การตัดสินความยุติธรรมทางกฏหมายกับปัญหาสังคม


เมื่อเช้าในตลาดมีเรื่องเกี่ยวกับการลักทรัพย์ในตลาด ซึ่งข้าพเจ้าก็เป็นผู้เสียหายกับเขาด้วย ข้าพเจ้าเป็นตัวแทนของเพื่อนๆ ไปบ้านของจำเลยซี่งไปตรวจสอบและนำเอาทรัพย์สินของผู้เสียหายกลับมา ตอนแรกที่ทราบก็โกรธน่ะว่าทำไมต้องทำด้วย อย่างข้าพเจ้าเคยเรียนนิติศาสตร์มาถ้าเอาหลักกฏหมายมาใช้ก็รับรองว่าจำเลยเข้าคุกแน่ แต่ข้าพเจ้าใช้หลักสังคมศาสตร์เข้ามาช่วยแก้ปัญหาด้วย เนื่องจากปัจจุบันปัญหาสังคมมันเยอะพอแล้ว คนในคุกก็เยอะพอแล้ว ข้าพเจ้าก็ไม่อยากที่จะสร้างปัญหาให้สังคมมันแย่กว่านี้ ข้าพเข้าก็ไม่เอาเรื่อง แต่ได้แค่เตือนจำเลยว่า วันหลังอย่าทำอีกแล้วกัน และที่ข้าพเจ้าไม่เอาเรือง แต่โจทก์ท่านอื่นจะเอาเรื่องหรือเปล่าเราไม่รู้น่ะ แต่ได้ข่าวมาจากพนักงานตลาดว่าโจทก์ท่านอืนก็ไม่เอาเรื่องเหมือนกันเพราะสงสารเหมือนข้าพเจ้าเหมือนกัน แต่พนักงานตลาดก็มาถามข้าพเจ้าว่าสมควรทำอย่างไรดี ข้าพเจ้าก็แนะนำให้ถ่ายรูปจำเลยไว้และเอาไปติดประกาศไว้ในตลาดเพื่อเป็นการประกาศให้คนอื่นอย่างเอาเยี่ยงอย่าง และก็พาจำเลยไปสาบานตนต่อหน้าพระพรหมแล้วไม่ทำอีก ก็คงจะเข็ดหลาบแล้วล่ะ สรุปเหมือนอาจารย์ที่เคยสอนข้าพเจ้ามาว่า ถึงแม้ว่าพวกท่านจะเรียนกฏหมาย ให้ใช้กฏหมายให้ถูกต้อง แต่การใช้กฏหมายก็ต้องดูตามสถานะการณ์เหมือนกันว่าจะต้องทำโทษคนแบบไหน กฏหมายเรียนแล้วให้เกิดความยุติธรรมในบ้านเมือง ถ้ามีทางแก้ที่ให้เกิดความยุติธรรมซึ่งดีกว่าการนำจำเลยเข้าคุก ซึ่งอาจจะมีปัญหาสังคมตามมาอย่างเป็นลูกโซ่ ท่านก็ทำไปเถิด คำแนะนำที่ข้าพเจ้าแนะนำพนักงานตลาดว่าสมควรทำอย่างที่แนะนำก็พอ ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นทางแก้ไขให้เกิดความยุติธรรม และ แก้ไขปัญหาสังคมได้อีกทางหนึ่ง ไม่รู้ว่าคิดถูกหรือเปล่า 

หมายเลขบันทึก: 531008เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2013 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2013 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท