drapichart
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิชาติ สนธิสมบัติ

KM-การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาการเรียนการสอน


ท่านสามารถนำเอาความรู้ต่างๆ หรือประสบการณ์ในการทำงานมาแชร์กันที่นี่ครับ หัวข้อ "การนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาการเรียนการสอน"

หมายเลขบันทึก: 531300เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2013 16:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2013 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

1. การนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาการเรียนการสอน โดยใช้โปรแกรม MS Powerpoint สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

2. การใช้วิดีทัศน์ในการเรียนการสอน อย่างไรก็ตามวิดีทัศน์ไม่ควรนานเกิน 15 นาที เพราะจะทำให้น่าเบื่อ หรือนักศึกษาหลับได้ หากเป็นวิดีทัศน์ที่ยาวกว่านี้ ผู้สอนควรจะต้องหยุดเทป แล้วสอบถามเป็นระยะๆ หรือใช้ิวิธีบอกให้จดจำข้อมูลสำคัญๆ ไว้ เพราะจะสอบความรู้หลังจากชมเสร็จเรียบร้อย จะทำให้นักศึกษาต้องจด หรือพยายามดูตลอด

3. การใช้ CAI ซึ่งอาจจะซื้อมาจากบริษัทที่ทำเกี่ยวกับ CAI หรืออาจารย์จะเขียนบทเรียนเอง โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่นAdobe Authorware 7    ตัวอย่างของ CAI การตรวจหาหมู่เลือด   

4. การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานเฉพาะทาง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องวัดสีสำหรับสิ่งทอ ของบริษัท Datacolor Spectrum 600 (สิ่งทอ/เคมี/พลาสติก) เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตบนผ้า (สิ่งทอ/เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน/ศิลปกรรมศาสตร์) เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรม SolidWorks (วาดรูป 3 มิติ) (วิศวะ/สถาปัตย์/คอมพิวเตอร์/วิทยาศาสตร์) เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมวิเคราะห์ SPSS (วิเคราะห์ทางสถิติ) เป็นต้น

5. การสร้างเว็บไซท์ e-learning ในเว็บไซท์ของมหาวิทยาลัย RMUTT online Classroom เช่นการใช้โปรแกรม Moodle   

6. การสร้างเว็บไซท์ e-learning ในรูปของเว็บไซท์ส่วนตัวของอาจารย์ เช่น เว็บไซท์ไทยเคมีสิ่งทอ ของ ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัติ ศูนย์รวมความรู้ด้านกระบวนการฟอกย้อมพิมพ์ตกแต่งสิ่งทอ ทั้ง mp3, ppt, pdf ข้อมูลต่างๆ รวมถึงเว็บบอร์ดสอบถามปัญหาด้านกระบวนการฟอกย้อมพิมพ์ตกแต่งสิ่งทอของประเทศไทย


7. การใช้เว็บบอร์ดในการถามตอบปัญหาการทำงาน หรือการเรียนการสอน (ใช้ได้ทั้งนักศึกษา ศิษย์เก่า และผู้สนใจทั่วไป) ตัวอย่างเว็บบอร์ดที่บริการฟรี คือ ไทยฟอรั่มดอทเน็ต อาจารย์ลองสมัครสมาชิกแล้วเล่นดูได้ครับ แต่อาจจะมีโฆษณามากวนใจบ้างนะครับ เป็นธรรมดาของโลก คงไม่มีอะไรฟรีทุกอย่างเสมอไป ตัวอย่างที่ผมใช้คือ เว็บบอร์ดไทยเคมีสิ่งทอ (ผศ.ดร.อภิชาติ สนธิสมบัีติ) รวมถึง KM ด้านกระบวนการฟอกย้อมพิมพ์ตกแต่งสิ่งทอ

 8. การใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับด้านเทคโนโลยี เช่น เครื่องฉาย LCD Projector เครื่องฉายภาพจากแผ่นทึบแสง จอมอนิเตอร์แบบ LCD เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันสามารถใช้แท๊บเล็ตในการส่งภาพขึ้นจอ LCD ที่รองรับเทคโนโลยี All Share ของบริษัทซัมซุง และโซนี่ หรือใช้โทรศัพท์มือถือ i-phone ส่งขึ้นเครื่องฉาย LCD Projector สอนนักศึกษาได้ เป็นต้น

9. การใช้อีเมล์ในการส่งการบ้าน หรือข้อมูล ซึ่งข้อดีคือสามารถลดปัญหาการใช้กระดาษอย่างฟุ่มเฟือยได้ สามารถเรียกดูได้ทุกเมื่อ ทุกที่ ข้อเสียคือนักศึกษาสามารถใช้วิธีก๊อปปี้ๆๆ แล้วก็คัดลอกๆๆ ไม่ทำเอง และอาจารย์อาจจะปวดตา ถ้านักศึกษาส่งมาจำนวนเยอะหน้ามาก และการให้คะแนนไม่ค่อยสะดวกเท่ากับเขียนลงไปบนกระดาษ หรือตัวรายงาน อีเมล์ที่แนะนำ คือ Hotmail.com (ความจุไม่จำกัด ถ้าไม่ล็อกอินนานๆ เป็นเดือนก็ยังพอจะเปิดได้) Yahoo.com (ความจุค่อนข้างจำกัด ถ้าไม่ล็อกอินนานๆ เป็น 2 สัปดาห์จะโดนปิดอีเมล์ชั่วคราว ยุ่งยากต้องมาเปิดใหม่) Gmail.com (เรียบง่าย คล้าย hotmail.com สามารถเปิด docx หรือเอกสารได้)


10. การนำเอาเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยใช้ Facebook มาใช้ในการเรียนการสอน แทนการส่งอีเมล์ที่นานๆ จะเปิดที แต่ถ้าใช้เฟซบุ้คออนตลอด และนักศึกษาก็ออนไลน์ตลอด ทำให้ง่ายต่อการสื่อสาร สามารถส่งไฟล์ผ่านข้อความได้ โดยไม่ต้องไปเปิดอีเมล์ซึ่งเหมือนทำงานซ้ำซ้อน และสามารถสอบถามได้ทันทีว่าได้รับแล้วหรือยัง หรือจะสื่อสารทั้งกลุ่ม ก็สามารถทำได้ เช่น การแจ้งข่าวให้นักศึกษาทำรายงาน เข้าห้องเรียน นำเอกสารประกอบการเรียนมา ทำได้ง่าย ไม่เสียค่าโทรศัพท์ให้เปลืองเงินอีกด้วย เป็นต้น

11. การใช้งานเครือข่าย Uninet เพื่อสอนผ่านระบบ Video Conference System (VCS) 

12. การใช้งาน e-library ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และของ สกอ. คลิ๊กที่แท๊บสืบค้นฐานข้อมูล โดยให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวารสารต่างประเทศ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และบริหารธุรกิจ ซึ่งควรจะให้นักศึกษาหัดอ่านวารสารภาษาอังกฤษ เพื่อรองรับ AEC 2015 เช่น CRCNetbase  ScienceDirect   SpringerLink เป็นต้น หมายเหตุ ถ้าอาจารย์จะใช้ในมหาวิทยาลัยโดยคอนเน็คกับ WiFi มหาวิทยาลัย จะสามารถเข้าสืบค้น และดาวน์โหลดวารสารฉบับเต็มได้ (เพราะจะ Detect IP Address ของมหาวิทยาลัย ซึ่ง ม.ของเราซื้อสิทธิ์การเข้าใช้ แต่ถ้าใช้แอร์การ์ด หรือเน็ตที่อื่น อาจจะดาวน์โหลดวารสารฉบับเต็มไม่ได้)

 

13. การใช้อเครื่องมือเครื่องทดสอบ ที่มีอยู่ในห้องปฎิบัติการประกอบการเรียนการสอน เช่น เครื่อง FT-IR  กล้อง SEM เครื่องวัดคลื่นแสง เครื่องวัดอุณหภูมิ ฯลฯ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท