กินข้าวอย่างไร__ปลอดภัยจากสารตะกั่ว(+สารหนู)



.

.
ภาพที่ 1: แสดงตลาดนายหน้าค้าข้าวสมัยเอโดะ ญี่ปุ่น (1830s = 1830-1839/2373-2382) [ wikipedia ]
.
 

.
ภาพที่ 2: เมล็ดข้าวแบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่ รำข้าว (bran - ด้านนอก) สีน้ำตาลแดง, ข้าวขาว (endosperm) สีขาว, และจมูกข้าว (germ - จุดขาวขุ่นด้านข้างเมล็ดข้าว) > [ wikipedia ]
.
(1). รำข้าว > เป็นส่วนที่มีเส้นใยหรือไฟเบอร์มากที่สุด และมีโปรตีน-วิตามิน-น้ำมันชนิดดี (น้ำมันรำข้าว) รองจากจมูกข้าว
.
(2). ข้าวขาว > เป็นส่วนที่มีแป้ง-น้ำตาลมากที่สุด
.
(3). จมูกข้าว > เป็นส่วนที่มีโปรตีน-วิตามิน-น้ำมันชนิดดี (น้ำมันจมูกข้าว-รำข้าว)
.
กล่าวกันว่า "ข้าวกล้องเป็นข้าวที่มีชีวิต" คือ งอกได้ แถมยังมีสารอาหารครบส่วนมากที่สุด
.
ข้าวกล้องที่ดีควรมีจมูกข้าวติดอยู่ และเห็นรำข้าวด้านนอกสีน้ำตาลปนแดง (ถ้ามีมากจะเห็นเป็นข้าวแดง, ถ้ามีน้อยจะเห็นเป็นข้าวกล้องสีน้ำตาล)
.

.
ภาพที่ 3: แสดงมหาอำนาจ 20 ประเทศในด้านการกินข้าวมากในปี 2009/2552 > 5 อันดับแรกได้แก่ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย บังคลาเทศ และเวียดนาม [ wikipedia ]

สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง US rice imports 'contain harmful levels of lead'
= "ข้าวนำเข้าในสหรัฐฯ มีสารตะกั่วสูงถึงระดับอันตราย" = "พบสารตะกั่วในข้าวจีน-อินเดีย", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
ก่อนหน้านี้มีการตรวจพบข้าวในสหรัฐฯ มีระดับสารหนูสูง ซึ่งอาจเพิ่มเสี่ยงมะเร็งผิวหนัง มะเร็งปอดได้ในระยะยาว
.
ต้นตอของสารหนูมาจากแถบลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี ทางใต้ของสหรัฐฯ ซึ่งมีการใช้ยาฆ่าแมลงในการปลูกฝ้าย และใช้ยาผสมสารหนูฆ่าพยาธิในการเลี้ยงสัตว์ติดต่อกันมานานจนเกิดการสะสมในดิน
คณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (US FDA) รายงานว่า พบการปนเปื้อนสารตะกั่วมากถึง 120 เท่าของระดับที่ยอมรับได้ (provisional total tolerable intake / PTTI)
.
สารตะกั่วมีพิษหลายอย่าง เช่น มีพิษต่อสมอง ทำให้ไอคิวหรือระดับความฉลาดลดลง มีพิษต่อไต ทำให้เลือดจาง ฯลฯ
.
กลุ่มเสี่ยงพิษตะกั่วสูงเป็นเด็กเล็กและเด็กในท้องแม่ เนื่องจากสมองอยู่ในช่วงที่มีการเจริญเติบโตเร็ว
.
ลำไส้ของเด็กเล็กดูดซึมตะกั่วคิดเป็นร้อยละ (%) สูงกว่าลำไส้ผู้ใหญ่ ยิ่งทำให้เด็กเสี่ยงพิษสารตะกั่วมากขึ้น
.

.
ข้าวเป็นพืชที่ใช้น้ำมาก (heavily irrigated conditions), ดูดซับสารเคมี-แร่ธาตุจากน้ำมาก ทำให้เป็นพืชที่บอบบางต่อภาวะสิ่งแวดล้อมเป็นพิษสูง
.
การศึกษาก่อนหน้านี้หลายรายงานพบมีการปนเปื้อนสารหนูในข้าวที่ปลูกในตอนกลางจนถึงตอนใต้ของสหรัฐฯ
.
ครั้งนั้นนิตยสารคอนซูเมอร์ รีพอร์ท (Consumer Report = รายงานผู้บริโภค ผู้ซื้อ-กิน-ใช้) รายงานว่า ข้าวไทยมีระดับสารหนูต่ำกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้ = ข้าวไทยปลอดภัย
.
ดร.ซานาากูรายิ ทงเกซายิ และคณะ จากมหาวิทยาลัยมอนเมาต์, นิวเจอร์ซี สหรัฐฯ ทำการทดสอบข้าวนำเข้าในสหรัฐฯ หลายยี่ห้อ
.

.
สหรัฐฯ ปลูกข้าวเอง 93%, นำเข้า 7% โดยนำเข้าข้าวจากภูฏาน อิตาลี จีน ไต้หวัน อินเดีย อิสราเอล สาธารณรัฐเช็ค และประเทศไทย
.
ข้าวที่สหรัฐฯ นำเข้า 65% มาจากไทย
.
การศึกษาใหม่ทำโดยการแยกข้าวตัวอย่างเป็นรายประเทศ แล้วคำนวณย้อมกลับไปว่า ระดับข้าวที่กินเฉลี่ยเป็นประจำจะทำให้ได้รับสารตะกั่วเกินขีดความปลอดภัยหรือไม่
.
ดร.ทงเกซายิ กล่าวว่า อย.สหรัฐฯ (US FDA) ตั้งเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยไว้สูงมาก ทำให้ต้องกินข้าวเกินระดับที่ อย.สหรัฐฯ กำหนดมากกว่า 10 เท่า จึงจะเสี่ยงพิษสารตะกั่วชัดเจน
.

.
สรุป คือ ระดับอันตราย = 10 เท่าของระดับที่ยอมรับได้ (PTTI)
.
การศึกษานี้ใช้จุดตัดว่า ข้าวปลอดภัยหรือไม่ที่ 120 เท่าระดับที่ยอมรับได้ (PTTI) = 12 เท่าของระดับอันตราย
.
ผลการศึกษาพบว่า ข้าวที่มีระดับสารตะกั่วสูงที่สุดมาจาก "จีนและไต้หวัน"
.
เรื่องนี้สอดคล้องกับการศึกษาที่ผ่านมา ซึ่งพบวา มีการใช้น้ำเสียจากโรงงานไปรดต้นไม้ หรือใช้ปลูกข้าวหลายแห่งใน "จีนและอินเดีย"
.

.
ข้าวจากไต้หวันอาจมีสารตะกั่วสูงจากการเป็นคนกลาง นำเข้าข้าวจากจีน บรรจุหีบห่อ แล้วส่งออกใหม่อีกครั้งหนึ่ง
.
หรืออาจปนเปื้อนจากการเหมืองเก่า โรงงานรุ่นเก่า
.
สรุปคือ ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา, มีการตรวจพบข้าวปนเปื้อนสารเคมีสูงดังต่อไปนี้
.
(1). ข้าวปลูกในตอนกลาง-ตอนใต้ของสหรัฐฯ > ปนเปื้อนสารหนู
.
(2). ข้าวจากจีน-ไต้หวัน > ปนเปื้อนสารตะกั่ว
.

.
ไทยนำเข้าอาหารเด็ก และซีเรียล (cereal = อาหารทำจากธัญพืช) หลายชนิด โดยเฉพาะอาหารเด็กเล็กจากสหรัฐฯ
.
นิตยสารบิสเนซ อินไซเดอร์ วิเคราะห์เร็วๆ นี้ว่า อาจจะมีกระแสอพยพออกของคนจีนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาสูง หรือมีฐานะดีมาก 2 ระลอก
.
(1). brain drain = สมองไหล
.
ผลการสำรวจเร็วๆ นี้พบว่า คนจีนที่มีฐานะดีส่วนหนึ่งซื้อบ้าน-คอนโดฯ นอกประเทศ เพื่อขอสิทธิ์เป็นพลเมือง เตรียมส่งลูกหลานไปเรียนต่อ และอาจอพยพย้ายประเทศถ้าจำเป็น
.
ประเทศแม่เหล็กที่คนจีนนิยมอพยพออก คือ สหรัฐฯ แคนาดา ออสเตรเลีย
.
ออสเตรเลียมีนโยบายรับคนที่มีการศึกษาสูง โดยเฉพาะวิศวกร-นักวิทยาศาสตร์-พยาบาล เข้าประเทศ เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรที่มีสติปัญญาดี ทำให้คนจีน-อินเดีย-ยุโรปตะวันออกอพยพเข้าสูง
.
(2). health drain = อพยพออกจากปัญหาสิ่งแวดล้อม
.
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ โดยเฉพาะน้ำเสีย-ปนเปื้อนสารเคมีกว่าครึ่งประเทศ และอากาศเสีย โดยเฉพาะหมอกควันจากการเผาไหม้จากโรงงาน รถยนต์ ทำให้คนจีนส่วนหนึ่งเริ่มมองหาบ้านที่ 2 นอกประเทศ
.

.
ตัวอย่างความรู้สึก "ไม่ปลอดภัย" ปรากฏชัดในเรื่องนมผง โดยหลังมีปัญหานมผงผสมเมลามีนหลายระลอก ทำให้เกิดทัวร์คนจีนไปกว้านซื้อนมผงนอกประเทศ
.
คุณแม่ชาวฮ่องกง และอังกฤษประท้วงทัวร์ "ซื้อนมผง" แบบยกแผง เนื่องจากทำให้นมผงขาดตลาด บริษัทเพิ่มการผลิตนมผงไม่ทัน
.
ทว่า... ในระยะยาวคงจะเป็นข่าวดีแบบสุดๆ สำหรับบริษัทนมผง การท่องเที่ยว และห้างค้าปลีก
.
นักท่องเที่ยวชาวจีน มาเลเซีย รัสเซีย และเกาหลีใต้มีบุญคุณต่อประเทศไทย... ท่านเหล่านี้ทำให้คนไทยมีงานทำ มีรายได้เข้าประเทศ
.

.
ถ้าจะมีทัวร์เข้ามาซื้อนมผงในไทยก็ขอให้พวกเราช่วยกันต้อนรับดีๆ
.
และอย่าลืมเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาต่างประเทศไว้ด้วย
.
เด็กรุ่นใหม่น่าจะชวนคุณย่า คุณยาย คุณแม่เรียนภาษาอังกฤษไปด้วย จะได้เก่งกันทั้งเมือง...
.
ดีไม่ดีอาจเปิดบ้านแบบโฮมสเตย์ (homestay = เปิดบ้านรับนักท่องเที่ยว) เป็นรายได้พิเศษในระยะยาวทีเดียว
.

.
คนไทยได้รับตะกั่วน้อยลงไปมากหลังมีการใช้น้ำมันสูตรไร้สารตะกั่ว
.
วิธีป้องกันสารตะกั่วที่สำคัญได้แก่ [ CDC ]
.
(1). ระวังสีทาบ้านรุ่นก่อนปี 1978/2521 ลอกหลุด
.
ถ้าบ้านของท่านทาสีก่อนปี 2521, แนะนำให้ถูพื้น-เช็ดถูหน้าต่างด้วยน้ำทุก 2-3 สัปดาห์ และล้างมือด้วยสบู่ก่อนกินอาหาร-ดื่มน้ำทุกครั้ง เพื่อลดโอกาสปนเปื้อนสีทาบ้าน
.
(2). ทำความสะอาดของเล่น-เครื่องประดับของเล่น และล้างมือเด็กด้วยสบู่ก่อนกินอาหาร-ดื่มน้ำ-ก่อนนอน
.
(3). หลีกเลี่ยงขนมจากต่างประเทศ โดยเฉพาะชนิดที่ไม่มีตรา "อย."
.
คำแนะนำในสหรัฐฯ คือ ให้หลีกเลี่ยงขนมจากเม็กซิโก, ในไทยคงจะเป็นขนมจากนอกประเทศ
.
(4). ล้างมือด้วยสบู่หลังอ่านหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์
.
อย่าใช้มือกินอาหารไปด้วย จับหนังสือหรือหนังสือพิมพ์ไปด้วย เพื่อลดโอกาสได้รับโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ฯลฯ จากหมึกพิมพ์
.

.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 > [ Twitter ]

  • Thank BBC source > American Chemical Society Meeting > (will be published in) Journal of Environmental Science and Health (Part B).
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. 13 เมษายน 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

หมายเลขบันทึก: 532841เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2013 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 เมษายน 2013 10:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)


อ่านเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพที่มีค่าของคุณหมอมานาน อยากให้คุณหมอพูดเรื่องข้าวที่เก็บในโกดัง ที่ซื้อมาจากชาวนา เอาเป็นว่าขอคำแนะนำนะครับ พูดในความจริง ไม่ใช่การเมือง ผมว่าโกดังที่เก็บข้าวบ้านเรา ไม่มีคุณภาพนะครับ เมื่อเจอละอองฝน และเก็บหมักมานาน โอกาสจะเป็นเชื้อรามีสูงนะครับ ทำอย่างไร จะขอตัวอย่างตรวจ เราจะเสี่ยงกินข้าวขึ้นราหรือครับ นั่นคือมะเร็งเชียวนะครับ อีกอย่างคือ เกษตรกรบ้านเรา ใส่สารเคมีเยอะเกินไปแล้ว ผมขอคำแนะนำจากคุณหมอนะครับ จะว่ามันเรื่องการเมือง ก็ว่าไป แต่ผมห่วงสุขภาพคนไทยที่กินข้าวถุง ถ้าตรวจแล้ว ไม่มี ก็ดีมากแล้วครับ แต่ผมเห็นโกดัง กับเวลา แล้วเป็นห่วงครับ ขอให้คุณหมอ โชคดีครับ

สวัสดีปีใหม่ครับ  

                         ขอขอบคุณในสาระดี ๆ ครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท