สรุปประเด็นสำคัญ จากการประชุมเพื่อระดมสมอง เรื่อง ข้อเท็จจริง และตัวเลขเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ และผู้มีปัญหาสถานะบุคคล : นโยบายและทางออก(22/3/56)


-ภาพรวมทั่วไปและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล

  จำนวนแรงงานข้ามชาติ ที่อยู่ในประเทศไทยีจำนวนประมาณ 3% ของประชากรไทย จำนวนหนึ่ง มีชื่ออยู่ในทะเบียน อีกจำนวนหนึ่งเป็นผู้พลัดถิ่น และชนกลุ่มน้อย  แรงงานข้ามชาติแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม

-  กลุ่มที่อยู่โดยการผ่อนผัน

-  กลุ่มที่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติแล้ว

-  กลุ่มที่นำเข้ามาโดยถูกกฎหมาย

-  กลุ่มที่ลักลอบเข้ามา

  - สิทธิบริการสุขภาพและสถานะสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ และผู้มีปัญหาสถานะบุคคล ในประเทศไทย

   ภาพรวมการประกันสุขภาพของประชาชนที่อยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน

-  74% ประกันสุขภาพถ้วนหน้า

-  8%  ประกันสังคม

-  16% สวัสดิการข้าราชการ

-  2%  ยังไม่มีสิทธิประกันสุขภาพที่ชัดเจน

   ในทางปฏิบัตินั้นสถานพยาบาลในประเทศไทยส่วนใหญ่ รับดูแลผู้ป่วยที่ไม่มีสัญชาติไทยอยู่เสมอ   เพียงแต่สถานพยาบาลแต่ละแห่งมีวิธีเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล ที่แตกต่างกัน  เช่น มีการให้ผู้ป่วยทำหนังสือรับสภาพหนี้ ใช้เงินกองทุนสงคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างโรงพยาบาลที่ ระนองได้ขายบัตรประกันสุขภาพราคา 1,300 บาทให้กับผู้ที่ไม่มีสัญชาติ

-การประกันสังคมและประกันสุขภาพสำหรับแรงงานข้ามชาติ และผู้มีปัญหาสถานะบุคคล

  สำนักงานประกันสังคมประกอบไปด้วยกองทุน 2 ประเภท

-  กองทุนเงินทดแทน กองทุนนี้นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินสมทบกองทุนนี้

-  กองทุนประกันสังคม กองทุนนี้ มีผู้จ่ายเงินสมทบกองทุนทั้งหมดสามฝ่ายคือ นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล

  กองทุนเงินทดแทนเป็นกองทุนที่จ่าย เมื่อลูกจ้างประสบอันตราย และเจ็บป่วยด้วยโรค ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน ส่วนกองทุนประกันสังคม เป็นกองทุนที่จ่ายเพื่อประโยชน์ทดแทน7 กรณีด้วยกัน กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย, กรณีทุพพลภาพ,กรณีตาย(3 กรณีนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน ,กรณีคลอดบุตร,กรณีสังเคราะห์บุตร,กรณีชราภาพ,และกรณีว่างงาน

  แรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคลสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนได้  ปัจจุบันจำนวนผู้ประกันตนปี 2556 มีจำนวน 10.47 ล้านราย มีผู้ประกันตนที่เป็นชาวต่างชาติทั้งหมด  281,316 คน ผู้ประกันตนที่มีปัญหาสถานะบุคคลจำนวน 5,260 คน

-นโยบายต่อผู้อพยพลี้ภัยในประเทศไทย

   ภาครัฐของไทยยึดหลักการต่อไปนี้

-  ประเทศไทยมีสิทฺธิดำเนินการต่างๆตามหลักอำนาจอธิไย

-  การปฏิบัติต่อผู้อพยพลี้ภัยต้องสอดคล้องกับหลัก ปฏิบัติสากล

-  คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน

-  ซักถามที่มาที่ไปของผู้อพยพลี้ภัย

-  ให้ความสมดุลระหว่างหลักสิทธิมนุษยชน กับ ความมั่นคงของรัฐ

-  ยึดหลักการแก้ไขปัญหารวมกันของประชาคมอาเซียน

  กรณีชาวโรฮิงยานั้น ถูกถือว่าเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง ทั้งที่ มีลักษณะเป็นผู้ลี้ภัยแต่เนื่องจากมีการอ้างว่าไทยไม่ได้เป็น ภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย แต่ในทางปฏิบัติประเทศไทยก็ได้ปฏิบัติต่อชาวโรงฮิงยาโดยคำนึงถึงหลักมนุษยธรรมมาโดยตลอด

  แนวทางในการจัดการกับผู้อพยพชาวโรฮิงญา กระทรวงการต่างประเทศรวมมือกับ องค์กรระหว่างประเทศ  เจรจากับประเทศต้นทางของชาวโรฮิงยา และดูแลชาวโรฮิงยาขณะอยู่ในประเทศไทย

-นโยบาย และทางออกต่อแรงงานข้ามชาติ ผู้ประสบปัญหาสถานะบุคคล และผู้ลี้ภัย

  -   ควรจัดการกับกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นและกลุ่มชาติพันธุ์ให้จบไปเลย จะได้ไม่เกิดปัญหาอีก

  -  ต้องมีการรับรองสถานะให้กับแรงงานข้ามชาติ ผู้ประสบปัญหาสถานะบุคคล และผู้ลี้ภัย

  -   ต้องมีการให้การศึกษา ยอมรับภาษา และวัฒนธรรม ของเขาโดยให้เขาเติบโตในภาษาและวัฒนธรรมของตน

  -  ให้คนกลุ่มนี้เข้าถึงบริการสุขภาพ

  -  สำหรับแรงงานข้ามชาติต้องได้รับหลักประกันในการทำงานอย่างชัดเจน ไม่ควรมีการเลือกปฏิบัติแบ่งระหว่างแรงงานมีทักษะ และแรงงานไร้ทักษะ

   -  ควรมีการอนุญาตให้คนอพยพที่อยู่ในค่ายสามารถออกมาทำงานนอกค่ายได้

  -  เสนอให้รื้อประกาศตามมาตรา 13 (งานที่สามารถทำได้ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด) เนื่องจากมีบุตรของของบุคคลตามมาตรา 13  ได้รับการศึกษา และควรได้ทำงานในอาชีพที่เหมาะสมกับความรู้ แต่ประกาศดังกล่าวทำให้เขาไม่สามารถทำอาชีพอื่นได้นอกเหนือจากที่ปรากฎในประกาศ


หมายเลขบันทึก: 531091เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2013 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2013 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท