเครือข่ายนักวิชาการและชาวนา
1.3 เพื่อรวบรวมทุนทางสังคม ทุนทรัพย์ ทุนทางปัญญา มาจัดการความรู้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดเป็นรูปธรรมทั้งระยะสั้นและระยะยาว
1.4 เพื่อดำเนินกิจกรรมอื่นที่คณะกรรมการเห็นสมควร


2. เป้าหมาย / ผลลัพธ์
ระยะสั้น  
1. แปลงนาได้รับการฟื้นฟู มีการปลูกข้าวและพืชหลังนา (หมายถึง พืชที่ปลูกในนาหลังการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี)
2. การมีส่วนร่วมของชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วม มีทักษะในการจัดการปัญหา

ระยะยาว 
1. เกิดองค์ความรู้ รูปแบบการจัดการของชาวนาอย่างเป็นรูปธรรม
2. ครอบครัวชุมชนเกิดความเข้มแข็ง

3.ขอบเขตการดำเนินงาน

3.1ระยะสั้น
3.1.1ช่วงเวลา:  ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2549- มกราคม 2550 เน้นการสนับสนุนพันธุ์ข้าว
3.1.2พื้นที่ :  ระยะแรกคือพื้นที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วมเขต อ.ท่าวังผา- กิ่ง อ.ภูเพียง- อ.เมือง- อ.เวียงสา
3.1.3พันธุ์พืชทดแทนหลังนา
3.1.4สนับสนุนข้าวสารเพื่อการบริโภคในระยะจำเป็นเร่งด่วน

3.2ระยะยาว
3.2.1รวบรวมและสังเคราะห์องค์ความรู้
3.2.2เกิดรูปแบบการจัดการนาโดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง อันจะนำมาซึ่งการเรียนรู้และ ถ่ายทอดผ่านโรงเรียนชาวนา และการศึกษาในระบบ
3.2.3เกิดองค์กรและเครือข่าย รวมถึงการจัดการระหว่างเครือข่ายชาวนาและเครือข่ายอื่น

4. การจัดการกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบกองทุนขวัญข้าวน่าน

5.รูปแบบการดำเนินงาน
5.1 ที่ปรึกษา 
1. พระครูพิทักษ์นันทคุณ  ที่ปรึกษามูลนิธิฮักเมืองน่าน
2. นายแพทย์บุญยงค์  วงศ์รักมิตร   ประธานมูลนิธิพระครูพุทธมนต์โชติคุณ (ขันติยศ โชติธมโม)
3. นายจรินทร์  จักกะพาก  รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน
4. ผศ.ดร.คมสัน อำนวยสิทธิ์  รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาน่าน

5.2 คณะกรรมการกองทุน
1. นายแพทย์คณิต  ตันติศิริวิทย์  ประธานคณะกรรมการ
2. นายสำรวย  ผัดผล   รองประธานคณะกรรมการ
3. เภสัชกรนิคม ดีพอ   คณะกรรมการ
4. นายแพทย์ชาตรี  เจริญศิริ  คณะกรรมการ
5. นายราเชนทร์  กาบคำ   คณะกรรมการ
6. นายธนู  ผลบุญ   คณะกรรมการ
7. นายสฤษฎิ์  สุฤทธิ์   คณะกรรมการ
8. ผศ.มงคล  พุทธวงศ์   คณะ กรรมการ
9. ผศ.กาญจนา รุจิพจน์   คณะกรรมการ
10. นายวุฒิชัย  โลหะโชติ   คณะกรรมการและเลขานุการ
11. นางสุภาพ  สิริบรรสพ   คณะ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
12. นางบัวตอง  จิณะหล้า   คณะ กรรมการและเหรัญญิก

5.3 ภาคีเครือข่ายร่วมดำเนินการ
5.3.1     มูลนิธิพระครูพุทธมนต์โชติคุณ (ขันติยศ โชติธมโม)
5.3.2     มูลนิธิฮักเมืองน่าน โดย ชมรมอนุรักษ์พรรณพืชพื้นบ้านจังหวัดน่าน 
5.3.3    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาน่าน
5.3.4 เครือข่ายชุมชนป้องกันแก้ไขยาเสพติดจังหวัดน่าน
5.3.5 เครือข่ายโครงการครอบครัวเข้มแข็งจังหวัดน่าน
5.3.6 มูลนิธิภูมิพลังชุมชนไทย
5.3.7 องค์กร หน่วยงานอื่นๆ ที่จะเข้าร่วม

updated วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ชื่อไฟล์ : แนวทางการดำเนินงานกองทุนขวัญข้าวน่าน (แก้ไข)
 
ตัวอย่างพืชหลังนา ควรคัดเลือกพืชที่เหมาะสมเพียงไม่กี่ชนิด เพื่อเลี่ยงความเสี่ยง

1. พืชไร่ปลูกได้ทั่วไป  ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้าวโพด
2. พืชผักซึ่งเหมาะสมเฉพาะพื้นที่ ต้องมีคุณภาพ ตลาดต้องการ มีพ่อค้าคนกลางมาซื้อ แต่อาจพบปัญหาสินค้าล้นตลาด เกิดการคัดเกรด ฯลฯ ถั่วฝักยาวมีศักยภาพกว่าพืชอื่น
2.1 อ.ปัว - แตงกวา ถั่วฝักยาว ข้าวโพดหวาน
2.2 อ.ท่าวังผา - พริก แตงกวา
3. แหล่งเมล็ดพันธุ์ จากบริษัท
4. แหล่งรับซื้อ พ่อค้าคนกลาง บริษัทมารับซื้อ

้ข้อมูลด้านบน ขอขอบพระุคุณได้รับอนุเคราะห์จาก นพ.ชาตรี คุณสุภาพ และคุณบัวตอง  สำนักกิจการพิเศษ ห้อง 3 ศูนย์ประสานงานประชาคม จ.น่าน รพ.น่าน

คลิ๊กอ่านและชมภาพตามลิ๊งค์  เรื่องราว ท่าวังผา...หลังน้ำลด   http://travel.sombattour.com/index.php?mode=viewid&post_id=16

เอาใจช่วยนะครับ ขอให้กองขยะที่เห็นในภาพ กลับคืนสภาพปกติโดยเร็ว


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท