"จบบทเรียน" ในชั้นเรียน PAR


เกษตรกรสร้างและทำ "ห้องแล็ป" เพื่อทำวิจัยชุมชนเป็นของตนเอง

     เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2549 ได้ไปร่วมการทบทวนและติดตามงานในพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชรเกี่ยวกับ "การทำวิจัยชุมชน" หรือที่เรารู้จักกันในนามของ PAR

     โดยดิฉันได้ไปถ่ายทำ VDO ซึ่งเป็น Best Practice การทำวิจัยชุมชนของเกษตรกรทำนา ซึ่งได้เห็นและได้เหตุการณ์ต่าง ๆตั้งแต่เปิดชั้นเรียน โดย คุณเชิงชาย  เรือนจำปา  จากสำนักงานเกษตรอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ที่กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการมาพบเจอกันเพื่อเชื่อมโยงเครือข่าย และเกษตรกรสอนเกษตรกรด้วยกันเองระหว่างหมู่1 กับ หมู่ 4  หลังจากนั้นก็จะพูดคุยกันเกี่ยวกับการทำวิจับชุมชน

     ซึ่งหลังจากคุณเชิงชายพูดเสร็จ  ก็ได้เข้าสู่เนื้อหาสาระโดยเกษตรกรที่ทำนาทำเร็จได้มาเล่าเรื่องการเพาะพันธุ์ข้าวให้เกษตรกรหมู่ที่ 4 ฟัง มีการซักถาม และโต้ตอบระหว่างกัน

     หลังจากนั้นทุกคนก็ลงไปดูแปลงนาที่ทำพันธุ์ และใช้เป็นแปลงทดลองการวิจัยของชุมชนเพื่อค้นหาคำตอบเรื่อง ปุ๋ย  ทุกคนได้ไปดูของจริงและซักถามข้อสงสัยในแปลงนานั้น ๆ แล้วก็ไปดูโรงปุ๋ยที่ชุมชนทำกันเอง แล้วก็มาพักรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน

     สำหรับในช่วงบ่ายก็เริ่มจากเกษตรกรที่ทำการทดลองปลูกข้าวในกระถางได้มานำเสนอและเล่าข้อมูลความรู้ให้กับเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนฟัง  ได้แก่  ข้อสงสัยที่ทำการปลูกข้าวในกระถางนั้นมีอะไรบ้าง? การปลูกข้าวในกระถางนั้นทำอย่างไร?(ออกแบบ)  การเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้น  และข้อสรุปบางตัวที่สรุปได้แล้วมีว่าอย่างไร? สุดท้ายกำลังรอผลผลิตข้าวที่จะทำการเก็บเกี่ยว  ซึ่งสิ่งที่นักวิจัยชุมชนทำนั้นเพื่อต้องการหาคำตอบในโจทยือาชีพของตนเอง และทำ "ห้องแล็ป" ไว้ 2 จุด คือ ที่บ้านของนักวิจัย  และที่แปลงนาของนักวิจัยชุมชน  โดยจะมีการซักถามและนำกระถางปลูกข้าวมาให้ดูกันจริง ๆ จัง ๆ

    สุดท้ายของการสรุปบทเรียน คุณสายัณ ปิกวงศ์ ที่ทำการเก็บประเด็นที่เกิดขึ้นทุกระยะและทุกเวลาได้มาเชื่อมโยงและประมวลข้อมูลทั้งหมดสะท้อนกลับสู่ผู้เรียน โดยใช้เครื่องมือที่ตัวเองเป็นคนสร้างขึ้นมาใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อสารให้กลุ่มผู้เรียนได้ฟังได้เห็น และมีการซักถามและโต้ตอบกับผู้เรียนเป็นระยะ ๆ จึงทำให้เห็นบรรยากาศของการมีส่วนร่วมที่ครบทุกขั้นตอนของการเปิดชั้นเรียน

     ฉะนั้น ในการร่างและออกแบบชั้นเรียนให้กับเกษตรกรจะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก  โดยเฉพาะชั้นเรียนที่มีทั้งความรู้หลัก ความรู้เสริม และความรู้เฉพาะกิจ  ที่ถ่ายทอดออกมาเป็น "เวทีการแลกเปลี่ยนความรู้ที่เป็นการวิจัยชุมชน"

     ซึ่งเรานักส่งเสริมการเกษตรสามารถทำเป็นตัวอย่างให้เห็นและเกษตรกรก็อยากเป็นนักวิจัยชุมชนเพื่อค้นมาคำตอบจากโจทย์ในอาชีพของตนเอง ที่ตนเองเป็นผู้ตั้งขึ้น  เป็นผู้ลงมือค้นหาคำตอบเอง  และเป็นผู้สรุปผลการวิจัยเอง.....ก็เป็นเรื่องที่สนุกและท้าทายมาก โดยเราจะรอสรุปผลด้วยกันหลังเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จตอนสิ้นเดือนธันวาคม 2549.

หมายเลขบันทึก: 53231เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2006 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ภาพประกอบครับ

  • คุณเชิงชาย  เรือนคำปา นักส่งเสริมการเกษตรเลขานุการศูนย์บริการและถ่ายทอดฯ

          

  • คุณนคร  เพชรสังฆ์ นำเสนอการเพาะเมล็ดพันธุ์ข้าว

         

  • การเพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวและการทดสอบในกระถางบริเวณหน้าบ้านคุณนคร  เพชรสังฆ์ ชาวบ้านผ่านไป-มา ก็ได้เห็นงานวิจัยของกลุ่มไปด้วย

         

         

         

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท