มันสำปะหลังที่น้ำยืน


29 มีนาคม 56 ตามไปดูการเลือกแปลงทดสอบ มี 2 งาน คือแปลงจัดการศัตรูพืชแบบบุรณาการ และทดสอบวิธีการควบคุมวัชพืช ที่นี่ปลูกโดยใช้การแช่ท่อนพันธุ์ครั้งเดียวแล้วปล่อยแตนเบียนเป็นระยะ วันนี้ศูนย์พืชไร่อุบลก็๋นำไปให้เกษตรกรปล่อยด้วย ช่วงนี้ส่วนใหญ่เก็บเกี่ยวแล้ว มีกองท่อนพันธุ์ตั้งในแปลงที่ไถกลบเตรียมไว้รอปลูก พวกเราช่วยกันดูว่าเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีขมพูยังอยู่หรือเปล่า ซึ่งก็พบว่า ยังมีอยู่แต่ในปริมาณไม่มาก วิธีดูสามารถดูได้จากอาการยอดหงิกที่เป็นลักษณะเฉพาะของเพลี้ยแป้งขนิดนี้ แล้วค่อยหาตัวเพลี้ยแป้ง เกษตรกรเจ้าของแปลงและเป็นผู้นำกลุ่มเครือข่ายที่น้ำยืนสามารถค้นหา-จำแนกชนิดได้ถูกต้อง และคอยประสานงานกับทางหน่วยงานเพื่อขอแตนเบียนมาปล่อย

การจำแนกชนิดได้เป็นหัวใจสำคัญของการควบคุม ซึ่งที่นี่ควบคุมได้ผลและใช้ต้นทุนต้ำ ไม่มีการฉีดพ่นสารเคมี ซึ่งจะช่วยให้แมลงศัตรูธรรมชาิติสามารถอยู่รอดได้ และช่วยควบคุมแมลงศัตรูเหล่านั้นอีกทางหนึ่ง 

จากการตรวจดูศัตรูพืชช่วงนี้พบ มวน-เนื่องจากพบไข่ แต่ยังไม่ทราบชนิด เพลี้ยแป้งนอกจากเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูแล้วก็พบเพลี้ยแป้งมะละกอ- ตัวเขาจะสีเหลืิองมีลายเส้นแป้งนูนขวางลำตัว -ในอดีตที่เราเคยได้รับความรู้ว่าเป็นเพลี้ยแป้งสีเขียว -แต่ทั้ง 2 ชนิดเขาอยู่กันคนละสปีชีย์ แต่นักกีฏฯ ก็ยังบอกว่าบางแห่งยังพบเพลี้ยแป้งสีเขียวอยู่ นอกจานั้นก็พบเพลี้ยหอย อย่างนั้น 2 ชนิด แต่ไม่รุนแรงพบเป็นต้น ๆ  พบไข่และตัวอ่อนแมลงช้างตามกองท่อนพันธุ์ที่มีใบอ่อนมาก

วัชพืชที่น่ารำคาญเป็นพวกเถาเลื้อย อายุข้ามปี เนื่องจากมีหัว หรือลำต้นใต้ดิน กำจัดยาก ที่เกษตรกรบอกว่าสำคัญกลายเป็น ถั่วเชนโตรซีมา-พืชอาหารสัตว์ ทั้งข้ามปีและเมล็ดมาก -ลองมองกลับกันเขาช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุ-อีกชนิด เรียก หวดข่า-เป็นต้นไม่ใหญ่แต่เขาขึ้นเป็นต้นเล็ก ๆ กระจายในแปลง -ถ้าไม่มากก็จะใช่วิธีต้ดต้นแล้วหายาผสมน้ำมันเบนซินป้ายที่รอยตัดก็ใช้ได้

อื่น ๆ อีก เช่น สะอึก  มันเถา หญ้าท่าพร หญ้าไม้กวาด กระดุมขน หญ้าละออง ส้มลม

เก็บตัวอย่างกลับมากรุงเทพ - และให้น้อง ๆ ที่ห้องแล็ปดูก็ยืนยันว่าเพลี้ยแป้งที่พบสีเหลืองๆ เป็นเพลี้ยแป้งมะละกอ

วัชพืชหลายชนิดที่พบเป็นที่อาศัยของแมลงเช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน 

แปลงมันสำปะหลัง นี้เมื่อไปตรวจสอบกับผลการวิเคราะห์ดินพบว่า ดินเป็นดินร่วนเหนียวสีแดง pH 5.37 อินทรีย์วัตถุ 2.61 เปอร์เซนต์ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 3.34 ppm โปแตสเชี่ยมที่ละลายน้ำได้ 55 ppm 

การใส่ปุ๋ยคามค่าวิเคราะห์ดิน สำหรับดินร่วนถึงดินเหนียวที่ปลูกมันสำปะหลัง ส่วนใหญ่มีอินทรียวัตถุและโพแทสเซียมสูงอยู่แล้ว การใส่วัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดินจึงเป็นการเพิ่มธาตุอาหารที่เพียงพอสำหรับมันสำปะหลังแล้ว

ระดับปริมาณธาตุอาหาร

ตัวชี้วัด

ระดับ

    ค่าวิเคราะห์ดิน

อินทรียวัตถุ(%)

มีมากเกิน

          >1.2

ฟอสฟอรัส(มก./กก.)

มีน้อย

           <5

โพแทสเซียม(มก./กก.)

มีมากเกิน

         >90

คำแนะนำการใช้ปุ๋ย

ใช้วัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดิน อัตรา 1-2   ตัน/ไร่ หรือใช้วัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดิน อัตรา 0.5-1 ตัน/ไร่หากราคาหัวมันสดต่ำกว่า 1.50 บาทต่อกิโลกรัม ฝนกระจายตัวไม่ดีและเกษตรกรมีเงินทุนน้อย

วิธีการใส่ปุ๋ย หากใช้อัตราต่ำสามารถใส่ปุ๋ยเพียงครั้งเดียว หลังกำจัดวัชพืชครั้งแรกเมื่ออายุ 1 เดือนหลังปลูก โดยเปิดร่องข้างแถวโรยปุ๋ยแล้วกลบ หากใช้อัตราสูงควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง โดยเฉพาะดินทราย ควรแบ่งครึ่งใส่ปุ๋ยไนโตรเจน และโพแทสเซียม สองครั้ง เมื่ออายุ 1 และ 2 เดือน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยของมันสำปะหลัง การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ 1-2 ตัน/ไร่ หรือร่วมกับการไถกลบซากต้นใบมันสด 3 ตัน/ไร่ หรือร่วมกับปุ๋ยคอก 500 กก./ไร่ สามารถลดปริมาณปุ๋ยเคมีที่จะใช้ลงได้

การใส่ปุ๋ยมันสำปะหลัง ใช้วิธีหยอดหลุม แทนการพูนโคน เพื่อไม่รบกวนหน้าดิน ซึ่งจะทำให้วัชพืชขึ้นรบกวนได้อีกอย่างรวดเร็วในช่วงฤดูฝน

ที่สำคัญ แนวคิดในการทำการเกษตรของเกษตรกรที่นี้ที่ต้องการลดต้นทุน และกระจายรายได้ จะเป็นแนวคิดที่ยังยืนในพื้นที่นี้ มีการหมุนเวียนทรัพยากรมาใช้ไม่ต้องขนมาจากที่ห่างไกล

หมายเลขบันทึก: 531880เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2013 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2013 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

พ่นยากำจัดวัชพืชได้ไม่นานฝนตก  ทำให้วัชพืชไม่ตาย

อยากทราบพันธ์ุที่มีลักษณะดังนี้ว่าคือพันธ์ุอะไรครับ ยอดสีเขียวม่วงอ่อนก้านใบมีสีแดงชมพู่ที่ส่วนปลายลำต้นมีสีเหลืองเขียวแตกกิ่งที่ระดับ 170-180 ซ.ม ไม่มีขนตายอดอ่อนไมีขน ชาวบ้านเรียกว่าพันธ์ุ อีเหลื่องเล็ก / ใหญ่ ไม่ทราบว่าเป็นพันธ์ุ อะไรแน่ครับ คนยโสธร


อายุและสภาพแวดล้อมมีผลต่อการแสดงออกของพันธุ์ หลายพันธุ์พออายุมาก อากาศเย็นลักษณะที่จำแนกไว้เป็นมันอายุไม่เกิน 6 เดือน ข้อมูลในฐานความรู้ไม่พอ แต่ก็ตัดออกได้หลายพันธุ์เพราะบางลักษณะก็จะไม่เปลี่ยนแปลงมาก แต่ขนตามีทุกพันธุ์แต่อาจหลุดร่วงไปก่อน ช่วงแล้งก็จะแห้งหลุดออกเร็ว


ลองมาดูเรื่องของ แก้วใส ๆ ที่พึ่งอัพเดทใหม่ ๆ ก็ช่วยได้เหมือนกันนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท