ความสัมพันธ์ระหว่าง "สุนทรียสนทนา-การเห็นอกเห็นใจ-ความรู้สึกร่วม-บทสวดแผ่เมตตา--ความกรุณา"


อย่างที่คุยกันไปแล้วนะครับว่า เครื่องมือที่จะช่วยการบ่มเพาะความกรุณาให้เกิดขึ้นได้ภายในจิตใจของเราก็คือ "การฟังอย่างลึกซึ้ง"  ซึ่งการฟังอย่างลึกซึ้งที่ว่านี้ ต้องใช้ประสาทสัมผัสของเราให้มากที่สุด เช่น

 

ตา - ต้องดูอากัปกริยาท่าทาง สีหน้า แววตา

หู - ต้องฟังโทนเสียง และเนื้อหาอย่างละเอียด

กาย - ถ้าสัมผัสถูกตัวได้ ก็จะรับรู้อุณหภูมิร่างกาย เหงื่อที่ออก


อีกทั้งต้องเคารพผู้พูดที่อยู่ตรงหน้าเรา ตั้งใจฟังอย่างเดียวโดยไม่ต้องคิดอะไรเลย


แล้ว"การฟังอย่างลึกซึ้ง"ที่ว่านี้ มันผ่านขบวนการอะไรถึงก่อให้เกิด "ความกรุณา" ขึ้นในจิตใจของเราได้ คำตอบคือ "การเห็นอกเห็นใจ เข้าอกเข้าใจ" จนกระทั่งเรามีความรู้สึกร่วม มีความรู้สึกว่าเรากับเขาก็อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน หมายถึง เชื่อมกันได้ระหว่างใจเขาใจเรา อย่างนี้ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า "Empathy"


และเมื่อถึงจุดนี้ "ความกรุณา" มันจะผุดขึ้นมาเองครับ  เหตุเพราะมนุษย์ล้วนมีเมล็ดพันธุ์แห่งความกรุณาอยู่ในจิตใจของทุกคนแล้ว เพียงแต่หมั่นลดน้ำพรวนดินให้มันเท่านั้น


"ความกรุณา" ไม่ควรเกิดเพราะว่ามันดูดี เป็นสิ่งดีทีคนดีต้องทำ และเราก็อยากเป็นคนดีเสียอีก ไปเล็งผลก่อนสร้างเหตุ ก็ผิดตั้งแต่เริ่มแล้วครับ


เห็นไหมครับความสอดคล้องกันระหว่าง "สุนทรียสนทนา-การเห็นอกเห็นใจ-ความรู้สึกร่วม-บทสวดแผ่เมตตา--ความกรุณา" สำหรับเราเหลืออย่างเดียวครับคือ "ลงมือทำ และลิ้มชิมผล" เท่านั้นครับ


หมายเลขบันทึก: 531747เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2013 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2013 10:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท