ลดเค็ม คุมเบาหวาน ลดความดัน ก่อนไตวาย


ลดเค็มเพื่อสุขภาพไม่เกิดโรค

สำหรับในประเทศไทยโรคไตวายเรื้อรัง จัดเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่พบบ่อยในคนไทยและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปีโดยจากข้อมูลล่าสุดพบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตในระยะเริ่มต้นก่อนที่จะต้องได้รับการรักษาโดยวิธีบำบัดทดแทนไตสูงถึงร้อยละ 17.5 ของประชากรทั้งประเทศหรือประมาณ 8 ล้านคน

และมีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นปีละกว่า 7,800 ราย


ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จะเกิดโรคแทรกซ้อนถึงเสียชีวิตหรือกลายเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย สูญเสียไตถาวรซึ่งจำเป็นต้องรักษาโดยวิธีการบำบัดทดแทนไต อันได้แก่ การล้างไตทางช่องท้องการฟอกเลือด และการปลูกถ่ายไต  ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย 40,000 รายซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงถึงประมาณ  200,000  บาทต่อคนต่อปีจึงนับเป็นปัญหาใหญ่ทางสาธารณสุขของประเทศรณรงค์วันไตโลกชวนคนไทยลดเค็มครึ่งหนึ่ง


 
สาเหตุสำคัญของโรคไตในคนไทยเกิดจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งทั้ง 2 โรคนี้มีผู้ป่วยรวมกันเกือบ 15 ล้านคนทำให้ไตเสื่อมตามมาภายหลังหากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์การบริโภคเกลือหรือโซเดียมนับเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดความดันโลหิตสูงจากการสำรวจในปี 2550 พบว่าคนไทยบริโภคเกลือหรือโซเดียมเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดถึง 2 เท่าโดยร่างกายต้องการไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวันหรือเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา


สำหรับโซเดียมนั้นนอกจากจะพบในเกลือแกง น้ำปลา เครื่องปรุงต่าง ๆ แล้วยังพบมากในผงชูรส ผงปรุงรสต่าง ๆ ผงฟู  ดังนั้นจึงต้องเร่งรณรงค์ให้ประชาชนลดการกินเค็มลงกว่าเดิมครึ่งหนึ่งเพื่อให้ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน เป็นการถนอมไตป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับไตในระยะยาวหมั่นตรวจสุขภาพไต ก่อนไตวาย


 
เราควรดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคไต ด้วยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงรับประทานอาหารที่เหมาะสม ลดอาหารเค็มและอาหารที่มีโซเดียมสูงหลีกเลี่ยงการเติมน้ำปลาหรือปรุงรสเพิ่มในอาหารจานด่วนต่าง ๆและระวังอย่าให้อ้วนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงต้องควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตให้ดี และอย่าใช้ยาพร่ำเพรื่อ งดบุหรี่และหากมีปัจจัยเสี่ยงก็ควรไปตรวจเช็กสุขภาพไตเป็นระยะ ๆ ด้วย


 
เนื่องจากผู้ป่วยโรคไตในระยะแรก
โดยส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการแสดงมีเพียงบางรายเท่านั้นที่อาจจะมีอาการบวมเล็กน้อยหรือมีความดันโลหิตสูงขึ้นผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมักไม่รู้ตัวว่ามีอาการผิดปกติและไม่ได้มาพบแพทย์กว่าจะรู้ตัวก็มักจะสูญเสียไตไปมากแล้วอย่างถาวร  


ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน มีภาวะความดันโลหิตสูงมีอายุมากกว่า 60 ปี เคยมีประวัติของนิ่วในไตหรือพวกที่ชอบรับประทานยาพร่ำเพรื่อ ชอบรับประทานยาชุดหรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไตให้เข้ารับการตรวจปัสสาวะและตรวจเลือดเพื่อตรวจหาความผิดปกติของโรคไตอย่างสม่ำเสมอเพราะหากรอจนมีอาการแล้วค่อยไปพบแพทย์ก็มักจะสายเกินไปแล้วการบำบัดทดแทนไตในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย


 
อย่างไรก็ตาม ในผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
แล้วจำเป็นจะต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต

ซึ่งมี 3 วิธีคือ ล้างไตทางช่องท้อง การฟอกเลือด และ รอการเปลี่ยนไตใหม่

ข้อมูลจาก นายแพทย์ปานเทพ คณานุรักษ์ ผู้อำนวยการแผนงานสนับสนุนระบบบริการโรคไตวายสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ระบุว่าสปสช.มีนโยบายช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคไต โดยยึดหลักนโนบาย PD First กล่าวคือ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ไม่มีข้อจำกัดจะได้รับบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้อง (PD) เป็นอันดับแรกและเบิกค่ารักษาได้เต็มจำนวนทุกราย จากข้อมูลพบว่าผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพเข้าถึงบริการทดแทนไตมากขึ้นจากเมื่อเริ่มสิทธิประโยชน์จากจำนวนหลักพันเมื่อปี 2551 


ปัจจุบันมีผู้ป่วยทั้งหมดประมาณ 25,000 ราย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถประกอบกิจวัตรประจำวัน หรือประกอบอาชีพได้ใกล้เคียงคนปกติอัตราการติดเชื้อก็น้อยกว่าค่าเฉลี่ยของต่างประเทศ ดังนั้นสปสช.จึงมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังเพื่อให้การบริการล้างไตทางช่องท้องครอบคลุมทุกพื้นที่มากยิ่งขึ้นตั้งแต่หน่วยบริการระดับใหญ่ลงไปจนถึง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และชุมชน 


อย่างไรก็ตาม สปสช. ไม่ได้ละเลยการทำฟอกเลือด (HD) และเร่งพัฒนาการปลูกถ่ายไต รวมถึงให้การสนับสนุนน้ำยาล้างไต, EPO และการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันเพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตให้ดีมากยิ่งขึ้นซึ่งผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ สายด่วน สปสช.โทร. 1330
 
ข้อมูลจาก นาวาอากาศเอก นายแพทย์ อนุตตร จิตตินันทน์ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.

นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

( ขอบคุณลดเค็มฯ จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์คอลัมน์ ชีวิตและสุขภาพโดย นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์ )



ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ระวังให้มากๆจะได้ไม่เป็นโรคไตวาย ไม่ต้องฟอกเลือด รสเค็มไม่ดีต่อสุขภาพมากเดี๋ยวนี้โรคไตไม่ได้เป็นเฉพาะผู้ใหญ่หรือสาเหตุจากโรคที่เป็นเรื้อรัง เด็กๆหรือผู้อายุน้อยเป็นโรคไตได้เช่นกัน การช่วยกันบอกกล่าว เตือนกันบ่อยๆเพื่อไม่ให้เกิดโรคเพราะกินเค็มแล้วอร่อยไม่หลีกเลี่ยงสะสมนานไปไตก็ไม่ไหว หรือสาเหตุการกินยามากก็ต้องระวังเช่นกัน

ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี


หมายเลขบันทึก: 532646เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2013 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2013 06:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะ

สวัสดีปีใหม่ครับ

                ร่วมกันรณรงค์ลดอาหารจานเ็ค็มเพื่อเติมเต็มให้สุขภาพดี  ขอบคุณที่แบ่งปันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท